กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวนัยนา เพ็งอุดม

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 143 หมู 10 ตำบล : เขากระปุก อำเภอ : ท่ายาง จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

การจักสานเป็นอาชีพที่ชาวบ้านห้วยหินเพลิงหารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัวในยามที่เสร็จสิ้นจากการทำไร่ทำสวน คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านมะพร้าวมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใดเดิมสมัยก่อนในชุมชนมีการปลูกไม้ไผ่ หวาย   มีกรรมวิธีการจักสานแบบโบราณใช้วัตถุดิบในพื้นที่นำมาจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อก่อนนี้กลุ่มจักสานมีมาก ผลผลิตล้นตลาดราคาผลิตภัณฑ์ถูก แต่วัตถุดิบแพง กลุ่มบ้านห้วยหินเพลิงจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนจากหวาย ไม้ไผ่เป็นจักสานพลาสติก ต่อมาเมื่อทางส่วนราชการมาส่งเสริมให้การสนับสนุน ให้มีการจักสานเชิงพาณิชย์ โดยมีชาวบ้านมาเป็นสมาชิกกลุ่ม ทำให้มีอาชีพเสริม มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีสถานที่ฝึกอบรม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เกิดจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เน้นความสวยงาม ประณีตและเรียบร้อยจากการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ ทำให้กลุ่มมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านได้มีรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ประจวบกับประธานกลุ่มนางสาวนัยนา เพ็งอุดม เป็นผู้ประสานงานด้านการตลาด ทำให้กลุ่มทำการผลิตและจำหน่ายได้มากขึ้น


ความสำเร็จ :

วัตถุดิบถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำจักสาน รวมทั้งการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ตัวผลิตภัณฑ์ออกมา มีคุณค่า ลวดลาย สวยงาม น่าสนใจ วัตถุดิบที่ใช้เป็นเส้นพลาสติกที่มีความเหนียวนิ่ม ซึ่งซื้อมาจากที่อื่น จากอิทธิพลความสวยงามของเส้นพลาสติกทำให้การนำผลิตภัณฑ์มาตกแต่งบ้านเรือนมีการประยุกติ์ให้เข้ากับสมัยนิยม ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม สีสันกลมกลืน เป็นสากล มีความทันสมัยในการออกแบบ


ความชำนาญ : การสานกระเป๋าจากเส้นพลาสติก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • การจักสานเป็นอาชีพที่ชาวบ้านห้วยหินเพลิงหารายได้ช่วยจุนเจือครอบครัวในยามที่เสร็จสิ้นจากการทำไร่ทำสวน คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านมะพร้าวมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใดเดิมสมัยก่อนในชุมชนมีการปลูกไม้ไผ่ หวาย   มีกรรมวิธีการจักสานแบบโบราณใช้วัตถุดิบในพื้นที่นำมาจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อก่อนนี้กลุ่มจักสานมีมาก ผลผลิตล้นตลาดราคาผลิตภัณฑ์ถูก แต่วัตถุดิบแพง กลุ่มบ้านห้วยหินเพลิงจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนจากหวาย ไม้ไผ่เป็นจักสานพลาสติก ต่อมาเมื่อทางส่วนราชการมาส่งเสริมให้การสนับสนุน ให้มีการจักสานเชิงพาณิชย์ โดยมีชาวบ้านมาเป็นสมาชิกกลุ่ม ทำให้มีอาชีพเสริม มีศูนย์การเรียนรู้ชุมชน มีสถานที่ฝึกอบรม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เกิดจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เน้นความสวยงาม ประณีตและเรียบร้อยจากการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ ทำให้กลุ่มมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านได้มีรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ประจวบกับประธานกลุ่มนางสาวนัยนา เพ็งอุดม เป็นผู้ประสานงานด้านการตลาด ทำให้กลุ่มทำการผลิตและจำหน่ายได้มากขึ้น

  • ขั้นตอนการสาน



    1. ตัดเส้นพลาสติก ตามจำนวนและความยาวที่คำนวณได้  โดยจะประกอบด้วย



               1)    เส้นเหยียบ (ด้านกว้าง)    จำนวน 9 เส้น  ตัดยาว135ซม.



               2)    เส้นสาน (ด้านยาว)         จำนวน 21 เส้น  ตัดยาว 117ซม.



               3)    เส้นสานรอบวง (ด้านสูง)  จำนวน 27 เส้น  ตัดยาว 110ซม.



              4)    เส้นเก็บปากกระเป๋า         จำนวน 2 เส้น  ตัดยาว 100ซม.



    2.  เริ่มจากการทำก้นกระเป๋า โดยการนำเส้นเหยียบ มาวางเรียงให้ชิดกัน แล้วหาหนังสือมาวางทับปลายเส้นไว้เพื่อไม่ให้เส้นหลุดเวลาสาน โดยหันปลายอีกข้างไปด้านหน้าเรา



    3. นำเส้นสานมาสาน โดยการสอดเส้นขึ้นหนึ่งช่องลงหนึ่งช่อง  สานขึ้นไปเรื่อยๆจนหมด



    4. จัดเส้นให้แน่นและดึงปลายทั้ง 4ด้านให้เท่ากัน โดยจัดให้เส้นเหยียบชิดกันทุกเส้นส่วนเส้นสานไม่ต้องชิดกันมากจัดแค่พอประมาณ  เมื่อปลายเท่ากันแล้ว ทำการล็อคไว้โดยการสอดปลายเส้นย้อนกลับมาขัดกับลายด้านบน  โดยการล็อคแต่ละช่วงให้เว้นระยะห่างกันประมาณ4ช่อง



    5. หลังจากนั้น นำเส้นรอบวงมาสาน ให้เริ่มสานจากด้านกว้าง โดยการสอดเส้นจากขอบขวาไปซ้ายไปสิ้นสุดที่กึ่งกลางกระเป๋าและให้เหลือปลายไว้ประมาณ 5ซม. สานขึ้นไปจนหมดเส้น แล้วล็อคด้านบนและปลายด้านซ้ายไว้กันหลุด



    6. ยกกระเป๋าขึ้นมา โดยใช้มือข้างซ้ายถือด้านบน ส่วนมือขวาถือก้นกระเป๋า ให้ใช้มือขวาจับเส้นที่ก้นกระเป๋าสานขึ้นมาที่ปากกระเป๋าทีละเส้น  สานไปประมาณ 4เส้นให้ทำการล็อคเส้นที่ปากกระเป๋าไว้ด้วย เมื่อสานจนจบ หนึ่งด้านแล้วให้หยุดเพื่อทำการจัดเส้นรอบวง ด้วยการค่อยๆดึงเส้นรอบวงให้แน่น (อย่าดึงแรง เดี๋ยวจะหลุดมาทั้งเส้น)  ดึงจนครบทุกเส้นแล้วก็สานต่อไป เรื่อยๆ เมื่อสานครบรอบ ก็สอดเก็บงานโดยสอดทับกัน 2ช่องจนครบทุกเส้นแล้วก็จัดเส้นโดยการดึงปลายทั้งด้านพร้อมๆกันทำให้ครบทุกเส้น หลังจากนั้นก็สอดเก็บไปอีก2-3ช่องและตัดปลายเส้นให้สวยงาม



    7. จัดเส้นแนวตั้ง  โดยดึงเส้นที่ปากกระเป๋า(ปลายของเส้นก้นกระเป๋า) ให้แน่นทีละเส้นและพับเส้นลงมาขัดลาย ช่องเว้นช่อง เพื่อให้ก้นกระเป๋าแน่นและอยู่ทรง



    8.  เก็บปากกระเป๋า  โดยการนำเส้นที่เตรียมไว้ หนึ่งเส้นมาสอดเข้าไปในช่องที่เราขัดลายไว้จนย้อนกลับมาบรรจบกัน  หลังจากนั้นก็นำอีกหนึ่งเส้นมาวางทับแล้วพับเส้นที่เหลือลงมาขัดลาย เมื่อครบทุกเส้นแล้วสอดเส้นลงไปอีก3-4ช่องทุกเส้นและตัดปลายเส้นให้สวยงามพร้อมทั้งพับตามขอบก้นกระเป๋าทั้ง 4ด้าน  (เริ่มทำจากฝั่งที่อยู่ตรงข้ามกับด้านที่จบงานเสมอ เพื่อกันไม่ให้กระเป๋าฉีกออกจากกันง่ายๆ)



    ๙.  ประกอบสายกระเป๋าตามชอบ     

  • วัตถุดิบถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำจักสาน รวมทั้งการคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ซึ่งจะทำให้ตัวผลิตภัณฑ์ออกมา มีคุณค่า ลวดลาย สวยงาม น่าสนใจ วัตถุดิบที่ใช้เป็นเส้นพลาสติกที่มีความเหนียวนิ่ม ซึ่งซื้อมาจากที่อื่น จากอิทธิพลความสวยงามของเส้นพลาสติกทำให้การนำผลิตภัณฑ์มาตกแต่งบ้านเรือนมีการประยุกติ์ให้เข้ากับสมัยนิยม ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม สีสันกลมกลืน เป็นสากล มีความทันสมัยในการออกแบบ

  • -
  • -
  • ๓ ปี ในการสานกระเป๋าจากพลาสติก