กลับไปหน้าค้นหา

นายฉมวย เพชรแก้ว

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 14/2 หมู 2 ตำบล : หนองชุมพลเหนือ อำเภอ : เขาย้อย จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

นายฉมวย   เพชรแก้ว  เป็นเกษตรกรซึ่งมีความรู้ด้านการเกษตร ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต นับว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำการเกษตร ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือการทำนา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ในการทำน้ำส้มควันไม้ อีกด้วย


ความสำเร็จ :

ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 


ความชำนาญ : การทำน้ำส้มควันไม้


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นายฉมวย   เพชรแก้ว  เป็นเกษตรกรซึ่งมีความรู้ด้านการเกษตร ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต นับว่าเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำการเกษตร ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือการทำนา นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีความรู้ในการทำน้ำส้มควันไม้ อีกด้วย

  • ขั้นตอนการนําไม้เข้าเตาเผาถ่าน



     นําไม้ทีต้องการเผาถ่าน นํามาจัดแยกกลุ่มตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ขนดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ การจัดวางไม้ภายในเตาเผาถ่าน ให้จัดเรียงไม้ทีÉมีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา วางเรียงไล่ขนาดมาด้านบนสุดจะเป็นไม้ขนาดใหญ่สุด โดยไม้ทั้งหมดจะถูกวางทับไว้บนหมอนไม้ที่มีความยาวประมาณ   30 - 40 เซนติเมตร การเรียงไม้นี้มีความสําคัญมาก เนื่องจากอุณหภูมิในเตา ขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างเตาจะต่ำ ส่วนอุณหภูมิด้านบนเตาจะสูงกว่า



    ขั้นตอนการเผาถ่านช่วงที่1 ไล่ความชื้น หรือคายความร้อนเริ่มจุดไฟเตาบริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าภายในเตาเพื่อไล่อากาศเย็นและความชื่นที่ยู่ในเตาและในเนื้อไม้ จะมีควันออกมาจากปล่องเป็นควันสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็นซึ่งเป็นกลิ่นของกรดต่าง ๆ ที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 60 - 65 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ให้ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีขาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น อุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ   200 - 250 องศาเซลเซียสควันมีกลิ่นเหม็นฉุน



    ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือปฏิกิริยาคลายความร้อนเมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ภายในเตาจะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทําให้อุณหภูมิในเตาเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงนี้ค่อย ๆ ลดการป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตา จนหยุดการป้อนเชืÊ อเหลิง และเริÉมเก็บนํ Ê าส้มควันไม้ได



    หลังจากหยุดการป้อนเชืÊ อเพลิงหน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตา หรือลดพื้นที่ หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สําหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้ได้นานที่สุด และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด โดยช่วงทีเหมาะสมกับการเก็บน้าส้มควันไม้ควรอยู่ในช่วงอุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 85 - 120 องศาเซลเซียสเนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา จากนั่นควันก็จะเปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิปากปล่องควันประมาณ 100-200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส



    การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการดักเก็บจากการเผาถ่าน ไม่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ในทันทีทันได ต้องนํามาผ่านกระบวนการบางอย่างก่อนเพื่อให้ได้น้ำส้มควันไม้ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการนําไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงจากไม้เป็นถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้นควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันที่อุณหภูมิต่ำและสูง ซึ่งจะมีน้ำมันดินและสารระเหยง่ายปนออกมาด้วย น้ำมันที่ละลายน้ำไม่ได้จะนําไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่ได้เช่นกัน เพราะจะไปปิดปากใบของพืช หากลงไปสู่พื้นดินจะเกาะรากพืชทําให้พืชเติบโตช้าหรืออาจตายได้ นอกจากนี้ถ้าหากเทลงพื้นดินในปริมาณมากๆ ส่งผลให้ดินแข็งเป็นดาน รากพืชไม่สามารถชอนไชลงดินได้จึงแนะนําว่า เมื่อเก็บน้ำส้มควันไม้ได้แล้วต้องทิ้งช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนนําไปใช้ และจะต้องจัดกาให้เป็นน้ำส้มควันไม้บริสุทธิก่อนนําไปใช้ประโยชน์ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย  3 เดือน โดยการเก็บน้ำ ส้มควันไม้ไว้ในที่ร่มเย็น ต้องเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงปราศจากส่งรบกวน หากเก็บไว้ในที่โล่งแจ้งน้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์กลายสภาพเป็นน้ำมันดิน ซึ่งในน้ำมันดินเองยังสารก่อมะเร็ง หากมีการนําไปใช้กับพืช ทําให้ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงของต้นไม้ต่ำลง เพราน้ำมันดินไปจับที่ใบพืช และอุดปากใบพืชข้อควรระวังในการใช้น้ำส้มควันไม้ 1.ก่อนที่จะนําน้ำส้มควันไม้ไปใช้ ต้องมีการเก็บไว้ในที่ร่มเย็นเป็นอย่างน้อย 3 เดือน 2.เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ควรระวังอย่าให้เข้าอาจทําให้ตาบอดได้

  • ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 

  • -
  • -
  • -