กลับไปหน้าค้นหา

นางอุไร ฉ่องสวนอ้อย

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 70/2 หมู 4 ตำบล : ห้วยโรง อำเภอ : เขาย้อย จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

อาชีพทำเกษตรเป็นอาชีพที่พ่อ แม่ ยึดมาตั้งแต่โบราณ หลังจากจบการศึกษา ป.4 นางอุไร ฉ่องสวนอ้อยจึงได้ช่วยเหลือพ่อแม่ในการทำการเกษตรมาโดยตลอด จนได้แยกครอบครัวจึงยังดำเนินตามวิถีชีวิตที่พ่อแม่ถ่ายทอดมาด้วยการเป็นเกษตรกร เริ่มต้นจากการทำนาเพียงอย่างเดียว และระยะหลังราคาข้าวเริ่มตกต่ำ และได้ผลผลิตจากการทำนาน้อยลงเป็นบางช่วง จึงได้ศึกษาวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดหูหนู ได้ทดลองเพาะครั้งแรกจำนวน 50 ก้อน พบว่าได้ผลผลิตดี จึงขยายโรงเรือนเพาะมากขึ้น ปัจจุบันมีเห็ดนางฟ้า และเห็ดหูหนูอย่างละ 1,000 ก้อน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี


ความสำเร็จ :

มีการศึกษาหาความรู้ ดูงาน การลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่างๆ ในการดูแลบำรุงรักษาก้อนเชื้อเห็ดให้ได้ผลผลิตที่ดี


ความชำนาญ : การเพาะเห็ด


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • อาชีพทำเกษตรเป็นอาชีพที่พ่อ แม่ ยึดมาตั้งแต่โบราณ หลังจากจบการศึกษา ป.4 นางอุไร ฉ่องสวนอ้อยจึงได้ช่วยเหลือพ่อแม่ในการทำการเกษตรมาโดยตลอด จนได้แยกครอบครัวจึงยังดำเนินตามวิถีชีวิตที่พ่อแม่ถ่ายทอดมาด้วยการเป็นเกษตรกร เริ่มต้นจากการทำนาเพียงอย่างเดียว และระยะหลังราคาข้าวเริ่มตกต่ำ และได้ผลผลิตจากการทำนาน้อยลงเป็นบางช่วง จึงได้ศึกษาวิธีการเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดหูหนู ได้ทดลองเพาะครั้งแรกจำนวน 50 ก้อน พบว่าได้ผลผลิตดี จึงขยายโรงเรือนเพาะมากขึ้น ปัจจุบันมีเห็ดนางฟ้า และเห็ดหูหนูอย่างละ 1,000 ก้อน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี

  • 1. โรงเรือนสำหรับเห็ดนางฟ้าจะใช้โรงเรือนที่วางเป็นรูปตัวเอ และควรมีอากาศถ่ายเทดีพอสมควร มีแสงตามความต้องการของเห็ด จะสังเกตได้คือ เมื่อเดินทางเข้าในโรงเห็ดแล้วควรจะหายใจสะดวก ไม่อับชื้นหรือร้อนเกินไปโครงสร้างของโรงเรือนทำ ได้ 2 แบบ แบบแรกเป็น โรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสาทำ ด้วยไม้ไผ่ หรือเสาเข็ม หลังคามุงด้วยจากหรือหญ้าคา อายุการใช้งานประมาณ 3 – 4 ปีโรงเรือนถาวร เป็นโรงเรือนสังกะสีหรือกระเบื้องลอน แต่อาจมีปัญหาเรื่องความร้อน จึงควรทำ หลังคาให้สูงขึ้น และควรมีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงมาก อายุการใช้งานประมาณ 10 ปีขึ้นไป



    2.โรงเรือนนี้ภายในทำเป็นแผงสำหรับวางก้อนเชื้อ ไม่จำเป็นต้องกำหนดเป็นรูปแบบตายตัว สามารถวางเห็ดได้มาก นิยมใช้ไม้ไผ่ประกอบกันเป็นรูปตัวเอ (A) หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง แล้ววางก้อนเชื้อซ้อนทับกันไป หันปากถุงออกทางด้านข้างชั้นทั้งสองด้าน ทำช่องระบายอากาศขนาด 40 x 60 เซนติเมตร จำนวน 1– 2 ช่อง สำหรับระบายอากาศด้วยการวางถุงก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าจะวางในแนวนอน เช่น การวางในแนวนอนโดยวางซ้อนกันบนแผงรูปตัวเอ ประมาณ 3 – 5 ก้อน หรือวางซ้อนกันบนพื้นโรงเรือน ดอกเห็ดจะโผล่ออกมาทางปากถุง

  • มีการศึกษาหาความรู้ ดูงาน การลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่างๆ ในการดูแลบำรุงรักษาก้อนเชื้อเห็ดให้ได้ผลผลิตที่ดี

  • ไม่ควรฉีดน้ำเข้าไปหน้าก้อนเชื้อเห็ด เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา และเห็ดไม่ออกดอก



     

  • -
  • -