กลับไปหน้าค้นหา

นางรำพึง เอี่ยมสะอาด

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 45 หมู 1 ตำบล : หนองพลับ อำเภอ : เมืองเพชรบุรี จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

นางรำพึง   เอี่ยมสะอาด เป็นเกษตรกรซึ่งมีความรู้ด้านการทำขนมหวาน ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต นับว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำการเกษตร ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือการทำนา ซึ่งได้ทำการเกษตรอินทรีย์


ความสำเร็จ :

ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 


ความชำนาญ : การทำขนมหม้อแกง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นางรำพึง   เอี่ยมสะอาด เป็นเกษตรกรซึ่งมีความรู้ด้านการทำขนมหวาน ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต นับว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำการเกษตร ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือการทำนา ซึ่งได้ทำการเกษตรอินทรีย์

  • ขนมหม้อแกงเมืองเพชรบุรีมีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครั้งที่ทรงเสด็จประทับ ณ พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี และได้นำขนมหม้อแกงอาหารชาววังมาเผยแพร่ให้คนไทยเรียนรู้และได้นำมาสืบสานปรับปรุงพัฒนาจนขนมหม้อแกงกลมกลืนกลายเป็นวิถีชีวิตและเป็นเอกลักษณ์ของชาวเพชรบุรีไปในที่สุด ดังนั้น งานพิธีมงคลไม่ว่า งานมงคลสมรส งานบวชนาค งานพิธีขึ้นบ้านใหม่ ขนมหม้อแกงจะเป็นหนึ่งในอาหารคาวหวานมาโดยตลอด ขนมหม้อแกงเมืองเพชรถือว่า หวานหอม กลมกล่อมและอร่อยที่สุดในโลก หมู่บ้านบ้านสมอดาน เป็นหมู่บ้านที่ได้ทำขนมหวานมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย และได้มีการสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษให้คงอยู่ตลอดไป รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของลูกหลานและผู้สนใจ



    การทำขนมหม้อแกง  มีวิธีการดังนี้



    กระบวนการผลิต




    1. วัตถุดิบ



    ขนมหม้อแกงเพชรบุรีมีความอร่อยเป็นที่ติดใจของนักท่องเที่ยวและคนทั่วไปนั้นสิ่งที่ทำให้ขนมหม้อแกงมีความอร่อยมาจากที่คนเพชรบุรีมีความพิถีพิถันในการเลือกวัตถุดิบในการปรุงให้รสชาติขนมหม้อแกงมีความอร่อย ซึ่งจะต้องกำหนดลงไปเลยว่าของแต่ละอย่างจะต้องได้มาจากแหล่งผลิตวัตถุดิบที่ดีที่สุด โดยมีวัตถุดิบ ดังนี้



    1. น้ำตาล ต้องเป็นน้ำตาลโตนดเท่านั้น ซึ่งเป็น น้ำตาลที่มีรสหวานแหลมไม่เปรี้ยวและมีกลิ่นหอมที่เก็บในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม



    2. มะพร้าว เป็นวัตถุดิบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะนำมาคั้นเป็นกะทิผสมลงในขนมหม้อแกง\"คำอธิบาย:\"คำอธิบาย:



    3. เผือก ที่เหมาะสมสำหรับทำขนมหม้อแกงต้องเป็นเผือกที่นี่มีความร่วนซุยและมีกลิ่นหอมน่ากิน



    4. เมล็ดบัวเมล็ดบัวที่ใช้ทำขนมหม้อแกงจะใช้เมล็ดบัวจากจังหวัดสระบุรี เพราะมีความมันและไม่เละ



     



     



     



     



    5. ไข่ นิยมใช้ไข่เป็ด เพราะมีเนื้อไข่ที่ไม่เหลวและจะใช้ทั้งไข่ขาวและไข่แดง มิใช่เอาแต่เฉพาะไข่ขาวเหมือนแต่ก่อนเคล็ดลับอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ขนมหม้อแกงมีรสอร่อยเป็นพิเศษอยู่ที่ไข่เป็ดที่จะนำมาใช้จะต้องเป็นไข่ที่เก็บมาใหม่ไม่เกิน 3 วัน ทั้งนี้ไข่ที่เก่ากว่านั้น เนื้อไข่จะเหลว ใส ทำให้ขนมเละ ไม่น่ากิน และควรเป็นไข่เป็ดจากจังหวัดชายทะเลเพราะมีไข่แดงที่สีสดกว่า



    2. ขั้นตอนการทำขนมหม้อแกง



     1.  เตรียมไข่สดๆ (ไม่เกิน 3 วัน) จำนวนตามต้องการ ล้างให้สะอาดประมาณ 60 ฟอง ต่อ 1 เตา (จำนวน 35 - 40 ถาด)



        2. มะพร้าว (ล้างให้สะอาด) คั้นเอาแต่หัวกะทิจำนวน 5 กิโลกรัม



        3. น้ำตาลโตนด จำนวน 3 – 4 กิโลกรัม(แล้วแต่ชอบความหวานหรือไม่หวาน)



        4. นำเผือกหรือเมล็ดบัวที่สุกแล้วมาบดละเอียดเป็นส่วนผสม



    5. การนำสิ่งของที่เตรียมไว้ทั้งหมดมาผสมกันโดยบดให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันจนข้นเหนียวพอสมควรแล้วนำไปกรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อกรองฝุ่นละอองออกไปนำเอาส่วนผสมเทใส่ถาด (ถาดขนมหม้อแกง)แล้วนำเข้าเตาผิงขนมหม้อแกงโดยติดไฟล่างก่อนแล้วค่อยติดไฟบนของเตาขนมหม้อแกงความร้อนที่ใช้ในการผิงขนมเป็นความร้อนระดับปานกลาง ไม่อ่อนหรือแรงเกินไป ไฟที่มีความร้อนจัดจะทำให้ขนมไหม้ก่อนสุกแต่ไฟที่มีความร้อนน้อยก็จะทำให้ขนมด้าน ไม่น่ากิน สำหรับการทำขนมหม้อแกงในระบบอุตสาหกรรมในปัจจุบันหันมาใช้เตาผิงหรือเตาอบไฟฟ้าหรือแก๊สแทน เพราะให้ความร้อนสม่ำเสมอ ทั่วถึงและสามารถผิงหรืออบขนมได้ครั้งละหลายๆ ถาด เตาชนิดนี้ หลังจากจุดไฟและปิดฝาเตาแล้ว จะทิ้งไว้ประมาณ 45 ถึง 60 นาที ขนมจึงจะสุกและนำออกจากเตาได้ขนมหม้อแกงที่สุกแล้วจะมีกลิ่นหอม มีหน้าเรียบ เป็นสีน้ำตาลเข้ม หากเป็นขนมที่ทำขาย มักจะแต่งหน้าด้วยเมล็ดบัว 1 ซีก เพื่อให้ดูสวยงาม และน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น



    เอกลักษณ์/จุดเด่น




    1. กระบวนการผลิตส่วนใหญ่ใช้แรงงานมากกว่าเครื่องมือ ทุ่นแรง จึงทำให้ขนมหวานที่ผลิตออกมามีรสชาติ หวานมัน อร่อย ตามลักษณะของขนมแต่ละชนิด

    2. วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบที่หาได้ภายในท้องถิ่น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ จำหน่ายได้ในราคาไม่แพง

    3. การผลิตเน้นคุณภาพเป็นหลัก

  • ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 

  • -
  • -
  • -