กลับไปหน้าค้นหา

นายยักษ์ เปรี้ยวหวาน

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 10/2 หมู 6 ตำบล : หนองชุมพลเหนือ อำเภอ : เขาย้อย จังหวัด: เพชรบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

นายยักษ์ เปรี้ยวหวาน เป็นเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ตามหลักคำสอนของพ่อ


ความสำเร็จ : -
ความชำนาญ : การทำนำส้มควันไม้


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นายยักษ์ เปรี้ยวหวาน เป็นเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ตามหลักคำสอนของพ่อ

  • การนำไม้เข้าเตาเผาถ่าน

              1.นำไม้ที่ต้องการเผาถ่าน มาจัดแยกกลุ่ ตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

                        -ขนาดเล็ก

                        -ขนาดกลาง

                        -ขนาดใหญ่

              2.เรียงไม้ที่มีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ขนาดใหญ่ไว้ด้านบน โดยวางทับไม้หมอนยาวประมาณ 

      30-40เซนติเมตร การเรียงไม้นี้มีความสำคัญมาก  เนื่องจากอุณหภูมิในเตา ขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน 

      โดยอุณหภูมิด้านล่างเตาจะต่ำ ส่วนอุณหภูมิที่อยู่ด้านบนเตาจะสูงกว่า



     



    ขั้นตอนการเผาถ่าน



    ช่วงที่ 1 ไล่ความชื้น หรือคายความร้อน

          เริ่มจุดไฟเตา บริเวณที่อยู่หน้าเตา ใส่เชื้อเพลิงให้ความร้อนกระจายเข้าสู่เตาเพื่อไล่อากาศเย็นและ

    ความชื้นที่อยู่ในเตาและในเนื้อไม้ ควันที่ออกมาจากปล่องควันจะเป็นสีขาว ควันจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็น

    กลิ่นของกรดประเภทเมธาทอลที่อยู่ในเนื้อไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70 - 75 องศาเซลเซียส 

    อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 150 องศาเซลเซียส ใส่เชื้อเพลิงต่อไป ควันสีาวตรงปล่องควันจะเพิ่มขึ้น 

    อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควันประมาณ 70-75 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 

    200-250 องศาเซลเซียส ควันมีกลิ่นเหม็นฉุน



    ช่วงที่ 2 เมื่อไม้กลายเป็นถ่าน หรือ ปฏิกิริยาคลายความร้อน

          เมื่อเผาไปอีกระยะหนึ่ง ควันสีขาวจะเริ่มบางลง และเปลี่ยนเป็นสีเทา อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน 

    ประมาณ 80-85 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 300-400 องศาเซลเซียส ไม้ที่อยู่ในเตา

    จะคายความร้อนที่สะสมเอาไว้เพียงพอที่จะทำให้อุณหภูมิในเตาจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ค่อยๆ ลดการป้อน

    เชื้อเพลิงหน้าเตาจนหยุดการป้อนเชื้อเพลิง และเริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้ หลังจากการหยุดการป้อนเชื้อเพลิง

    หน้าเตา จะต้องควบคุมอากาศโดยการหรี่หน้าเตาหรือลดพื้นที่หน้าเตาลงให้เหลือช่องพื้นที่หน้าเตา

    ประมาณ 20-30 ตารางเซนติเมตร สำหรับให้อากาศเข้า เพื่อรักษาระดับของอุณหภูมิในเตาไว้ให้นานที่สุด 

    และยืดระยะเวลาการเก็บน้ำส้มควันไม้ให้นานที่สุด โดยช่วงที่เหมาะสมกับการเก็บน้ำส้มควันไม้ควรมีอุณหภูมิ 

    บริเวณปากปล่องควัน ประมาณ 85-120 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วงที่สารในเนื้อไม้ถูกขับออกมา 

    จากนั้นควันก็เปลี่ยนจากควันสีเทาเป็นสีน้ำเงิน จึงหยุดเก็บน้ำส้มควันไม้ อุณหภูมิบริเวณปากปล่องควัน 

    ประมาณ 100-200 องศาเซลเซียส อุณหภูมิภายในเตาประมาณ 400-450 องศาเซลเซียส



    ช่วงที่ 3 ช่วงทำถ่านให้บริสุทธิ์

          ขั้นตอนนี้เป็นช่วงที่ไม้จะเปลี่ยนเป็นถ่าน ต้องทำการเพิ่มอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว โดยการเปิดหน้าเตา 

    ประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เมื่อควันสีน้ำเงิน เป็นเสีฟ้า แสดงว่าไม้เริ่มเป็นถ่านใกล้หมด

    จากนั้นควันสีฟ้าอ่อนลงและจะกลายเป็นควันใสแทน เมื่อมีควันใสเริ่มทำการปิดหน้าเตา โดยใช้ดินเหนียวปิดรอยรั่ว

    และรอยต่อ จากนั้นทำการปิดปล่องควันให้สนิทและอุดรูรั่วทั้งหมด ไม่ให้อากาศภายนอกผ่านเข้าไปได้



    ช่วงที่ 4 ช่วงทำการให้ถ่านในเตาเย็นลง

          เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตา เพื่อระบายความร้อนในเตา จากนั้นทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน 

    หรือประมาณ 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ถ่านดับสนิท แล้วจึงเริ่มการเปิดเตาเพื่อนำถ่านออกจากเตา และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

  • -
  • -
  • -
  • -