กลับไปหน้าค้นหา

นายสงัด ปรีดา

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 68 หมู 1 ตำบล : หนองชุมพลเหนือ อำเภอ : เขาย้อย จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

นายสงัด ปรีดาได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือการทำนา และเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพเสริม


ความสำเร็จ :

ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 


ความชำนาญ : การเลี้ยงไก่


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นายสงัด ปรีดาได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก คือการทำนา และเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพเสริม

  • การเลี้ยงไก่ไข่ เป็นอาชีพเสริมทำที่บ้าน ที่นอกจากสร้างรายได้ให้ตามที่เราต้องการแล้ว ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวและมีโอกาสได้ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นงานที่มีคุณค่าทางจิตใจที่ได้ใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีรายละเอียด ดังนี้



    พันธุ์ไก่ใข่



    โดยจะแยกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ



    1.ไก่พันธุ์แท้

                 เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้

    ยกตัวอย่าง ไก่พันธุ์แท้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ โร๊ดไอส์แลนด์แดง บาร์พลีมัทร็อค เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร



    2.ไก่พันธุ์ผสม

                  ฟังดูอาจจะดูเป็นไก่ไม่ดี แต่ที่จริงแล้วเป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์ให้ลูกไก่ได้ข้อดีของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เช่น ไข่ดก ทนทานโรค เป็นต้น ยกตัวอย่างไก่ผสมที่เป็นที่็นิยมก็คือ ไก่ไฮบรีด



    อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่



    ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเลี้ยงไก่ไข่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ และอุปกรณ์ที่พิเศษขึ้นมาก็ยกตัวอย่าง เช่น




    • อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น

    • อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ

    • รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็

    • จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะ



    สำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น




    • วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่

    • อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์



              มาที่ส่วนที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาหารและการให้อาหารของไก่ไข่ ผลผลิตที่ออกมานั้นจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ในส่วนของอาหารและวิธีการให้อาหารจึงสำคัญมาก

    เพราะเป็นตัวชี้วัดผลกำไรและขาดทุนได้เลยทีเดียว



    อาหารของไก่ไข่



           ส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นต่อไก่ไข่ ก็ไม่ได้ต่างจากมนุษย์มากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมทั้งในเรื่องของ ราคา ปริมาณ และคุณภาพของสารอาหารที่ให้  โปรตีน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในการเจริญเติบโตซ่อมแซมรักษา ในอาหารไก่ไข่ควรจะมี




    • โปรตีนประมาณ  13-19%

    • คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และเพื่อนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควร



    จะมีอยู่ในอาหารไก่ไข่ประมาณ  38-61%




    • น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ช่วยในการย่อย การดูดซึม รักษาอุณหภูมิใน



    ร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย




    • ไขมัน มีหน้าทีให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป

    • วิตามิน ช่วยให้ไก่มีความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท

    • แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่



    ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่




    • อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถ



    นำไปเลี้ยงไก่ได้ทันที




    • หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และ       



    ยาต่าง ๆ  เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร




    • อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่

    • อาหารเสริม เป็นอาหารที่นำไปเสริมเพื่อเพิ่มสารอาหารด้านต่าง ๆ ที่ยังขาด เพื่อให้ไก่ได้รับ



    สารอาหารครบถ้วน



    ต่อมาเป็นที่อยู่อาศัยของไก่ไข่ ซึ่งในเนื้อหานี้จะเป็นการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ในโรงเรือน ซึ่งจะต้องสร้างให้เหมาะสมกับปัจจัยต่าง ๆ โรงเรือนจะต้องสร้างให้ถูกต้อง มีความแข็งแรง ทนทาน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โรงเรือนที่ดีควรจะมีลักษณะดังนี้



    โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่




    • ป้องกันแดด ลม และฝนได้

    • แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัขได้

    • ทำความสะอาดได้ง่าย

    • ห่างจากชุมชน และอยู่ใต้ลมของบ้าน เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน

    • ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก

    • ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่



    ระบาดของโรค

  • ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง หมั่นขยันศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองหรือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาส่งเสริม 

  • -
  • -
  • -