กลับไปหน้าค้นหา

นายบุญมี อ้นพันธ์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 19 หมู 4 ตำบล : ท่าสะท้อน อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

     ความเป็นมา  เมื่อจบ ม.3 ประกอบกับตนเองมีความชอบในงานศิลปะ ได้หัดทำโดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่นงานเขียน เนื่องจากมีลายมือสวย จึงได้คัดเขียนเป็นตัวอักษรต่าง ๆ สำหรับงานปั้นปูนลายกนก ได้ไปเป็นลูกจ้างร้านรับจ้างทำเสาปูน เริ่มจากการดูช่างทำ และเรียนรู้ตลอดมา จากช่างที่มีความชำนาญ



 


ความสำเร็จ :

มีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน 


ความชำนาญ : ช่างเขียน ปูนปั้นลายกนก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •      ความเป็นมา  เมื่อจบ ม.3 ประกอบกับตนเองมีความชอบในงานศิลปะ ได้หัดทำโดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่นงานเขียน เนื่องจากมีลายมือสวย จึงได้คัดเขียนเป็นตัวอักษรต่าง ๆ สำหรับงานปั้นปูนลายกนก ได้ไปเป็นลูกจ้างร้านรับจ้างทำเสาปูน เริ่มจากการดูช่างทำ และเรียนรู้ตลอดมา จากช่างที่มีความชำนาญ



     

  • กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ 

    ลักษณะและคุณสมบัติของปูนตำ

                    ปูนตำมีลักษณะเป็นปูนที่ผสมวัตถุอื่น โดยมีปูนขาว เป็นหลัก ซึ่งได้จากหินปูน ที่ผ่านการเผาไฟ ผ่านการหมักน้ำ ผสมทราย เส้นใย กาว และผ่านการตำโขลกจนเป็นก้อน เมื่อปูนหมาด และเนื้อวัตถุเข้ากันดีแล้ว ให้ทดลองนำมาปั้น ถ้าสิ่งที่ปั้นหรือลวดลายทรงตัวอยู่ได้จึงจะใช้ได้ คุณสมบัติของปูนตำเป็นปูนที่มีความเหนียว เนื่องจากมีเส้นใยและกาวผสมอยู่ มีความแข็งเนื่องจากมีทรายผสมอยู่ด้วย และคุณสมบัติของปูนตำมีความอ่อนตัวสามารถนำมาปั้นให้เป็นลวดลายต่างๆ เป็นภาพต่างๆ ปูนตำมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถสร้างงานละเอียดเป็นลายขนาดเล็กๆ ก็ทำได้ นับเป็นคุณสมบัติที่ดีอย่างหนึ่งของปูนตำ ปูนตำนั้น เมื่อนำมาปั้นทิ้งไว้ถูกอากาศไม่กี่ชั่วโมงก็จะแข็งตัว จึงต้องเร่งรีบปั้นโดยเร็ว แต่ก็มิใช่หาปัญหาสำหรับช่างที่ตำปูนไว้มากๆ แล้วปั้นไม่ทัน เพราะสามารถจะถ่วงเวลาปูนให้นิ่มอยู่ได้ โดยผนึกลงภาชนะที่น้ำไม่เข้า และอับอากาศ แล้วนำไปแช่น้ำไว้ในตุ่ม หรือในบ่อหรือสระก็ได้ ปัจจุบันปูนตำที่ใช้ไม่ทันถ้าเหลืออยู่มากๆ ช่างก็จะนำใส่ถุงพลาสติกรัดแน่นแล้วนำไปแช่น้ำไว้ในตุ่ม สามารถจะนำมาปั้นในวันรุ่งขึ้นหรือวันต่อไปก็ยังใช้ได้

    วัสดุที่เป็นส่วนผสมสำคัญของปูนตำ ปูนตำนั้นมีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 4 อย่าง ได้แก่

    1.ปูนขาว

    2.ทราย

    3.เส้นใย

    4.กาวหรือตัวยึด

                    ปูนตำในภาคต่างๆ ไม่ว่าภาคใดจะมีส่วนผสมสำคัญ 4 อย่าง คือ ปูนขาว ทราย เส้นใย และกาว สำหรับปูนขาวต้องบริสุทธิ์ ทรายต้องเป็นทรายสะอาด สองสิ่งนี้เป็นหลักสำคัญที่ทุกภาคใช้เหมือนกัน แต่สองสิ่งหลัง กล่าวคือ เส้นใย และกาวนั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ เพราะหาได้ไม่เหมือนกัน และกลุ่มช่างโบราณเชื่อกันว่า การใช้เส้นใยและกาวที่แตกต่างกันเป็นส่วนผสม น่าจะเป็นตัวชี้วัดถึงอายุ และคุณภาพของปูนตำด้วย นอกจากสภาพดินฟ้าอากาศ ความชื้น ร้อนหนาว แรงสั่นสะเทือนที่มีอิทธิพลต่อปูนเหล่านั้นแล้ว

    การเลือกวัสดุใช้ทำปูนตำ

                    ดังที่ทราบมาแล้วว่าวัสดุที่เป็นส่วนผสมของปูนตำที่สำคัญมี 4 อย่างข้างต้น แต่ที่สำคัญ คือ ต้องรู้จักเลือกใช้วัสดุมาทำปูนตำด้วย มิฉะนั้นปูนตำดังกล่าวอาจมีคุณภาพต่ำ และปฏิบัติงานไม่สะดวก หรือมีปัญหาในการปฏิบัติงานก็ได้ จึงควรจะได้เลือกใช้วัสดุทำปูนตำที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น

    1.ปูนขาว ปูนขาวเป็นวัสดุหลักอย่างหนึ่ง มีหน้าที่ทำให้ก้อนปูนมีความแข็งแกร่งด้วยแรงยึดของแคลเซี่ยม ในการทำปูนตำจะต้องเลือกเอาปูนขาวบริสุทธิ์ที่ไม่ปนเปื้อน หรือคุณภาพต่ำมาใช้งาน มีความละเอียดผ่านตะแกรงตาถี่เป็นฝุ่นแป้ง ส่วนใหญ่จะเป็นถุงบรรจุจากโรงงานอยู่ในสภาพเรียบร้อยแล้ว

    2. ทรายทรายเป็นวัสดุที่มีหน้าที่ทำให้แน่นแข็งและทรงตัว ทรายที่จะนำมาใช้ควรเป็นทรายจากแม่น้ำลำธารที่เป็นน้ำจืด ทรายควรเป็นทรายละเอียดผ่านตะแกรงตาถี่ๆ มาแล้ว และจะต้องสะอาดไม่ปนเปื้อนดินโคลน หรือละอองฝุ่น หรือเศษวัสดุอื่นใด ทรายนั้นจะต้องไม่ใช่ทรายที่เกิดจากหินผุ

    3. เส้นใย เส้นใยเป็นวัสดุที่จำเป็นอย่างหนึ่งในการนำมาเป็นส่วนผสมของปูนตำ เส้นใยมีหน้าที่เหนี่ยวรั้งประสานภายในก้อนปูน เส้นใยจะช่วยยึดโยงกลุ่มปูนไว้ด้วยกัน แต่อายุไม่นานก็จะสลายไป จากนั้นปูนจะยึดกันเอง การเลือกเส้นใยใช้ในปูนตำจะมีความแตกต่างกันไปแต่ละท้องที่ ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติจึงอาจกล่าวได้ว่าเส้นใยเป็นส่วนผสมที่สำคัญอย่างหนึ่งของ ปูนตำ ภาคใดท้องที่ใดจะใช้เส้นใยอะไร ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นสำคัญ

    4. กาว กาวหรือตัวยึดเป็นวัสดุที่มีบทบาทสำคัญในปูนตำ เนื่องจากมีหน้าที่เป็นตัวยึดระหว่างอณูเล็กๆ ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แต่จะทำหน้าที่เป็นตัวยึดในระยะสั้นๆ พอนานไปก็จะสลายตัวปล่อยให้เป็นหน้าที่ของปูนยึดกันเองต่อไป การใช้กาวในปูนตำอาจจำแนกความนิยมในการใช้ได้ตามภาคต่างๆ โดยประมาณ ดังนี้

    ส่วนจะใช้วัสดุใดอย่างไรขึ้นอยู่กับการเลือกหาใช้ได้สะดวกเป็นหลักในท้อง ถิ่นนั้นๆ กาวผสมในปูนตำจากกาวหนังสัตว์หรือ หนังปลา น้ำอ้อย และยางไม้บางชนิด การที่จะใช้ตัวยึดใดขึ้นอยู่กับความสะดวกในการหาใช้ในท้องถิ่นนั้นๆ

  • มีความมุ่งมั่น ขยัน อดทน 

  • -
  • -
  • -