กลับไปหน้าค้นหา

นายปิยะนันท์ นามสกุล รักกลัด

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 13 หมู 5 ตำบล : บางงอน อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

เดิมที่บ้านหนองเตียนเป็นพื้นที่ลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ต่อมาประชาชน

ไปปลูกพืชเศรษฐกิจจำพวกยางพารา และปาล์มน้ำมัน เพิ่มมากขึ้น ด้วยความที่เป็นลูกชาวนามาตั้งแต่เกิด เห็นปู่ย่าตายาย

พ่อแม่ทำนา จึงได้อนุรักษ์อาชีพการทำนาไว้โดยปลูกไว้เกี่ยวเกี่ยวผลผลิตบริโภคเองในครัวเรือน ต่อมา ปี 2545  

ได้ฟื้นฟูอาชีพการทำนาขึ้นมาอีกครั้ง ข้าพเจ้าได้รวมกลุ่มสมาชิกในการประกอบอาชีพการทำนาเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน

และเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของครัวเรือน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องจากปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ



 


ความสำเร็จ :

การหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเรียนรู้ตลอดเวลา


ความชำนาญ : การปลูกข้าวปลอดสารพิษ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เดิมที่บ้านหนองเตียนเป็นพื้นที่ลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ต่อมาประชาชน

    ไปปลูกพืชเศรษฐกิจจำพวกยางพารา และปาล์มน้ำมัน เพิ่มมากขึ้น ด้วยความที่เป็นลูกชาวนามาตั้งแต่เกิด เห็นปู่ย่าตายาย

    พ่อแม่ทำนา จึงได้อนุรักษ์อาชีพการทำนาไว้โดยปลูกไว้เกี่ยวเกี่ยวผลผลิตบริโภคเองในครัวเรือน ต่อมา ปี 2545  

    ได้ฟื้นฟูอาชีพการทำนาขึ้นมาอีกครั้ง ข้าพเจ้าได้รวมกลุ่มสมาชิกในการประกอบอาชีพการทำนาเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน

    และเหลือจำหน่ายเป็นรายได้เสริมของครัวเรือน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีเนื่องจากปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ



     

  • 1. การเตรียมดิน

            การเตรียมดินสำหรับการทำนา การเตรียมดินแยกได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ



             ไถแปร คือ การพลิกหน้าดิน ตากดินให้แห้ง ตลอดจนเป็นการคลุกเคล้าฟาง วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดิน เครื่องมือ

    ที่ใช้รถไถเดินตาม



             การคราด คือการกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้

    เป็นขั้นตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1 และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้มีสภาพดินที่เหมาะสมในการคราด



    ข้อควรระวังในการเตรียมดิน

    1. ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้ง

    2. ควรจะมีการปล่อยน้ำขังนาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้กระบวนการหมักและสลายตัวของอินทรียวัตถุเสร็จสิ้นเสียก่อน

    ดินจะปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และจะปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่

    ต้นข้าวได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ                   

    การเตรียมต้นกล้า       

     การเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรง เมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าวที่เจริญเติบโตได้รวดเร็ว และมีโอกาสให้ผลผลิตสูง

    ต้นกล้าที่แข็งแรงดีต้องมีการเจริญเติบโตและความสูงสม่ำเสมอกันทั้งแปลง มีรากมากและรากขนาดใหญ่ ไม่มีโรคและ

    แมลงทำลาย

             - การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ที่ใช้ตกกล้าต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ ปราศจากสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง

    ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง

            การปักดำควรทำเป็นแถวเป็นแนวซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพ่นยากำจัดโรคแมลง

    และยังทำให้ข้าวแต่ละกอมีโอกาสไดรับอาหารและแสงแดดอย่างสม่ำเสมอกัน สำหรับระยะปักดำนั้นขึ้นกับชนิดและ

    พันธุ์ข้าว ควรใช้ระยะปักดำ 25x25 เซนติเมตร



            ปักดำจับละ 3-5 ต้น ปักดำลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร จะทำให้ข้าวแตกกอใหม่ได้เต็มที่  การปักดำลึก

    จะทำให้ข้าวตั้งตัวได้ช้าและแตกกอได้น้อย ไม่ควรตัดใบกล้าเพราะการตัดใบกล้าจะทำให้เกิดแผลที่ใบ จะทำให้โรคเข้าทำลาย

    ได้ง่าย ควรตัดใบกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่น ใช้กล้าอายุมาก มีใบยาว ต้นสูง หรือมีลมแรง เมื่อปักดำแล้วจะทำให้ต้นข้าวล้ม

    อายุกล้า การใช้กล้าอายุที่เหมาะสม จะทำให้ข้าวตั้งตัวเร็ว แตกกอได้มาก และให้ผลผลิตสูง อายุกล้าที่เหมาะสมสำหรับปักดำ

    ควรใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 25-30 วัน ระดับน้ำในการปักดำ ควรมีระดับน้ำในนาน้อยที่สุด เพียงแค่คลุมผิวดิน

    เพื่อป้องกันวัชพืชและประคองต้นข้าวไว้ไม่ให้ล้ม การควบคุมระดับน้ำหลังปักดำก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะระดับน้ำลึก

    จะทำให้ต้นข้าวแตกกอน้อย ซึ่งจะทำให้ผลผลิตต่ำ ควรควบคุมให้อยู่ในระดับลึกประมาณ 1 ฝ่ามือ (20 เซนติเมตร)

            3.การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่ข้าวต้องการ จำนวนที่พอเหมาะ จึงจะให้ผลคุ้มค่า

            4.การใช้สารกำจัดวัชพืช

            5.การป้องกันกำจักโรคแมลง

     

  • การหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและเรียนรู้ตลอดเวลา

  • โรคแมลง

  • -

  • -