กลับไปหน้าค้นหา

นางอุไรวรรณ ญาโน

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 160 หมู 5 ตำบล : ท่าโรงช้าง อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่คอล่อนมาจากมารดา และศึกษาพัฒนาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตบ้าง แหล่งความรู้ต่างๆ เอกสารบ้าง  และปรับปรุงวิธีการพัฒนามาเรื่อย จนปัจจุบันเลี้ยงเป็นอาชีพสามารถถ่ายทอดให้กับผู้สนใจได้


ความสำเร็จ :

ขยัน อดทน หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ


ความชำนาญ : เลี้ยงไก่คอล่อน


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงไก่คอล่อนมาจากมารดา และศึกษาพัฒนาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ตบ้าง แหล่งความรู้ต่างๆ เอกสารบ้าง  และปรับปรุงวิธีการพัฒนามาเรื่อย จนปัจจุบันเลี้ยงเป็นอาชีพสามารถถ่ายทอดให้กับผู้สนใจได้

  • กระบวนการเลี้ยงไก่คอล่อน



                   1  พันธุ์ไก่   ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์มากที่สุด พันธุ์ไก่คอล่อนที่ดีควรมีลักษณะโครงสร้างใหญ่ การเจริญเติบโตดี อัตราแลกเนื้อสูง สุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคและพยาธิ ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี หากินเก่ง โดยพ่อพันธุ์อายุ 8 – 10 เดือน จะมีน้ำหนักประมาณ 3.5 – 4 กก. ส่วนแม่พันธุ์อายุ 6 – 7 เดือนจะมีน้ำหนักประมาณ 2 – 5 กก.



                  2.โรงเรือนและอุปกรณ์    โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่คอล่อน  สร้างแบบง่าย ๆ และประหยัดใช้วัสดุราคาถูกที่มีอยู่ในพื้นที่ หลังคามุงด้วยจาก สังกะสีเก่า กระเบื้องเก่า หญ้าคาหรือแฝก สามารถกันแดด บังลมกันฝนได้ พื้นที่ไม่แห้งแฉะ มีร่มไม้ มีบริเวณให้ไก่คุ้ยเขี่ยอาหารและเดินออกกำลังกาย กั้นด้วยอวน หรือตาข่ายล้อมรอบโรงเรือนอีกชั้นหนึ่ง ที่พื้นคอกควรมีหลุมรูปร่างคล้ายกระทะไว้สำหรับใส่ขี้เถ้าให้ไก่นอนคลุกเคล้า ตัวเองป้องกันไรไก่ ในโรงเรือนต้องมีคอนนอนไว้ที่มุมคอกและควรมีรังไข่ รางน้ำ รางอาหารให้เพียงพอกับจำนวนไก่ รวมทั้งควรมีกรงอนุบาลสำหรับกกให้ความร้อนแก่ลูกไก่ในระยะเดือนแรกเพื่อให้ลูกไก่แข็งแรงและรอดตายสูง



                 3. อาหารและการให้อาหาร     อาหารสำหรับลูกไก่ระยะ 1 เดือนแรกควรให้อาหารไก่เนื้อระยะแรก จะทำให้ลูกไก่แข็งแรงและรอดตายมากขึ้น หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ เปลี่ยนอาหารพวกอาหารสำเร็จรูป รำ ปลายข้าว ข้าวเปลือก เสริมให้ไก่กินเฉพาะตอนเย็น โดยในช่วงตอนเช้าจะปล่อยให้หาอาหารตามธรรมชาติกินเอง



                4.การจัดการเลี้ยงดู  การเลี้ยงไก่คอล่อนนิยมเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติจึงต้องมีบริเวณเลี้ยงที่กว้างพอสมควร เพื่อให้ไก่ได้คุ้ยเขี่ยอาหารและเดินเล่นออกกำลังกาย เช่นเลี้ยงอยู่ใกล้โรงสีขาว คอกสุกรหรือคอกวัว บริเวณชายป่าหรือทุ่งนาเพราะจะมีแหล่งอาหารตามธรรมชาติอยู่มากช่วยลดต้นทุนค่าอาหารและที่สำคัญจะไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ใช้อัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 10 ตัว แม่ไก่ 1 ตัว จำหน่ายได้ทั้งลูกไก่และไก่เนื้อเพื่อใช้บริโภค



                5 การป้องกันโรค    การเลี้ยงไก่คอล่อนต้องเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอไก่จึงรอดตายสูงถ่ายพยาธิเมื่อไก่อายุได้ 2 เดือน หลังจากนั้นถ่ายทุก 3 เดือน และทำวัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ ไดแก่ โรคนิวคาสเซิล ฝีดาษ หลอดลมอักเสบ อาหิวาต์ไก่ ตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์เพื่อให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันโรค   



              เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต



                    สถานที่เลี้ยงดู ต้องมีบริเวณกว้างพอสมควรสำหรับปล่อยเลี้ยงไก่ตามธรรมชาติและควรเป็นแหล่งที่อยู่ใกล้แหล่งอาหารตามธรรมชาติอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร



                    

  • ขยัน อดทน หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ

  • -
  • -
  • -