กลับไปหน้าค้นหา

นายธนธรณ์ ขันธ์ชัย

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 39/1 หมู 12 ตำบล : เขากระปุก อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

เกิดจากการเสียค่าใช้จ่ายต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรสูง  โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมากในปัจจุบัน  และสุขภาพร่างกายอ่อนแอลง  จึงผันมาทำปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีจนถึงปัจจุบันนี้  สุขภาพก็แข็งแรงดี  แถมมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย  และให้ความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแก่เพื่อนเกษตรกรในหมู่บ้านที่สนใจด้วย 


ความสำเร็จ :

ความร่วมแรงร่วมใจ การรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม


ความชำนาญ : การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผักและผลไม้


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เกิดจากการเสียค่าใช้จ่ายต้นทุนในการผลิตทางการเกษตรสูง  โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมากในปัจจุบัน  และสุขภาพร่างกายอ่อนแอลง  จึงผันมาทำปุ๋ยน้ำอินทรีย์ชีวภาพใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีจนถึงปัจจุบันนี้  สุขภาพก็แข็งแรงดี  แถมมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย  และให้ความรู้ในการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแก่เพื่อนเกษตรกรในหมู่บ้านที่สนใจด้วย 

  • ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ



    ๑.  จัดหาวัสดุที่มีในหมู่บ้าน  คือ มะละกอ สับปะรด  ใช้มีดหั่นเป็นแผ่นบางพอสมควรไม่ให้หนาเกินไป  ต้น (ขนาดกลางจะได้น้ำหนักประมาณ  ๔  กิโลกรัม)



    ๒.  จัดหาภาชนะ  เช่น  ถังสีน้ำเงินที่มีขายทั่วไป  นำมะละกอ สับปะรด ที่ฝานแล้วใส่ลงในถังผสมน้ำลงในถังประมาณ  ๕๐  ลิตร



    ๓.  ใส่หัวเชื้อ EM ลงในถัง  ประมาณ  ๐.๕  ลิตร  ตามด้วยกากน้ำตาลอีก  ๕  ลิตร  จากนั้นก็ใช้      ไม้พายคนให้เข้ากัน  ปิดฝาถังให้สนิททิ้งไว้ประมาณ  ๒๐  วัน



    ๔.  เมื่อครบกำหนด  ๒๐ วัน  เปิดฝาถังออกใส่สาร EM  เพิ่มลงไปอีกในถังประมาณ  ๐.๕  ลิตร  ทิ้งไว้อีกประมาณ  ๒  วัน  ก็สามารถนำน้ำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมาใช้ได้

  • ความร่วมแรงร่วมใจ การรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม

  • 1. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะที่ใช้หมักโดยสนิทชนิดที่อากาศเข้าไม่ได้เพราะอาจเกิดการระเบิดได้ เนื่องจากในระหว่างการหมักจะเกิดก๊าซขึ้นมาจำนวนมากเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ฯลฯ



    2. ภาชนะที่ใช้หมักต้องไม่ใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะปุ๋ยน้ำชีวภาพจะมีฤทธิ์เป็นกรด (Ph=3-4)ซึ่งจะกัดกร่อนโลหะให้ผุกร่อนได้



    3. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิดเช่นกล้วยไม้ อาจมีผลทำให้ภาชนะที่ใช้ปลูกคือกาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควรทำให้ต้องเสียเงินในการเปลี่ยนภาชนะใหม่



    4. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชนั้นในดินจะต้องมีอินทรียวัตถุอยู่ เช่น มีการใส่ปุ๋ยหมัก เศษพืชแห้งคลุมดินไว้จึงจะทำให้การใช้ประโยชน์จากน้ำชีวภาพได้ผลดี



    5. ห้ามใช้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในคำแนะนำเพราะอาจมีผลทำให้ใบไหม้ได้ เนื่องจากความเป็นกรดหรือความเค็มในน้ำสกัดชีวภาพ ดังนั้นจึงควรเริ่มทดลองใช้ในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆก่อน



    6. น้ำสกัดชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนสูง ๆ ต้องระวังในการใช้เพราะหากใช้มากไปอาจทำให้พืชเฝือใบและไม่ออกดอกออกผลได้



    7. ในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืช พืชมีความต้องการสารอาหารในระดับที่แตกต่างกัน น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสารอาหารที่แตกต่างกันเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ค้นคว้าทดลองเองและเก็บข้อมูลไว้ว่าในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต พืชต้องการน้ำสกัดชีวภาพสูตรใด ความเข้มข้นเท่าใดและระยะเวลาในการฉีดพ่นเท่าใด ไม่มีใครให้คำตอบที่ดีและถูกต้องสำหรับสวนหรือไร่นาของท่านได้ ยกเว้นท่านจะทำทดลองใช้ สังเกตอาการของพืชหลังจากใช้และปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับพืชของท่านต่อไป

  • -
  • ๕ ปี ในการทำปุ๋ยน้ำหมักอินทรีย์ชีวภาพ