กลับไปหน้าค้นหา

นายปลด จำนงค์พันธ์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 13/3 หมู 3 ตำบล : ศรีวิชัย อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

              เนื่องจากสภาพพื้นที่บ้านทุ่งอ่าว หมู่ที่ ๓ ตำบลศรีวิชัย เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินผสมน้ำเค็ม จึงเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตร หลังจากเสร็จจากงานหลักข้าพเจ้าได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการตีมีดจากบรรพบุรุษ และได้ยึดเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวตลอดมา อีกทั้งเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป


ความสำเร็จ :

   เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จ  คือ ความใส่ใจในทุกขั้นตอน และการศึกษาหาความรู้ใหม่มาพัฒนาปรับปรุง ใช้วัสดุที่ดีมีคุณภาพในการผลิตมีด


ความชำนาญ : การตีมีด


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •               เนื่องจากสภาพพื้นที่บ้านทุ่งอ่าว หมู่ที่ ๓ ตำบลศรีวิชัย เป็นที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินผสมน้ำเค็ม จึงเหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตร หลังจากเสร็จจากงานหลักข้าพเจ้าได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการตีมีดจากบรรพบุรุษ และได้ยึดเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวตลอดมา อีกทั้งเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป

  • วิธีการขั้นตอน



    ขั้นตอนที่ 1 ตัดเหล็กให้ได้ขนาดตามความต้องการ เผาไฟให้แดงแล้วนำออกมาจากเตาให้คนสามคนใช้พะเนินตีจนได้รูปหุ่น หรือกูน ( เรียกว่าการ “ หลาบ” เหล็ก )



    ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้หุ่นหรือกูนมีดแล้ว นำเอาเข้าเตาเผาไฟอีกครั้งหนึ่ง แล้วใช้คน คนเดียวตีด้วยค้อนเพื่อขึ้นรูปมีดให้ได้ตามความต้องการ (เรียกว่าการ “ซ้ำ” ) 



    ขั้นตอนที่ 3 เมื่อซ้ำได้รูปมีดแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วใช้ค้อนตีจนเนื้อเหล็กเรียบเป็นมันเพื่อให้เนื้อเหล็กเหนียวแน่น คมบาง ตัวมีดตรง (เรียกว่าการ “ ลำเรียบ หรือ ไห่” )



    ขั้นตอนที่ 4 เมื่อไห่ได้รูปมีดพอสมควรแล้ว นำมาแต่งด้วยตะไบ เพื่อให้ได้รูปเล่มสวยงามขึ้น              (เรียกว่าการ “แต่ง” ) 

    ขั้นตอนที่ 5 เมื่อแต่งด้วยตะไบได้รูปแล้ว นำมาขูดคมให้บางโดยใช้เหล็กขูด เพื่อทำให้ตัวมีดขาวและบาง (เรียกว่าการ “ขูด” ) 



    ขั้นตอนที่ 6 เมื่อขูดได้คมบางพอสมควรแล้ว ใช้ตะไบหยาบและตะไบละเอียดโสกตามตัวมีด เพื่อให้ตัวมีดขาวเรียบร้อย และคมจะบางยิ่งขึ้น (เรียกว่าการ “ โสก” ) 

    ขั้นตอนที่ 7 เมื่อโสกเรียบร้อยแล้วนำมาพานคม โดยใช้ตะไบละเอียดพานขวางของคมมีดเพื่อให้คมมีดบางเฉียบ (เรียกว่าการ “ พานคมมีด” ) 

     



    ขั้นตอนที่ 8 เมื่อพานคมแล้วก็นามาชุบ นำมีดเข้าเผาไฟในเตาจนร้อนแดงตามความต้องการ แล้วชุบกับน้ำ



    คมของมีดจะกล้าแข็งไม่อ่อนและไม่บิ่น 

    ขั้นตอนที่ 9 เมื่อชุบแล้วนำมาฝนหรือลับ โดยใช้หินกากเพชร (เรียกว่าการ “ลับคม” ) 

    ขั้นตอนที่ 10 เมื่อฝนหรือลับคมได้ที่แล้วจึงนำมาเข้าด้ามมีด แล้วใช้น้ำมันทาตัวมีดเพื่อกันสนิม เป็นเสร็จสิ้น

  •    เทคนิคที่ทำให้เกิดความสำเร็จ  คือ ความใส่ใจในทุกขั้นตอน และการศึกษาหาความรู้ใหม่มาพัฒนาปรับปรุง ใช้วัสดุที่ดีมีคุณภาพในการผลิตมีด

  • เทคนิค ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ



                       การลับคมสุดท้ายจนเรียบเงาแบบกระจก หรือมีดโกน มีดอาจจะคมมาก แต่การตัดวัสดุที่เรียบลื่นมาก อย่างเชือกไนล่อนอาจจะไม่ค่อยกินเนื้อวัสดุเลยรู้สึกว่ามีดไม่ค่อยคม เทคนิคคือคมสุดท้ายต้องให้มีความสากเล็กน้อย  โดยการปาดกับหินหยาบสักครั้งหรือลากผ่านกระดาษทรายสักเบอร์ 280 จนทำให้เมื่อเอานิ้วลูบคมขึ้นมารู้สึกยิบ เมื่อตัด จะเกาะวัสดุได้ดีกว่า ทำให้ตัดเข้าได้ดีขึ้น

  • ไม่มี

  • ไม่มี