กลับไปหน้าค้นหา

นายพินัย กุศลชู

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 69/5 หมู 2 ตำบล : ท่าสะท้อน อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

ความเป็นมา  ด้วยประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเพียงอย่างเดียว ต่อมาเกิดแนวคิดในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงมาใช้

โดยการปลูกกล้วยหอมทอง



 


ความสำเร็จ :

              ขยัน อดทน และเรียนรู้ตลอดเวลา 


ความชำนาญ : การปลูกกล้วยหอมทอง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ความเป็นมา  ด้วยประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเพียงอย่างเดียว ต่อมาเกิดแนวคิดในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นจึงนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอ เพียงมาใช้

    โดยการปลูกกล้วยหอมทอง



     

  • กระบวนการ/วิธีการขั้นตอน/เทคนิค/ข้อพึงระวัง ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาอาชีพ     



    ลักษณะดินที่ปลูก : ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทอง ควรเป็นดินร่วน น้ำไม่ท่วมขัง มีอินทรียฺวัตถุสูง



    การเตรียมดินปลูก : ดินที่จะปลูกกล้วยหอมทอง จะต้องเตรียมดินให้ร่วนซุย โดยไถด้วยผานเจ็ด 2 ครั้ง หรือจะใช้รถไถเดินตามไถครั้งแรก แล้วตากหน้าดินไว้ 7-10 วันเพื่อกำจัดวัชพืช และศัตรูพืชที่ตกค้างอยู่ในดิน หากมีวัชพืชงอกขึ้นมาหลังจากนั้นให้ไถกลบอีกครั้ง เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช ให้ลดน้อยลง ดินตรงไหนที่เป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเท เพื่อป้องกันมิให้น้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน



    ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม : ปกติกล้วยหอมทองจะปลูกได้ตลอดปี ถ้ามีน้ำเพียงพอ กล้วยหอมทองมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 1 ปี แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะนิยมปลูกกันมาก ในช่วงต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน เพราะกล้วยหอมทองจะสุกแก่ในช่วงเดียวกันกับเดือนที่ปลูก การปลูกในช่วงนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องต้นกล้วยหัก(เพราะหนักเครือและลม แรง) ทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องหน่อที่จะใช้ในการปลูกอีกด้วย เพราะเป็นช่วงที่ตัดเครือกล้วยแล้ว การขุดหน่อใหม่จากต้นแม่ไปปลูกจึงไม่กระทบกระเทือนเหมือนกับการขุดหน่อใน ช่วงอื่น ถ้าจะปลูกกล้วยหอมทองในเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน จะมีผลต่อราคาที่อาจขายได้ไม่ค่อยดีนัก กล้วยหอมจะมีราคาต่ำ เนื่องจากในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีผลไม้ชนิดอื่นออกมาสู่ตลาดกันมาก นอกจากนี้ต้นกล้วยหอมยังหักล้มได้ง่ายเพราะมีลมแรง กล้วยจะหักพันคอก่อนเครือจะสุกแก่เต็มที่ ก่อนการปลูกกล้วยหอมทองจำต้องมีการวางแผนการผลิตดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อเลี่ยงหลีกปัญหาที่อาจทำให้เกิดภาวะขาดทุนได้



     







    การคัดเลือกหน่อพันธุ์กล้วยหอมทอง : การคัดเลือกหน่อพันธุ์ปลูก เป็นสิ่งสำคัญต่อผลผลิตที่จะได้รับในอนาคต หน่อพันธุ์ที่อ่อนหรือแก่จนเกินไปจะทำให้กล้วยตกเครือไม่พร้อมกัน กลักการเลือกหน่อพันธุ์ปลูก ควรพิจารณาดังนี้

    1 หน่อใบแคบหรือหน่อดาบ เป็นหน่ออ่อนที่มีใบอยู่ประมาณ 3-4 ใบ จะเรียวเล็ก หน่อลักษณะเช่นนี้มักจะเกิดอยู่กับโคนต้นเดิมและมีขนาดอวบสมบูรณ์ เหมาะสำหรับที่จะเลือกไปเป็นหน่อพันธุ์ปลูกอย่างยิ่ง

    2.หน่อใบกว้างหรือหน่อตาม เป็นหน่อที่เกิดมาจากต้นกล้วยต้นแม่ที่กำลังจะตกเครือ ส่วนใหญ่เกษตรกรจะไม่ขุดไปปลูกกัน แต่จะใช้วิธีการปาดหน่อตามออกโดยการปาดเฉียงขึ้นสัก 3-4 ครั้ง ห้างกันครั้งละ 10 วัน เพื่อให้โคนต้นกล้วยที่ปาดอวบสมบูรณ์ขึ้น มีรากมากขึ้น เมื่อมีการแต่งหน่อดีแล้ว หน่อใบกว้างก็จะมีความสมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตดีเช่นเดียวกันกับหน่อใบแคบ



    การเตรียมหน่อปลูก : ขุดหน่อกล้วยโดยใช้ชะแลงตัดหน่อให้แยกออกจากกอเดิมก่อน แล้วใช้จอบขุดให้รอบเพื่อให้รากขาด จากนั้นให้ใช้ชะแลงงัดหน่อกล้วยขึ้นมา วิธีนี้จะทำให้หน่อกล้วยที่ได้ไม่ช้ำและหลุดออกง่าย เมื่อขุดหน่อได้แล้วให้ใช้มีดคมๆ ปาดรากกล้วยที่ยาวออกให้เหลือรากติดเหง้ากล้วยประมาณ 1 นิ้วเป็นพอ



    การปลูกกล้วยหอมทอง : การปลูกกล้วยหอมทองจะใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ซึ่งเป็นระยะปลูกที่เหมาะสม หรือจะใช้ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตรก็ได้เช่นกัน การเลือกใช้ระยะปลูกกล้วยหอมทองนั้นขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินใน พื้นที่ แต่ถ้าใช้ระยะปลูกที่ถี่ไปกว่านี้จะทำให้ต้นกล้วยมีอาการสูงชะลูโ เครือกล้วยเล็ก เมื่อโตเต็มที่ เพราะความหนาแน่นของต้นกล้วยที่มีมากกเกินไปทำให้กล้วยที่ปลูกได้รับแสงแดด ไม่เพียงพอ

    ใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 177 ต้นในพื้นที่ 1 ไร่

    ใช้ระยะปลูก 3.5 x 3.5 เมตร จะปลูกกล้วยได้ 133 ต้นในพื้นที่ 1 ไร



    วิธีการปลูกกล้วยหอมทอง :

    หลังจากวัดระยะปลูกและปักหลักเรียบร้อยแล้ว ขุดหลุมลึกประมาณ 40 ซม. หรือ 1 ศอก กว้างประมาณ 1 ศอก นำหน่อกล้วยที่ตัดรากออกลงหลุม แล้วกลบดิน เหยียบดินให้แน่น เมื่อกลบดินได้ครึ่งหลุม เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยโยกคลอน หลังจากนั้นกลบดินให้เต็มหลุมแต่ไม่ต้องกดดิน

    การตัดใบกล้วยหลังจากปลูก :

    ถ้าเป็นหน่อใบแคบหลังจากปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องตัดใบทิ้ง แต่ถ้าเป็นหน่อในกว่างหรือหน่อที่เคยปาดเฉียงมาก่อน ควรจะมีการปาดเฉียงลำต้นใหม่เพื่อที่กล้วยจะได้แตกใบใหม่ที่แข็งแรงขึ้น



     



     



     





    การกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วย :

    ถ้ามีการดายหญ้าและพรวนดินในแปลงกล้วยตลอดเวลา จะทำให้ได้กล้วยเครือใหญ่ และจำนวนหวีมากขึ้น สำหรับวิธีการกำจัดวัชพืชในแปลงกล้วยมี 3 วิธี ด้วยกันคือ

    การใช้แรงงานคน 1ปกติถ้าปลูกกล้วยเป็นจำนวนไม่มาก การใช้แรงงานคนเข้าดายหญ้าในแปลงปลูกเป็นวิธีที่ดีที่สุด

    2. ใช้รถไถเล็กหรือรถไถเดินตาม เกษตรกร บางรายที่มีพ้นที่ปลูกมาก การใช้รถไถเดินตามไถดะระหว่างร่องกล้วยไปกลับร่องละ 2 ครั้ง ระวังอย่าไถชิดโคนต้นกล้วยมากเกินไป แล้วดายพรวนรอบโคนต้นกล้วยอัดดินบริเวณโคนต้นกล้วยให้แน่น จะทำให้โคนต้นกล้วยไม่หักล้มได้ง่าย

    3. การใช้สารเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่ใช้ควรเป็นสารเคมีประเภทสัมผัส ผสมน้ำตามอัตราที่กำหนด ฉีดพ่นอย่าให้ถูกใบกล้วย สารเคมีจำพวกนี้จะไม่มีผลกระทบต่อสภาพของดินและต้นกล้วย แต่จะมีผลทำให้ผลผลิตที่ได้สู้การกำจัดวัชพืชโดยการดายหญ้าไม่ได้

    *** เนื่องจากวิธีการดายหญ้าจะเหมือนเป็นการพรวนดินกระตุ้นให้รากพืชหากินได้ เก่งขึ้น จึงทำให้ผลผลิตที่ได้มีมากกว่าวิธีการกำจัดวัชพืชโดยการใช้สารเคมี

    การให้ปุ๋ยกล้วยหอมทอง :

    ควรให้ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง ปริมาณจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน สำหรับปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมสำหรับกล้วยหอมทองคือ 21-0-0 จำนวน ใช้ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ หรือจะใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 50 กก.ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง

    วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยหอมทอง : ใส่ปุ๋ยคอกต้นละ 2 บุ้งกี๋เมื่อกล้วยแตกใบได้ประมาณ 5 ใบ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้ง ควรจะใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 สักครั้งหนึ่งแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อบำรุงต้น หลังจากนั้น 2 เดือน ใส่ปุ๋ยยูเรีย อีกครั้ง 1

    หลังดายหญ้าพรวนดินเสร็จควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 แล้วจึงตัดหน่อแต่งใบ เพื่อไม่ให้สะดวกเวลาเข้าไปจัดการสวนกล้วย เมื่อกล้วยเริ่มมีขนาดใหญ่หรืออายุประมาณ 7 เดือน ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อีกครั้งหนึ่ง ในการใส่ปุ๋ยควรใส่รอบโคนต้น โดยเว้นระยะห่างจากโคนต้นกล้วยประมาณ 1-2 คืบ

    การให้น้ำกล้วยหอมทอง : ในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ จะใช้วิธีการสูบน้ำจากบ่อบาดาลหรือบ่อกักเก็บน้ำที่อยู่ใกล้ๆ สวน สูบน้ำขึ้นมารดต้นกล้วย สำหรับเครื่องสูบน้ำที่ใช้ควรจะมีขนาด 5-8 แรงม้า แล้วใช้สายยางขนาด 2 นิ้ว ต่อรดน้ำแปลงกล้วย การให้น้ำกล้วยทุกชนิดจะให้แค่พอชุ่ม ในช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ และขณะที่กล้วยหอมตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้น้ำเป็นประจำทุกวันเหมือนพืชอื่น

     



     



     



     



     



     





    การตัดแต่งหน่อและใบกล้วยหอมทอง :

    1. การแต่งหน่อกล้วย หากปลูกกล้วยต้นเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน ประมาณเดือนมิถุนายนกล้วยจะแตกหน่อตามขึ้นมาประมาณ 4-7 หน่อต่อกอ เมื่อหน่อตามมีใบคลี่แล้ว ควรทำการปาดยอดทิ้ง โดยปาดในแนวเฉียงขึ้น กะความยาวของหน่อที่จะเหลือไว้หลังจากปาดให้สูงจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 20 นิ้ว จากนั้นทำการปาดหน่อให้เฉียงกลับด้าน(ทิศตรงข้ามกับการปาดครั้งแรก) ทุกๆ 15 วัน จะทำให้โคนหน่อกล้วยขยายใหญ่ขึ้นเหมาะที่จะนำไปปลูกต่อไป (ความถี่ในการปาดนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการเลี้ยงหน่อกล้วยของเกษตรกรว่า ต้องการให้จะเลี้ยงให้หน่อมีขนาดอวบอูมขนาดไหน)

    2. การตัดแต่งใบกล้วย ขณะที่มีการแต่งหน่อ ควรทำการตัดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วย และควรตัดแต่งใบกล้วยไปจนกว้ากล้วยจะตกเครือ การตัดให้เหลือใบกล้วยไว้กับต้น 10-20 ใบต่อต้น ตัดด้วยมีดขอให้ชิดต้นกล้วย อย่าให้เหลือก้านกล้วยยื่นยาวออกมาเพราะส่วนที่เหลือยื่นยาวไว้นั้นจะเหี่ยว แล้วรัดลำต้นทำให้ลำต้นส่วนกลางขยายได้ไม่มากเท่าที่ควร

    การปล่อยให้มีใบกล้วยติดลำต้นมากเกินไปจะทำให้ใบแผ่ปกคุมดิน คลุมโคนต้น ทำให้แดดส่องไม่ทั่วถึงพื้นดิน เมื่อแดดส่องไม่ถึงพื้นจะมีปัญหาเรื่องความชื้นในดินที่มีมากเกินไป การปฏิบัติงานในสวนก็จะไม่สะดวก สำหรับใบกล้วยที่ตัดออกจากต้นแล้วนั้นจะนำไปขายสร้างรายได้หรือจะกองรวมไว้ กลางร่องสวน เพื่อทำเป็นปุ๋ยหมัก ใช้บำรุงต้นกล้วยก็ได้

    การค้ำลำต้นกล้วย : กล้วยหอมทองมักประสบปัญหาเรื่องการหักล้มง่ายเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากลำต้นที่สูงใหญ่ เครือใหญ่ หนัก และ คออ่อน เมื่อขาดน้ำหรือลมพัดก็จะหักโค่นเสียหายได้ง่ายมาก สำหรับวิธีการลดการหักล้มของต้นกล้วยนั้นมีด้วยกันหลายวิธีดังนี้

    1. การใช้ไม่ไผ่ค้ำที่ก้านเครือ ใช้ไม่ไผ่จำนวน 2 ลำ มัดติดกันตรงส่วนปลายแล้วให้ก้านเครือกล้วยพาดอยู่บนง่ามระหว่างไม่ไผ่ทั้ง สอง หรือจะใช้ไมไผ่ลำเดียวตัดปลายให้เป็นง่าม ค้ำที่ก้านเครือเช่นเดียวกัน แต่ถ้ามีลมพัดแรง การใช้ไม้ไผ่ลำเดียวค้ำแบบนี้จะเอาไม่อยู่ สุดท้ายกล้วยก็ยังหักล้มได้เสมอ

    2. การใช้ไม่ไผ่มัดติดกับลำต้น เกษตรกร บางรายจะใช้ไม้รวก เพราะหาได้ง่ายกว่า การค้ำต้นกล้วยด้วยวิธีนี้ จะมัดลำไม่ไผ่ติดไว้กับต้นกล้วย แล้วมัดด้วยเชือกกล้วยหรือก้านใบกล้วย 3 เปราะ โดยหาหลักสั้นๆ ที่แหลมตอกนำแล้วถอนออก จากนั้นปักไม้ไผ่ลงหลุมในด้านตรงกันข้ามกับการเอนของต้นกล้วย วิธีนี้จะทำก่อนกล้วยจะตกเครือก็ได้ แต่ต้องให้ไม้รวกยาวกว่าต้นกล้วย

    3. การใช้เชือกโยงมัดต้นกล้วย วิธีนี้จะใช้เชือกมัดตรงคองงวงของต้นกล้วยที่เอนแล้วโยงไปยึดต่อกับโคนต้นกล้วยอีกต้นหนึ่ง

    ระยะเวลาในการให้ผลผลิตของกล้วยหอมทอง :

    ประมาณ 10 เดือนหลังจากปลูก กล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา การที่กล้วยจะออกปลีช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่อกล้วยว่ามีความ แข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ รวมทั้งการดูแลรักษาเมื่อกล้วยแทงปลีจนสุด(กล้วยหวีตีนเต่าโผล่ – กล้วยตีนเต่าหมายถึงกล้วยหวีสุดท้ายที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ ) ให้ตัดปลีทิ้ง หรือจะตัดปลีหลังจากปลีโผล่มาประมาณ 10-12 วัน ถ้าไม่มีการตัดปลีกล้วยทิ้งผลกล้วยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่



     



     







    หลังจากตัดปลีประมาณ 90-110 วัน กล้วยจะแก่พอดี สามารถสังเกตได้จากกล้วย หวีสุดท้ายจะเริ่มกลม สีที่ผลจางลงกว่าเดิม(สีเขียวอ่อน) ถ้าปล่อยให้กล้วยแก่คาต้นมากเกินไปจะสบกับปํญหากเรื่องเปลือกกล้วยที่แตก ทำให้ผลผลิตเสียหาย  ในปีที่2และ3 จะเรียกกล้วยที่มีอายุเหล่านี้ว่ากล้วยตอ เมื่อถึงเวลาที่ตัดเครือกล้วยออกแล้ว เกษตรกรจะตัดต้นแม่ออก เพื่อลดความหนาแน่นและการแข่งขันในการหาอาหาร แต่การตัดต้นกล้วยนั้นควรจะตัดให้เหลือตอสูงประมาณ 1.5-2 เมตร เพื่อให้หน่อที่แตกใหม่มีอาหารที่สมบูรณ์และน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในตอกล้วยจะ ช่วยเลี้ยงหน่อที่เหลือให้เจริญต่อไปได้ การเลี้ยงตอนั้นจะเลี้ยงไว้จนตอแห้งแล้วจึงตัดออก

    การตัดหน่อกล้วยไว้สำหรับปีต่อไป :

    หน่อกล้วยที่สมควรจะคัดไว้เป็นหน่อที่ให้ผลผลิตในปีต่อไป ควรจะคัดหน่อกล้วยที่มีลักษณะ ดังนี้

    1. ควรเป็นหน่อใต้ดิน ลำต้นอวบ อยู่ห่างจากโคนต้นแม่ประมาณ 10 นิ้ว ควรเหลือไว้ประมาณ 2 - 5 หน่อ ที่อยู่ตรงกันข้าม

    2. ถ้าใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ควรคัดหน่อกล้วยอีกครั้งหนึ่งจาก 2 หน่อ ให้เหลือเพียงหน่อเดียวหรือเหลือไว้ไม่เกิน 2 หน่อ ซึ่งจะทำให้แปลงกล้วยทึบ ลำต้นจะสูงชะลูดและหักล้มได้ง่าย

    ปัญหาและอุปสรรคในการเพาะปลูกกล้วยหอมทอง :

    1.กล้วยหอมทองมีลำต้นสูง เครือใหญ่ จึงมีปัญหาในการหักล้มก่อนกล้วยจะแก่ได้ง่าย

    2. ต้องสิ้นเปลืองค่าไม้ค้ำ

    3. ถ้าปลูกมากเกินไปในท้องถิ่นหนึ่งกล้วยจะล้นตลาด

  •               ขยัน อดทน และเรียนรู้ตลอดเวลา 

  • -
  • -
  • -