กลับไปหน้าค้นหา

นางสาวไพฑูรย์ กลิ่นสุคนธ์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 41 หมู 5 ตำบล : หนองชุมพลเหนือ อำเภอ : เขาย้อย จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

นางสาวไพฑูรย์   กลิ่นสุคนธ์ อาชีพหลัก คือ อาชีพทำนา เมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว ไม่มีงานทำ จึงหาอาชีพเสริมทำเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นั่นคือ การปลูกพืชไร่ ได้แก่ มะนาว ข้าวโพด เป็นต้น



 


ความสำเร็จ :

มีการศึกษาหาความรู้ ดูงาน การลองผิดลองถูก และการจดบันทึกเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงรสชาติให้ดียิ่งขึ้น


ความชำนาญ : การทำไร่


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นางสาวไพฑูรย์   กลิ่นสุคนธ์ อาชีพหลัก คือ อาชีพทำนา เมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยว ไม่มีงานทำ จึงหาอาชีพเสริมทำเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว นั่นคือ การปลูกพืชไร่ ได้แก่ มะนาว ข้าวโพด เป็นต้น



     

  • 1. การปลูกมะนาว



               เทคนิคการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ที่ต้องการให้มะนาวสามารถออกลูกนอกฤดูกาลได้ และง่ายต่อการจัดการ เนื่องจากการปลูกในบ่อซีเมนต์สามารถปลูกให้มีขนาดทรงพุ่มเท่ากับการปลูกในแปลงดินได้ และง่ายต่อการงดน้ำเพื่อบังคับให้ออกลูกนอกฤดูการเริ่มต้นปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ เริ่มจากการเตรียมพื้นที่ โดยพื้นที่นั้นจะต้องมีแดดส่องถึงตลอดหรือประมาณ 60% ที่มีเเดดส่องถึงต่อวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าหากมีแดดส่องถึงจะยิ่งดี และตอนหน้าฝนจะต้องไม่มีน้ำขังเป็นอันขาด เมื่อได้พื้นที่แล้วจากนั้นจะเป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกมะนาว สำหรับใครที่มีพื้นที่เหลือสามารถปลูกให้ห่างกันได้ เช่น 3×4, 4×4, 4×5 เมตร โดยไม่แนะนำไม่ปลูกห่างมากกว่าขนาดดังกล่าว เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ แนะนำให้ปลูกห่างกันเป็นขนาดความกว้าง x ยาว 3×2 เมตร โดยฝั่งที่หันหน้าเข้าเจอดวงอาทิตย์ตอนเช้า ให้ปลูกห่างกัน 2 เมตร และฝั่งที่โดนเงา ให้ปลูกห่างกันเป็น 3 เมตร ไม่แนะนำให้ปลูกชิดกันมากไปกว่านี้เพราะมะนาวจะไม่ได้รับแสงแดดเต็มที่ และเมื่อแดดส่งไม่ถึงโดนต้นปัญหาพวกเชื้อโรคก็จะตามมา



    การเตรียมดินสำหรับปลูกมะนาวส่วนผสมของดินจะใช้วัสดุหลัก 3 ชนิด คือ หน้าดิน 1 ส่วน มูลวัวเก่า 1 ส่วน และ แกลบ+เศษใบไม้ 2 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน การใช้แกลบจะช่วยให้สภาพดินมีการระบายน้ำที่ดีและดินไม่แน่น ถ้าใช้แค่หน้าดินผสมกับขี้วัวจะทำให้ดินปลูกแน่นมากเกินไป เวลาให้น้ำไป 4-5 วัน น้ำยังไม่ถึงข้างล่างของบ่อ และการใส่ดินจะต้องใส่ให้พูนเป็นภูเขา โดยสิ่งที่ต้องเน้นเป็นพิเศษนั้นคือ จะต้องขึ้นเหยียบที่ขอบวงบ่อ บริเวณตรงกลางไม่ต้องเหยียบ การใส่ดินให้เป็นภูเขาจะช่วยในเรื่องดินยุบลงมาเสมอวงบ่อได้นานถึง 1 ปี



    วิธีการปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ หลังจากที่ใส่ดินลงไปในบ่อซีเมนต์แล้ว ให้ทำการขุดตรงกลางออกความลึกพอเหมาะกับขนาดของกิ่งชำ ถุงดำไม่ควรขุดลึกมากเกินไปเพราะขณะที่มะนาวโตจะทำให้รากไปกองกันอยู่ที่ก้นบ่อเร็วเกินไป และจะส่งผลให้มีการเจริญเติบโตที่ช้า หลังจากที่ใส่กิ่งชำลงไปแล้ว ให้กลบกดดินให้แน่นพอสมควร แล้วปักไม้ค้ำลงไปจากนั้นมัดด้วยเชือกแล้วรดน้ำถือว่าเป็นอันเสร็จ แนะนำหากเรามีต้นกล้วยให้ใช้กาบกล้วยแห้งมามัดจะยิ่งดีกว่าใช้พวกเชือกฟาง หรือเชือกที่ทำจากพลาสติก พอเวลาผ่านไปสัก 3-4 เดือน เชือกกล้วยจะสลายหายไปเองโดยไม่ต้องไปตามแก้เชือกมัดออก และมะนาวจะไม่อึดอัดมากเกินไปขณะที่มันกำลังเจริญเติบโต



              วิธีการดูแลในช่วงแรกเริ่ม อายุ 1 สัปดาห์ ถึง 3 เดือนโดยประมาณ ควรรดน้ำต้นมะนาวอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง การให้น้ำแต่ละครั้งควรให้ประมาณ 15 นาที โดยให้ในช่วงเช้าหรือเย็น ไม่ควรให้น้ำตอนที่มีแดงแรงเนื่องจากจะทำให้ต้นมะนาวน็อกได้ ส่วนการกำจัดวัชพืชควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ โดยอย่าให้วัชพืชขึ้นแย่งอาหารบริเวณโคนต้น เนื่องจากวัชพืชพวกนี้จะคอยแย่งสารอาหารจะต้นมะนาวทำให้มะนาวโตช้า แคระแกรน และทำให้ต้นมะนาวมีใบสีเหลือง ควรกำจัดโดยการตัดหญ้าเป็นประจำและสม่ำเสมอ สุดท้ายหลังจากที่เราปลูกมะนาวได้ 1-2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 27-6-6 โดยการใส่เดือนละครั้ง โดยอย่าใส่ชิดบริเวณโคต้นมากเกินไป ใส่ห่างจากโคนประมาณ 20-30 ซม. เพื่อบำรุงต้นให้แข็งแรง และไม่ควรใส่เยอะมากเกินไป



    2. การปลูกข้าวโพด



    วิธีการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี



    การเตรียมดิน



    วัตถุประสงค์ของการเตรียมดิน เพื่อให้ผิวดินอ่อนตัว และห่อหุ้มเมล็ดข้าวโพดให้ชื้นอยู่เสมอ และให้ดินมีอากาศถ่ายเทสะดวก และทำลายเหง้าวัชพืชให้แห้งตายและฝังกลบซากวัชพืชเดิมให้จมดิน การไถพรวนควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใต้หลักการ ไถดะให้ลึก ไถแปรให้ดินแตกละเอียด



    1. ไถดะ การไถด้วยผาน 3 หรือผาน 4 ควรไถให้ลึกประมาณ 30 ซม.เพราะการไถลึก จะทำให้ดินเก็บน้ำได้มาก และตากดินไว้ประมาณ 10-15 วัน เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชในดินบางชนิด



    2. ไถแปร ควรไถด้วยผาน 7 โดยไถขวางรอยเดิมของไถดะเพื่อย่อยดินก้อนใหญ่ให้แตก ทำให้ดินมีความร่วนซุยมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เมล็ดพันธุ์งอกได้อย่างสม่ำเสมอ



      



    เคล็ดไม่ลับ:



           การทดสอบความชื้นของดินว่าเพียงพอหรือไม่ ให้นำดินที่ระดับความลึกที่ใช้หยอดเมล็ดจริงมาปั้น หากปั้นเป็นก้อนได้แสดงว่าความชื้อพอเหมาะ



           ควรทำการทดสอบเครื่องหยอด, รูจานหยอด กับเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกจริง ว่าได้ตามระยะที่ต้องการหรือเปล่า ถ้าหากถี่หรือห่างเกินไป จะได้เปลี่ยนจานที่มีจำนวนรูจานตามต้องการ



           ความลึกในการหยอดเมล็ด ขึ้นอยู่กับความชื้น, ประเภทของดิน รวมถึงประสบการณ์ของเจ้าของแปลงซึ่งโดยทั่วไป หยอดลึกไม่เกิน 4-5 ซม.



     



    การใส่ปุ๋ย แบ่งได้ 2 ครั้ง เพื่อให้มีธาตุอาหารเพียงพอกับการสร้างผลผลิตได้เต็มที่ ดังนี้



    1. ปุ๋ยรองพื้น ควรใส่รองก้นหลุม หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบพร้อมปลูก ใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 ในปริมาณ 20 กิโลกรัม/ไร่



    2. ปุ๋ยยูเรีย เมื่อข้าวโพดมีอายุ 25-30 วัน ควรมีการใส่ปุ๋ยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ในปริมาณ 20-25 กิโลกรัม/ไร่



    ข้อแนะนำ ควรใส่ปุ๋ยพร้อมกับการกำจัดศัตรูพืชเมื่อข้าวโพดอายุได้ 20-35 วัน หรือสูงแค่เข่า โดยใส่แบบโรยข้างแถวให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 คืบ แล้วใช้ดินกลบ



     



    การใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับดิน



              ดินเหนียวสีดำ  ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 0 -0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46 – 0 - 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20 -25 วัน ถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20 – 20 - 0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16 – 20 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46 – 0 - 0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21 -0 - 0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20 - 25 วัน  แล้วพรวนดิน



              ดินเหนียวสีดำ  ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21 – 0 -0 อัตรา 50กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46 – 0 - 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20 - 25 วันถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20 -20 - 0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16 – 20 - 0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46 – 0 -0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21 – 0 - 0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20 -25 วัน  แล้วพรวนดินกลบ



    ดินเหนียวสีแดง ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 -0 หรือ 16 -16 - 8อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21 -0 - 0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46 – 0 - 0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20 - 25 วัน แล้วพรวนดินกลบ



    ดินร่วน หรือดินร่วนทราย  ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 16 - 8 หรือสูตร 15 – 15 - 15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และปุ๋ยเคมีสูตร 21 -0 - 0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20 - 25 วัน แล้วพรวนดินกลบ 

  • มีการศึกษาหาความรู้ ดูงาน การลองผิดลองถูก และการจดบันทึกเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงรสชาติให้ดียิ่งขึ้น

  • -
  • -
  • -