กลับไปหน้าค้นหา

นายอภิชาติ อินทชาติ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 51 หมู 2 ตำบล : น้ำรอบ อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

 ได้รับการถ่ายทอดวิธีการปลูกยางพารา มาตั้งแต่บรรพบุรุษ เนื่องจาก ครอบครัวมีอาชีพเกษตรกร ทำสวนยางพารา จึงได้เห็นและมีประสบการณ์ในการปลูก วิธีการดูแล รักษายางพารา สามารถที่จะถ่ายทอด ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ได้


ความสำเร็จ :

เทคนิค



1. หลังจากปลูกยางแล้วถ้ามีฝนตกหนัก ให้ออกตรวจดูหลุมปลูกยาง ถ้าหลุมปลูกยางต้นใดที่ปลูกแล้วเหยียบดินไม่ แน่น จะทำให้ดินยุบเป็นแอ่ง ซึ่งจะขังน้ำ และอาจทำให้โคนต้นยางบริเวณคอดินไหม้ และต้นยางตายได้ ดังนั้นจึงต้องเกลี่ยดิน บริเวณปากหลุม ให้เรียบอยู่เสมอในช่วงที่มีฝนตกหนัก



2. ขณะโกยดินลงก้นหลุม อย่าให้ดินกระแทกต้นยางแรงๆ เพราะอาจจะทำให้ต้นยางฉีกหรือหัก ซึ่งจะทำให้ต้นยางตาย ถ้าปลูกด้วยความระมัดระวังตามสมควร ก็จะทำให้อัตราการตายของต้นยางหลังปลูกต่ำมาก



3. ทิศทางการหันแผ่นตา การปลูกยางชำถุง หรือต้นตอตา ลงแปลงสวนยาง ควรหันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตก เพื่อ ป้องกันอาการไหม้แสงแดดที่โคนต้นยาง หลังจากส่วนลำต้นของต้นตอเดิมหลุดออกไป ถ้ามีอาการไหม้แสงแดด ให้ใช้สีน้ำมัน ทาทับป้องกันเชื้อรามอดแมลงเข้าทำลาย ทำให้ต้นยางไม่แข็งแรงลมพัดหักได้ง่าย


ความชำนาญ : การปลูกยางพารา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •  ได้รับการถ่ายทอดวิธีการปลูกยางพารา มาตั้งแต่บรรพบุรุษ เนื่องจาก ครอบครัวมีอาชีพเกษตรกร ทำสวนยางพารา จึงได้เห็นและมีประสบการณ์ในการปลูก วิธีการดูแล รักษายางพารา สามารถที่จะถ่ายทอด ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ได้

  •       ขั้นตอนและวิธีการปลูกยางพารา



     การเตรียมดิน  



                       การเตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง



    การเตรียมหลุมปลูก



    หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควร แยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร๊อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม



    ระยะปลูก



                    พื้นที่ราบ ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง  ให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่



                 วิธีปลูก  การ ปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยาง



     1. การปลูกด้วยต้นตอตา นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร๊อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็ม ด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลาง หลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี



    2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก



    ฤดูการปลูกยางพารา



    ในพื้นที่ชุ่มชื้น เขตปลูกยางเดิม เริ่มเข้าฤดูแล้ง เดือนมกราคม เตรียมพื้นที่เก็บไม้ออกจากพื้นทีให้หมด ไถพรวนและวางแนวขุดหลุมปลูก ถ้าผสมปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม ควรให้เสร็จก่อนปลูกยางในฤดูฝน 1 เดือน ฝนเริ่มมาเดือน พฤษภาคม ถ้าพื้นที่มีความชื้นเพียงพอก็สามารถปลูกต้นยางชำถุงได้ การปลูกต้นตอควรมีความชื้นเต็มที่ขณะปลูกไม่น้อยกว่า 2 เดือน หลังปลูก 15 วัน ถึง 1 เดือนควรปลูกซ่อม ต้องปลูกซ่อมให้เสร็จก่อนหมดฝนอย่างน้อย 2 เดือน ในช่วงกลางฤดูฝนมักจะ มีฝนทิ้งช่วงให้ฝักของเมล็ดยางแห้งแตกร่วงหล่น การตกของเมล็ดยางช่วงนี้เรียกว่า เมล็ดยางในปี(เป็นเมล็ดที่สำคัญในการ ขยายพันธุ์ยาง) ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เมล็ดยางเหล่านี้นำมาปลูกทำกล้ายางเพื่อติดตาในแปลง ปลูก หรือนำไปทำเป็นวัสดุปลูกขยายพันธุ์ต่อไป



    พื้นที่ปลูกยางใหม่เขตแห้งแล้ง(ฤดูฝนสั้นกว่าเขต ปลูกยางเดิม) ควรปลูกยางในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน ด้วยต้นยางชำถุง 2 ฉัตร ปลูกซ่อมด้วยวัสดุปลูกอย่างเดียวกันให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยปรกติเขตแห้งแล้ง ฝนเริ่มมาเดือนพฤษภาคม ฝนจะทิ้งช่วงให้เมล็ดยางในปีร่วงหล่น เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หมดฝนเข้าสู่ฤดูหนาวเดือน พฤศจิกายน

  • เทคนิค



    1. หลังจากปลูกยางแล้วถ้ามีฝนตกหนัก ให้ออกตรวจดูหลุมปลูกยาง ถ้าหลุมปลูกยางต้นใดที่ปลูกแล้วเหยียบดินไม่ แน่น จะทำให้ดินยุบเป็นแอ่ง ซึ่งจะขังน้ำ และอาจทำให้โคนต้นยางบริเวณคอดินไหม้ และต้นยางตายได้ ดังนั้นจึงต้องเกลี่ยดิน บริเวณปากหลุม ให้เรียบอยู่เสมอในช่วงที่มีฝนตกหนัก



    2. ขณะโกยดินลงก้นหลุม อย่าให้ดินกระแทกต้นยางแรงๆ เพราะอาจจะทำให้ต้นยางฉีกหรือหัก ซึ่งจะทำให้ต้นยางตาย ถ้าปลูกด้วยความระมัดระวังตามสมควร ก็จะทำให้อัตราการตายของต้นยางหลังปลูกต่ำมาก



    3. ทิศทางการหันแผ่นตา การปลูกยางชำถุง หรือต้นตอตา ลงแปลงสวนยาง ควรหันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตก เพื่อ ป้องกันอาการไหม้แสงแดดที่โคนต้นยาง หลังจากส่วนลำต้นของต้นตอเดิมหลุดออกไป ถ้ามีอาการไหม้แสงแดด ให้ใช้สีน้ำมัน ทาทับป้องกันเชื้อรามอดแมลงเข้าทำลาย ทำให้ต้นยางไม่แข็งแรงลมพัดหักได้ง่าย

  • -
  • -
  • -