กลับไปหน้าค้นหา

นายนพรัตน์ ถุงทอง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 45 หมู 2 ตำบล : น้ำรอบ อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

ได้รับความรู้วิธีการปลูกผักออแกนิคจากการไปทัศนศึกษาดูงาน จังหวัดกระบี่ หลังจากนั้นจึงได้ทดลองปลูกและ ศึกษาหาความรู้จากช่องทางต่างๆ เช่น  ทีวี  อินเตอร์เน็ต และพัฒนาวิธีการปลูกอยู่เรื่อยๆมา จนปัจจุบันสามารถปลูกจำหน่าย  เช่น ผักกาดหอม  ผักกวางตุ้ง  และสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดี


ความสำเร็จ :

ขยัน  อดทน  เอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่           



 


ความชำนาญ : ปลูกผักออแกนิค


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ได้รับความรู้วิธีการปลูกผักออแกนิคจากการไปทัศนศึกษาดูงาน จังหวัดกระบี่ หลังจากนั้นจึงได้ทดลองปลูกและ ศึกษาหาความรู้จากช่องทางต่างๆ เช่น  ทีวี  อินเตอร์เน็ต และพัฒนาวิธีการปลูกอยู่เรื่อยๆมา จนปัจจุบันสามารถปลูกจำหน่าย  เช่น ผักกาดหอม  ผักกวางตุ้ง  และสามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดี

  • กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ



                      อุปกรณ์



                        1 แผ่นโฟม แผ่นฟีเจอร์บอร์ด / พลาสติกลูกฟูก

                        2 คัทเตอร์คมๆ เอาไว้กรีดแผ่นโฟม/ฟีเจอร์บอร์ด

                        3 กาละมัง อ่าง อะไรก็ได้ที่ใส่น้ำแล้วน้ำไม่ซึมออกมา เราใช้กาละมัง แก้วเก่าๆ

    กระป๋องเบียร์ ขวดน้ำอัดลม เดี๋ยวนี้เจออะไรที่ใส่น้ำได้ เราเก็บเอาไว้ปลูกพืช

                      4 ฟองน้ำ

                     5 เมล็ดพืชที่ต้องการจะปลูก เปิดซองแล้วต้องปิดให้แน่น และถ้าเก็บไม่ดี โอกาสที่จะงอก จะมีเปอร์เซนต์งอกน้อย

                     6 ปุ๋ย A และ ปุ๋ย B .. มีทั้งแบบน้ำ และแบบผง



     



     



           ขั้นตอน



                1.เพาะเมล็ดพืชก่อน สามารถเลือกวิธีเพาะบนผ้าเปียกๆ หรือกระดาษทิชชู่    หาฝามาปิด เพื่อคงความชื้น



    ผักบางชนิด  งอกไวมาก 1-3 วันก็จะเห็นการงอกแล้ว  รากงอกแล้วก็เสียบลงบนฟองน้ำที่กากบาทเลย

    แล้วก็วางลงไปในบ่ออนุบาล  เมื่อมีใบจริง เราถึงย้ายผัก ลงในกาละมังที่ผสมน้ำปุ๋ย



                2.ตัดแผ่นโฟมหรือฟีวเจอร์บอร์ด / พลาสติกลูกฟูก ให้พอใส่ลงไปในกาละมังได้



                3.เมื่อต้นไม้มีใบจริง 2 ใบ เราย้ายผักลงในกาละมังที่ผสมน้ำปุ๋ยได้เลย แม่ปุ๋ยที่เราผสมเอาไว้มีความเข้มข้นสูง เราต้องเอามาเจือจาง อัตราส่วน 1:200

                4.สัปดาห์แรก ให้เค้ารับแสงวันละ 4-6 ชั่วโมง    เมื่อปรับตัวได้ ก็โดนแดด 5-8 ชั่วโมง



             ปัญหาที่เกิดขึ้น



                   รากที่สมบูรณ์ ควรจะเป็นสีขาวเหมือนขาวอมเหลืองนิดๆ ปัญหารากเน่า รากกลายเป็นสีดำ อาจจะเป็นเพราะน้ำในกระถางร้อนจัดช่วงกลางวัน  หรือฤดูฝน  ฝนตกหนัก พัดเอาสิ่งสกปรก เชื้อรามาในกระถาง ทำให้ใบเหลือง ร่วง น้ำเน่า ต้นออกอาการใกล้ตาย แนะนำให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า  เชื้อราไตรโคเดอร์ม่ารูปแบบน้ำ  ใช้แบบพืชที่ปลูกใช้ดินหรือแบบไฮโดรโปนิกส์ก็ได้ ใช้ปริมาณนิดเดียว ป้องกันและควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่นโคนเน่า รากเน่า โรคเหี่ยว กล้าเน่าใบไหม้ ลำต้นไหม้ โรคใบจุด



     

  • ขยัน  อดทน  เอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่           



     

  • -
  • -
  • -