กลับไปหน้าค้นหา

นายประสิทธิ์ วงษาสูง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 24/1 หมู 6 ตำบล : ห้วยท่าช้าง อำเภอ : เขาย้อย จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

เป็นเพราะปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ยึดอาชีพทำนามาตั้งแต่โบราณ นายประสิทธิ์ วงษาสูง จึงดำเนินตามรอยของบรรพบุรุษด้วยการเป็นเกษตรกร เริ่มต้นจากการทำนาเพียงอย่างเดียว และระยะหลังนายประสิทธิ์ ได้สังเกตว่า นอกฤดูกาลทำนาตนไม่มีรายได้จากด้านอื่น จึงได้ศึกษาวิธีการปลูกพืชนอกฤดูกาลทำนาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ลองผิดลองถูกจนสามารถทำการเกษตรที่สร้างรายได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันนี้นายประสิทธิ์ วงษาสูง ได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในการทำนาตามฤดูกาลและอีกส่วนสำหรับปลูกพืชอื่นๆ เช่น มะนาว พริก ใบกะเพรา มะละกอ ฯลฯ โดยได้ขุดสระเล็กๆ ไว้กักเก็บน้ำรดพืชผักในหน้าแล้ง


ความสำเร็จ :

มีการศึกษาหาความรู้ ดูงาน การลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่างๆ ในการดูแลบำรุงรักษาพืชที่ปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดี



 


ความชำนาญ : การทำเกษตรผสมผสาน ไร่นาสวนผสม


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เป็นเพราะปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ยึดอาชีพทำนามาตั้งแต่โบราณ นายประสิทธิ์ วงษาสูง จึงดำเนินตามรอยของบรรพบุรุษด้วยการเป็นเกษตรกร เริ่มต้นจากการทำนาเพียงอย่างเดียว และระยะหลังนายประสิทธิ์ ได้สังเกตว่า นอกฤดูกาลทำนาตนไม่มีรายได้จากด้านอื่น จึงได้ศึกษาวิธีการปลูกพืชนอกฤดูกาลทำนาและเรียนรู้ด้วยตนเอง ลองผิดลองถูกจนสามารถทำการเกษตรที่สร้างรายได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบันนี้นายประสิทธิ์ วงษาสูง ได้แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในการทำนาตามฤดูกาลและอีกส่วนสำหรับปลูกพืชอื่นๆ เช่น มะนาว พริก ใบกะเพรา มะละกอ ฯลฯ โดยได้ขุดสระเล็กๆ ไว้กักเก็บน้ำรดพืชผักในหน้าแล้ง

  • 1. ศึกษาหาความรู้เรื่องการทำเกษตรผสมผสาน



    2. แบ่งที่ดินเป็น 3 ส่วน เพื่อใช้ทำนา (อาชีพหลัก) ทำเกษตรผสมผสาน และขุดสระน้ำ เนื่องจากช่วงแรกการทำเกษตรผสมผสานจะยังให้รายได้น้อยและไม่มั่นคง จึงต้องแบ่งพื้นที่สำหรับการปลูกพืชหลักไว้ด้วย



    3. สังเกตสภาพพื้นที่ว่าสามารถปลูกพืชอะไรได้บ้าง หากเป็นที่ราบ สามารถปลูกไม้ยืนต้นและพืชผักอื่นๆ ได้ แต่หากเป็นที่ลุ่มแนะนำให้ขุดบ่อเลี้ยงปลา ทำนาผักบุ้ง หรือนาผักกระเฉด ทั้งนี้แล้วแต่ความถนัดและความสามารถในการดูแลของเกษตรกรผู้ที่สนใจ



    4. ไถพลิกหน้าดิน (เฉพาะในกรณีที่ที่ดินนั้นทำการเกษตรเพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน เช่นปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวกันติดต่อเป็นเวลานานกว่า 5 ปี และไม่มีการปลูกพืชอื่นสลับเลย เป็นต้น)



    5. เตรียมปุ๋ยคอกโดยทำการหมักทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน หรือหากไม่มีการหมักให้ตากแดดจัดไว้ทิ้งประมาณ 2 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่มากับมูลสัตว์



    6. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน ในอัตรา 2 กระสอบ/1 ไร่

  • มีการศึกษาหาความรู้ ดูงาน การลองผิดลองถูก และการจดบันทึกกระบวนการวิธีต่างๆ ในการดูแลบำรุงรักษาพืชที่ปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดี



     

  • ควรระวังเรื่องของการใส่ปุ๋ยบำรุงดิน เพราะการใส่ปุ๋ยคอกมากเกินไปนั้นส่งผลเสีย อาจทำให้พืชตาย หรือไม่เจริญเติบโตได้ เนื่องจากปุ๋ยคอกเกิดจากมูลสัตว์ซึ่งมีความร้อนและมีความเค็ม หากใส่มากเกินไปอาจทำให้ดินเค็มได้



     



     

  • -
  • -