กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวจันทิมา อิศรางกูร ณ อยุธยา

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 11 หมู 1 ตำบล : ท่าสะท้อน อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

ความเป็นมา  เรียนรู้วิธีการจักสานกระจูดโดยการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เริ่มจากการทำของใช้ในครัวเรือน จนดัดแปลงรูปแบบให้มีความหลากหลายมากขึ้น





 


ความสำเร็จ :

ความตั้งใจ และขยัน


ความชำนาญ : จักสานกระจูด


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ความเป็นมา  เรียนรู้วิธีการจักสานกระจูดโดยการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เริ่มจากการทำของใช้ในครัวเรือน จนดัดแปลงรูปแบบให้มีความหลากหลายมากขึ้น





     

  •      

























             เริ่มตั้งแต่คัดเลือกหรือแยกกระจูดตามความยาว จนถึงทำ กระจูดให้แบนพร้อมที่จะจะนำมาสานได้ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีขันตอนต่างกันไม่มากนัก เช่น การเตรียมกระจูดของชาวทะเลน้อยมีขั้นตอนดังนี้



            นำกระจูดมาเข้าที่สำหรับคัดเลือกหรือแยกความสั้นยาวโดยนำกระจูดมา จับทีละกำป่า หรืออาจจุมากน้อยกว่าเล็กน้อยมาวางในแนวตั้ง แล้วดึงต้นกระจูดที่ยาวออกไปรวมไว้อีกแห่งหนึ่ง เรียกการคัดเลือกกระจูดโดยวิธีนี้ว่า "โซะกระจูด " ใช้มีดตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก นำกระจูดที่ได้คัดเลือกแล้วคลุกน้ำโคลนดินสอในรางน้ำที่เตรียมไว้เมื่อได้ ที่แล้วนำมาตากแห้งประมาณ 2 - 3 วัน แล้วเก็บเข้าที่เก็บไว้ 4 - 5 วัน เพื่อให้ต้นกระจูดคลายตัว เมื่อจะใช้ก็เอากระจูดไปตากน้ำค้าง 1 คืน เพื่อให้ต้นกระจูดลื่นสะดวกในการทิ่ม จากนั้นนำไปทิ่มหรือทุบทีละมัด โดยนำไปไปวางบนแท่งไม้สี่เหลี่ยม ทิ่มหรือทุบให้แบนด้วยสากตำข้าวหัวตัด การทิ่มจะทิ่มคนเดียวหรือสองคนก็ได้แล้วแต่สะดวกโดยใช้เท้าทั้งสองเหยียบมัด กระจูดไว้เดินหน้า ถอยหลัง ทิ่มจนกระจูดแบนตามต้องการจากนั้นก็แก้มัดออกปอกกาบโคนของลำต้นทิ้งแล้วเก็บ เข้าที่ไว้สานต่อไป



            ในกรณีที่ต้องการย้อมสี นำกระจูดที่ทิ่มและตากน้ำค้าง 1 คืน แล้วมาทับด้วนลูกกลิ้งน้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม จนแบนตามต้องการแล้วนำไปแช่น้ำไว้ ต้มน้ำให้เดือดเอาสีใส่น้ำคนให้สีละลายดี แล้วนำกระจูดที่จะย้อมมาพับจุ่มลงไปในน้ำสีแช่ไว้ประมาณ 2 - 3 นาที จึงนำขึ้นไปผึ่งแดดประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง แล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่ม ข้อควรระวังในการย้อม คือ ระยะเวลาของการย้อมต้องกำหนดให้เท่าเท่ากันทุกครั้ง มิฉะนั้นจะได้กระจูดที่มีสีไม่เสมอกัน การย้อมสีกระจูดจะทำให้ลายจักรสานเด่นขึ้นกว่าปกติ


     

             งานสานเสื่อกระจูดเป็นงานที่เกือบจะพูดได้ว่า ทำเสร็จเรียบร้อยแล้วในคราวเดียว มีการตกแต่งต่อเติมน้อย คือ มีการเก็บริมหรือพับริม อย่างที่ชาวทะเลน้อยเรียกว่า "เม้ม " และการตัดหนวด คือปลายตอกที่เหลือออกเท่านั้น การเก็บริม หรือการพับริมพบว่า มี 2 แบบ คือ แบบพับกลับ คือ การพับปลายตอกเข้าหาผืนเสื่อสานตามลายสานเดิมประมาณ 3 - 4 นิ้ว แล้วตัดส่วนที่เหลือออก แบบช่อริม คือ การพับปลายตอกที่เหลือให้คุมกันเองคล้ายกับการถักแล้วตัดส่วนทีเหลือ ออก



             เสื่อที่สานเสร็จเรียบร้อยแล้วจะถูกเก็บไว้ในที่ร่มไม่ให้ถูกน้ำเพราะถ้าถูก น้ำฝนจะทำให้เกิดเชื้อราและเสียหายเร็ว วิธีเก็บมี 2 แบบ คือ ม้วนเก็บและซ้อนเก็บ


  • ความตั้งใจ และขยัน

  • -
  • -
  • -