กลับไปหน้าค้นหา

นายสุระ ขวัญใจ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 79 หมู 3 ตำบล : ท่าสะท้อน อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

ความเป็นมา  เนื่องจากประกอบอาชีพการทำสวนปาล์มน้ำมัน ต่อมาได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้การปลูกปาล์มน้ำมัน จากสำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน จึงได้สนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ปาล์มได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น


ความสำเร็จ :

ความตั้งใจ และขยัน 



 


ความชำนาญ : ปลูกปาล์มน้ำมัน


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ความเป็นมา  เนื่องจากประกอบอาชีพการทำสวนปาล์มน้ำมัน ต่อมาได้รับการส่งเสริมและพัฒนาความรู้การปลูกปาล์มน้ำมัน จากสำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน จึงได้สนใจในการปลูกปาล์มน้ำมันโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ปาล์มได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น

  • การปลูกปาล์ม

    1. อายุต้นกล้าที่ใช้ปลูก อายุที่เหมาะสมคือ 10 - 12 เดือน

    2. ระยะเวลาปลูกอยู่ช่วงฤดูฝนเพราะเป็นปัจจัยสำคัญ เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน

    3. การเตรียมการในเรือนเพาะชำ ก่อนย้ายปลูกให้น้ำต้นกล้าปาล์มก่อนจะนำลงปลูก และพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค-แมลง คัดต้นกล้าผิดปกติออก

    4. หลุมปลูก ขนาดของหลุม 45 x 45 x 35 รูปทางเป็นรูปตัวยู วิธีการชุดหลุมดินชั้นบน และชั้นล่างแยกกัน และตากหลุมประมาณ 10 วัน

    5. การขนย้ายต้นปาล์มน้ำมัน ควรใช้รถบรรทุก เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน และคำนึงถึงความระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายด้วย

    6. การปลูกต้นกล้าปาล์มน้ำมัน การใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม ควรใช้ร๊อกฟอสเฟตอัตรา 250 กรัมต่อหลุม

    ก่อนนำต้นกล้าลงปลูก ควรคลุกเคล้าดินกับปุ๋ย เพื่อป้องกันการสัมผัสของรากโดยตรง

    ใส่ดินลงไปในหลุมโดยใช้ดินชั้นบนลงไปก่อน และอัดให้แน่นเพื่อป้องกันลมพัดแรง

    7. การตรวจแปลงหลังจากปลูก ต้นกล้าจะต้องอยู่ในสภาพเดิม ถ้าตรวจพบควรแก้ไขทันที

    8. การปลูกซ่อม ควรทำภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากปลูก



    การเก็บเกี่ยวผลผลิต



    1.วิธีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสด รวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน ซึ่งมีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้

    - ตกแต่งช่องทางลำเลียงระหว่างแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับการตัด การลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้วออกสู่แหล่งรวม หรือศูนย์รวมผลปาล์มที่กำหนดขึ้นแต่ละจุดภายในสวน

    *ข้อควรระวังในการตกแต่งช่องทางลำเลียงปาล์ม คือจะต้องไม่ตัดทางปาล์มออกอีกเพราะถือว่าการตกแต่งทางปาล์มได้กระทำไปตามเทคนิคและขั้นตอนแล้วหากมีทางใบอันใดกีดขวาง ก็อาจดึงหรือแหวกให้สะดวกในการทำงาน

    - สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน

    - คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผลซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง และจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10-12 ผลให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้

    - หากปรากฎว่าทะลายปาล์มสุกที่จะคัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำให้ผลร่วงมากก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแซะขั้วทะลายกันเสียก่อนแล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกจากคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น

    - ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงานทางโรงงานก็จะบรรจุลงในถังต้มลูกปาล์มได้สะดวก

    - รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกอง ในที่ว่างโคนต้นเก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง

    - รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในกระบะบรรทุก ที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น

    - การเก็บเกี่ยวผลปาล์มฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีมในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คน คนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์มอีกคนเก็บรวบรวมผลปาล์ม

    - การเก็บรวบรวมผลปาล์มพยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำ มีบาดแผลปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวนควรมีการตรวจสอบลงทะเบียน มีตาข่ายคลุม เพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง

    2. มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขาย เพราะจะถูกตัดราคา จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป

    3. ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด

    4. ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล

    5. ต้องคัดเลือกทะลายเปล่าหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป

    6. ตัดขั้วทะลายให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้

    7. ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน

    8. ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงาน



     



     



     

  • ความตั้งใจ และขยัน 



     

  • ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย

  • -
  • -