กลับไปหน้าค้นหา

นายสุนทร คำแก้ว

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 146/1 หมู 6 ตำบล : กรูด อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

รับมรดกสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาตีเหล็กมาจากรุ่นพ่อ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ความสามารถในการตีกลองยาว และรวมทีม เพื่อรับงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน หรือ งานอื่นๆ  อีกทั้งได้ถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นหลังโดยการสอนให้กับนักเรียน และเยาวชนที่สนใจ


ความสำเร็จ :

การตั้งใจฝึกซ้อม ให้ฝีมือมีมาตรฐาน และการดูแลรักษาเครื่องดนตรี ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมแสดงตลอดเวลา


ความชำนาญ : ทำสวนยาง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • รับมรดกสืบทอดความรู้ ภูมิปัญญาตีเหล็กมาจากรุ่นพ่อ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ความสามารถในการตีกลองยาว และรวมทีม เพื่อรับงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน หรือ งานอื่นๆ  อีกทั้งได้ถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นหลังโดยการสอนให้กับนักเรียน และเยาวชนที่สนใจ

  • ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีดังนี้



    ๑.กลองยาว            ๔ ใบ



    ๒.โหม่ง                 ๑ ใบ



    ๓.ฉิ่ง                     ๑ ใบ



    ๔.ฉาบเล็ก              ๑ คู่



    ๕.ฉาบใหญ่            ๑ คู่



    ๖.กรับไม้               ๑ คู่



    ๗.พิณ                   ๑ ตัว



    ลักษณะของกายภาพของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดในวงกลองยาว

    ๑.กลองยาว

    กลองยาวที่โรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู ๒๕๐๐) เป็นกลองยาวทรงกลมยาว เจาะทะลุเป็นโพรงตลอดทั้งลูก ตอนบนตั้งแต่หน้ากลองลงมาจนถึงคอคอดเป็นกระพุ้งอุ้งเสียงทรงกลม ตกแต่งด้วยผ้าสีส้มสีเขียวสะท้องแสง โดยใช้วิธีการเย็บเป็นกระโปรงหุ้มส่วนสายสะพายที่ใช้ ได้ดัดแปลงเอาประคดรัดจีวรของพระสงฆ์มาทำเป็นสายสะพายกลอง เพื่อทำให้ไม่ปวดไหล่ขณะทำการแสดง

    ๒.ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะ และสำคัญที่สุดในการควบคุมเฉพาะ

    ๓.ฉาบใหญ่และฉาบเล็ก ฉาบที่ใช้วงกลองยาวพื้นบ้านโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู ๒๕๐๐) เป็นฉาบที่มีขนาดใหญ่และร้อยด้วยริบบิ้นเพื่อให้เกิดความสวยงามในขณะทำการแสดง

    ๔.กรับไม้ เป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะทำด้วยไม้ ใช้สำหรับตีเพื่อให้เกิดจังหวะที่ต้องการ

    ๕.โหม่ง เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะที่ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นวงกลมตรงกลางที่นูนออก โหม่งทำหน้าที่ควบคุมจังหวะกลองทุกใบไปพร้อมๆ กับฉิ่ง ฉาบ และกรับ

    ๖.พิณหรือซุง ใช้บรรเลงดำเนินทำนองนิยมทำมาจากไม้ท่อนเดียว ไม้ที่ทำพิณนั้น ส่วนมากใช้ไม้ขนุน เพราะง่ายแก่การขูด เจาะ บากได้ง่าย



     เสียงหลักๆ ที่ใช้ในการตีกลองยาว

                    ประกอบด้วย ๓ เสียง คือ

                    ป๊ะ คือ เสียงกลองยาวที่ใช้ตีสอดแทรกกับเสียงอื่นวิธีการตี คือใช้ฝ่ามือ จนถึงปลายนิ้วตีลงไปบนหน้ากลองมุมใดมุมหนึ่ง  ตีโดยกดมือขวาลงไปที่หน้ากลองและเมื่อตีแล้วต้องให้มือแนบติดหน้ากลองตลอดเวลา 

                    เพิ่ง คือ เสียงที่เกิดจากการตีเปิดมือโดยใช้มือขวาบริเวณโคนนิ้วถึงปลายนิ้วโดยให้นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน ตีลงที่บนหน้ากลองยาวบริเวณระหว่างขอบกลองกับใจกลางหน้ากลอง 

                    บ่อม คือ เสียงที่มีใช้มากสำหรับการตีกลองยาวจะใช้ในตอนแรกหลังจากโห่สามลา แล้วโหม่งขึ้นตั้งจังหวะ ต่อจากนั้นจึงตีเป็นเสียงบ่อม สำหรับการบังคับมือ คือ ให้กำมือขวาแล้วตีลงบนหน้ากลองบริเวณที่ติดข้าวสุก เมื่อตีแล้วให้ผู้ตียกมือขึ้นเล็กน้อยจากหน้ากลองทันที เพื่อช่วยให้เสียงที่ตีแล้วนั้นดังกังวานและเกิดเป็นเสียงบ่อมตามที่ต้องการ

                    ติ๊ก การตีกลองที่ใช้นิ้วตีลงบริเวณขอบหน้ากลองโดยใช้น้ำหนักของนิ้วตี ส่วนมือนิ้วซ้ายแนบหน้ากลอง การตีต้องใช้นิ้วชี้ของมือขวาตีลงไปที่ขอบกลองจะเกิดเสียง “ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก” ติ๊ก นี้เป็นเสียงที่ใช้สอดแทรกอยู่ในขั้นตอนการโหมโรง นับเป็นการนำเอา “เทคนิค” เข้ามาใช้ทั้งยังเป็นการเล่นที่ทำให้เกิดความพร้อมเพรียง

    การจ่ากลอง 

                    วงกลองยาวพื้นบ้านโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู ๒๕๐๐) ใช้กล้วยตากทำจ่ากลอง โดยก่อนจ่าต้องซื้อกล้วยตากสำเร็จรูป นำมาตำและนวดให้นิ่มเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด แล้วนำมาจ่ากลองแต่ละใบเพื่อถ่วงเสียงให้ได้ตามต้องการ 

    ขนบและความเชื่อในการละเล่นกลองยาว

                    กลองยาวเป็นการละเล่นพื้นบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณนิยมเล่นในงานประเพณีต่างๆ เช่น สงกรานต์ ทอดกฐิน เป็นต้น

                    กิจกรรมกลองยาวของโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู ๒๕๐๐) เริ่มขึ้นปี  ๒๕๓๙ ทางโรงเรียนเห็นว่าชุมชนมีงานประเพณี แต่ไม่มีกลองยาวที่ให้ความบันเทิง ทางโรงเรียนจึงจัดกิจกรรมกลองยาวขึ้น ในปี ๒๕๔๖ ทางกิ่งอำเภอเกาะจันทร์ได้จัดการประกวดท้าประลองกลองยาวขึ้น ทางโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู ๒๕๐๐) ได้เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ทำให้ได้รับความชื่นชมและสร้างชื่อเสียงให้กับทางโรงเรียน 

    วิธีการบรรเลงกลองยาวของวงกลองยาวพื้นบ้านโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์ (วันครู ๒๕๐๐)

                      วิธีการบรรเลงกลองยาวนิยมตีกันอยู่ ๓ เสียง คือ “ป๊ะ” เพิ่ง บ่อม” การละเล่นกลองยาวนั้น จะเริ่มด้วยการโห่ที่เรียกว่า “โห่สามลา” ก่อนทุกครั้ง แล้วให้โหม่งตีนำเพื่อตั้งความเร็วของจังหวะ แล้วกลองยาวจะเริ่มตีจังหวะพม่าเดินทัพ

    ขั้นตอนการบรรเลงกลองยาว

    ขั้นตอนที่ ๑ เริ่มจากการโห่สามลา

    ขั้นตอนที่ ๒ โหม่งตีให้จังหวะโดยจะตีทั้งหมด ๑๐ ครั้ง

    ขั้นตอนที่ ๓ จากนั้นกลองยาว (กลองยืน) เริ่มตีออกมาโดยมาตีโหมโรงโดยมีทั้งหมด ๑๐ มือ 



     เพลงร้องที่นำมาใช้ในวงกลองยาว

                   ในการละเล่นกลองยาวนั้น ถ้าจะให้มีความสนุกสนานมากขึ้น ผู้แสดงต้องร้องทำนองกลองยาวสอดแทรกเข้าไปตามจังหวะต่างๆ เนื้อร้องของกลองยาวจะมีจุดเด่นในเชิงหยอกเย้าเกี้ยวพาราสีระหว่างหญิงกับชาย เนื้อร้องบทร้องจะชวนให้คิดเป็นสองแง่สองง่าม เนื้อร้องทำนองกลองยาวนี้มีหลายบทด้วยกันแล้วแต่ว่าผู้ใดจะคิดแต่งให้เป็นแบบธรรมดาหรือพิสดารอย่างไรก็ได้

  • การตั้งใจฝึกซ้อม ให้ฝีมือมีมาตรฐาน และการดูแลรักษาเครื่องดนตรี ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมแสดงตลอดเวลา

  • -
  • -
  • -