กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวใส คำนวณ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 66 หมู 1 ตำบล : วังไคร้ อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

บ้านแม่ประจันต์มีวัฒนธรรมในการกินที่คล้ายคลึงกับภาคอีสาน และมีภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาในด้านการถนอมอาหาร (การทำปลาร้า) เพื่อเก็บไว้กินในภาคครัวเรือน ทำให้มีอาหารไว้กินตลอดทั้งปี ข้าพเจ้าจึงได้รับการสืบสานภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษมาด้วยเช่นกัน


ความสำเร็จ :

1. ความตั้งใจในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว



2. ลดต้นทุนด้านอาหารในภาคครัวเรือน


ความชำนาญ : การทำปลาร้า


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • บ้านแม่ประจันต์มีวัฒนธรรมในการกินที่คล้ายคลึงกับภาคอีสาน และมีภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาในด้านการถนอมอาหาร (การทำปลาร้า) เพื่อเก็บไว้กินในภาคครัวเรือน ทำให้มีอาหารไว้กินตลอดทั้งปี ข้าพเจ้าจึงได้รับการสืบสานภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษมาด้วยเช่นกัน

  • ขั้นตอนการทำปลาร้า



                        1. คัดเลือกปลาที่มีขนาดพอเหมาะ ไม่ควรใช้ปลาที่มีน้ำหนักกว่า 1 กิโลกรัม หรือตัวใหญ่มากเกินไป เพราะจะต้องใช้เวลาหมักนาน ส่วนชนิดปลาที่ใช้ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น



                        2. นำมาล้างน้ำทำความสะอาดสิ่งที่อาจปนมากับตัวปลาก่อน 1-2 น้ำ



                        3. หากเป็นปลามีเกล็ด ให้ขอดเกล็ดด้วยช้อนให้หมดก่อน หากเป็นปลามีก้านครีบแข็ง และยาว รวมถึงมี เงี่ยง ซึ่งจะต้องตัดก้านครีบ และเงี่ยงออกก่อน และอาจตัดหัวปลาทิ้งด้วยก็ได้ หลังจากนั้น นำปลามาควักไส้ออกให้หมด ก่อนจะล้างทำความสะอาด 2-3 น้ำ



                        4. นำปลาที่ล้างแล้วใส่ชามหรือถัง พร้อมเติมเกลือ และข้าวคั่วหรือรำข้าว และน้ำอุ่น ก่อนจะคลุกผสมกันให้ทั่ว



                        5. นำส่วนผสมที่คลุกได้ที่แล้วเทใส่ถังหมักหรือไหหมัก ก่อนจะรัดปิดปากถังหรือไหให้แน่น พร้อมหมักทิ้งไว้ในร่มนาน 6-10 เดือน หรือมากกว่าตามขนาดของปลาที่ใช้

  • 1. ความตั้งใจในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว



    2. ลดต้นทุนด้านอาหารในภาคครัวเรือน

  • ลักษณะปลาร้าที่หมักได้ที่



                                 1. ลำตัว และเนื้อปลาอ่อนนุ่ม ไม่แข็งทู่หรือเปื่อยยุ่ย



                                 2. เนื้อปลาด้านในมีสีน้ำตาลหรือสีแดงอมชมพู



                                 3. มีกลิ่นหอมของการหมัก ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า



                                 4. เนื้อปลามีรสเค็ม โดยมีเกลือประมาณ ประมาณ 11-16% มีความมันของน้ำมันปลา และไม่มีรสเปรี้ยว



                                 5. น้ำปลาร้ามีสีน้ำตาลอมดำ มีรสเค็ม ไม่มีรสเปรี้ยว



                                 6. สีของรำหรือข้าวคั่วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ไม่ดำคล้ำ

  • -
  • -