กลับไปหน้าค้นหา

นายกำธร ชาตรีทัพ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 4 หมู 5 ตำบล : บางงอน อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

 เริ่มเรียนรู้การปลูกไผ่กิมซุง มาประมาณปี พ.ศ.2554 เพื่อเป็นอาชีพเสริม พบว่าทำมีรายได้เพิ่มขึ้น



 


ความสำเร็จ :

ความตั้งใจศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา


ความชำนาญ : ปลูกไผ่กิมซุง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •  เริ่มเรียนรู้การปลูกไผ่กิมซุง มาประมาณปี พ.ศ.2554 เพื่อเป็นอาชีพเสริม พบว่าทำมีรายได้เพิ่มขึ้น



     

  • วิธีปลูก

    - ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกไผ่ได้  100 กอ ระยะการปลูก 4X4 เมตร  ส่วนขนาดหลุมปลูกกว้าง 30 ซม.ลึก 30 ซม.

    โดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนลงกิ่งพันธุ์ จากนั้นก็ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 22-7-12 เดือนละครั้งจากนั้นประมาณ 7 เดือนไผ่ก็จะเริ่มให้ผลผลิตแล้ว

    การขยายพันธุ์

    - เริ่มการเลือกต้นไผ่ ที่มีสีเขียวเข้ม มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป และไผ่แต่ละหน่อจะสามารถตอนได้ประมาณ 7-8

    กิ่งพันธุ์ โดยแต่ละกอจะมีไผ่ใช้สำหรับการตอนกิ่งอยู่ที่ไม่เกิน 4-5 ต้น เพราะถ้ามากกว่านั้นจะให้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพพอ

    - การตอนเราจะตอนจากลำหลักเท่านั้น แต่ละกอก็จะมีอยู่ประมาณ 4-5 ลำ ระยะเวลาในการตอนจะอยู่ที่

    ประมาณ 20 วันจึงตัดได้ แต่ให้สังเกตที่รากในถุงชำด้วยว่าสีของรากจะต้องมีสีน้ำตาล จึงจะตัดได้ ถ้ายังสีขาว

    แสดงว่ายังไม่พร้อมที่จะตัด



     

  • ความตั้งใจศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา

  • -ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

              ผมเองก็ยังต้องซื้อกิ่งพันธุ์ จำนวนหลายสิบกิ่ง ตามคำแนะ ตามคุณสมบัติที่โฆษณา จากผู้ขาย หลังจากที่ผมปลูกไผ่กิมซุงได้ ไม่ถึงเดือน กิ่งไผ่เริ่มมีอาการใบเหลือง และเปลี่ยนไปเป็นใบสีขาว ใบร่วงหล่น หลังจากนั้นผมก็ขุดกิ่งไผ่ขึ้นมาดู ก็พบว่า รากไผ่เน่า ซึ่งในตอนนั้นผมไม่รู้และไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง ควรหลีกเลี่ยงดินที่มีน้ำท่วมถึง และขังเป็นเวลานาน พื้นที่มีการระบายน้ำไม่ดี โดยเฉพาะพื้นที่มีสภาพเป็นดินเหนียว ดังนั้นถ้าเราปลูกในสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์

    กอไผ่ก็ย่อมที่จะเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ไผ่มีหน่อดกและขนาดใหญ่ เวลาผ่านไปปีกว่าๆ ผมได้เริ่มต้นการขยายกิ่งพันธุ์ไผ่กิมซุง จากไผ่ชุดแรกที่ซื้อมา เริ่มเรียนรู้ สังเกต และลงมือปฏิบัติจริง จึงได้ข้อสรุปเบื้องต้น ถ้าเราจะขยายกิ่งพันธ์เพื่อปลูกบนพื้นที่ของตัวเอง ข้อแนะนำให้ขยายกิ่งพันธุ์โดยวิธีการปักชำกิ่ง ลักษณะกิ่งเป็นรูปตัววาย จะทำให้โตไว มีรากเยอะแตกหน่อเร็ว สำหรับปุ๋ยที่จะใส่ให้ไผ่นั้น ถ้าเราสามารถหาปุ๋ยคอก ได้ยิ่งจะดีจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย

              ไผ่กิมซุงที่มีอายุน้อยกว่าหนึ่งปี ปัญหาที่พบ สามารถแก้ไขได้ง่าย แต่ถ้าไผ่กิมซุงที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี ปัญหาที่พบก็จะต้อง แก้ไขตามระยะเวลาของอายุไผ่ ถ้าไปแก้รวบยอดอาจจะแก้ยาก และจะกลายเป็นปัญหาใหญ่เลยก็ได้ เพราะว่าไผ่กิมซุงเป็นไผ่ตระกูลของไผ่ตง ดังนั้นปัญหาจึงคล้ายๆกัน

              โคนไผ่ลอย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย แต่หลายๆท่านที่ปลูกไผ่กิมซุงอาจจะไม่ให้ความสำคัญมากนัก หรือให้ความสำคัญแต่แก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้อง เรียกว่ายิ่งแก้ยิ่งเจอ แนวทางที่เหมาะสม นั้นก็คือให้ใช้ฟางหรือหญ้า คลุมที่โคนไผ่ อย่าใช้ดินหรือแกลบดำคลุม เพราะว่าการใช้ดินหรือแกลบดำคลุม จะทำให้บริเวณรอบกอไผ่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อเกิดหน่อใหม่ก็จะงอกลอยขึ้นไปอีก ซึ่งเสี่ยงต่อการล้มของกอไผ่หรือลำไผ่ เมื่อต้องเจอลมพัดแรงๆ

              การตัดแต่งกอไผ่นี้ก็สำคัญเช่นกัน ควรเลือกตัดหน่อที่ชิดลำอื่น และหน่อที่ไม่สมบูรณ์ โดยให้มีลำเพียง 3-4 ลำ/กอ สำหรับไผ่ที่ต้องการผลิตหน่อ และเมื่อหน่อที่เราต้องการไว้เป็นลำนั้นสูงประมาณ 3เมตร เราก็ควรจะตัดยอด เพื่อป้องกันลมพัด

              เป็นบางส่วนของปัญหาที่พบในการปลูกไผ่กิมซุง ดังนั้นถ้าเราลงมือปลูกเอง ดูแลเอง เรียนรู้และศึกษาอย่างใกล้ชิดแล้ว ความรู้ที่เราจะได้นั้นมีค่ายิ่งนัก เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริง แก้ปัญหาจริง จุดอ่อน จุดแข็ง ของไผ่กิมซุง ย่อมส่งผลต่อความสำเร็จในการปลูกไผ่กิมซุงเพื่อผลิตหน่อนั้น

     

  • -

  • พ.ศ.2554-พ.ศ.2560