กลับไปหน้าค้นหา

นางรัตติยา ชัยเจริญ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 22/3 หมู 4 ตำบล : กรูด อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

มีครอบครัวตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสหกรณ์  และมีความสนใจในการเลี้ยงด้วงสาคูก่อนเป็นอันดับแรก  ต่อมาสนใจในการนำน้ำมันด้วงไปสกัดเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ เพื่อบำรุงผิว  รักษาสิว ฝ้า  และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง


ความสำเร็จ :

มีความขยัน และเอาใจใส่ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบ  กระบวนการผลิตที่สะอาด  ถูกสุขอนามัย


ความชำนาญ : การเลี้ยงด้วง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • มีครอบครัวตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านสหกรณ์  และมีความสนใจในการเลี้ยงด้วงสาคูก่อนเป็นอันดับแรก  ต่อมาสนใจในการนำน้ำมันด้วงไปสกัดเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์สบู่ เพื่อบำรุงผิว  รักษาสิว ฝ้า  และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

  • การเลี้ยงด้วงสาคู



    วัสดุอุปกรณ์

              1.แป้งสาคู  ได้จากต้นสาคูที่มีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น  สาคูที่ใช้เลี้ยงด้วงได้ดีจะต้องเป็นสาคูที่เริ่มออกดอก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าต้นที่แตกเขากวาง  เพราะเป็นช่วงที่สะสมแป้งในลำต้น พร้อมสำหรับการให้ผลผลิตและตายในที่สุด ต้นสาคูก่อนหรือหลังระยะที่แตกเขากวาง พ่อแม่พันธุ์จะไม่ลงตัวด้วง (พ่อแม่พันธุ์จะไม่วางไข่)



              ทำไมต้องนำต้นสาคูที่ได้มาแช่น้ำ ?  การนำแป้งสาคูที่ได้มาใหม่เลี้ยงด้วงสาคูนั้นไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีความร้อนและมียาง 



              ถามว่าแล้วเกิดอะไรขึ้น ?  ตอบคือพ่อแม่พันธุ์ไม่ให้ตัวอ่อน  หากให้ตัวอ่อนก็จะตาย  เพราะด้วงสาคูไม่ชอบอาหารที่ร้อนและมียางผสม  ดังนั้นจึงต้องนำต้นสาคูแช่น้ำหรือวางทิ้งให้ตากแดดตากฝนก่อนประมาณ  7  วัน จึงนำมาบดเพื่อเลี้ยงด้วงต่อไป



              ระหว่างแช่น้ำกับวางทิ้งไว้อะไรดีกว่ากัน ? การแช่น้ำจะดีกว่าเพราะสามารถเก็บท่อนสาคูที่ยังไม่ได้บดไว้ได้นานโดยไม่แห้งเสีย  สามารถเก็บไว้ได้ถึง 1 เดือน  หากวางไว้ในพื้นที่ร่ม  อยู่ได้ประมาณ  7 – 10  วันเท่านั้นหลังจากนั้นไม่สามารถบดได้เนื่องจากแป้งจะแห้ง

              2.พ่อแม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ด้วงที่ทำการเลี้ยงอยู่ในปัจจุบันได้จากการเพาะเลี้ยงเอง 



              การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ยากหรือไม่? ไม่ยาก โดยการคัดด้วงที่มีขนาดโตเต็มที่และสมบูรณ์ การเลี้ยงเพื่อทำพ่อแม่พันธุ์สามารถทำได้ดังนี้

                       1.นำด้วงที่คัดแยกได้ตามต้องการ  เพื่อให้คุ้มทุนต้องเลี้ยงอย่างน้อย  100  ตัว  

                        2.นำสาคูบดแล้ววางสลับกับไยมะพร้าวเป็นชั้นๆหลายๆชั้น ในกะละมัง

                        3.นำตัวมาปล่อยลงไปในกะละมังที่ใส่อาหารและใยมะพร้าว

                        4.นำเอาเปลือกต้นสาคูมาปิดคลอบ ปิดฝาทับ ไม่ให้มีน้ำเกิน 5 % เพราะจะทำให้ด้วงไม่เข้าดักแด้  และจะตายในที่สุด

              3.กะละมังพร้อมฝาปิด มี  2  ขนาด คือขนาดเล็ก กว้าง  40  เซนติเมตร ยาว  20 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ กว้าง  80 เซนติเมตร สูง  20  เซนติเมตร หากเลี้ยงไม่มากแนะนำให้ใช้กะละมังเล็ก เพราะหากผิดพลาดจะไม่สูญเสียค่าใช้จ่ายมากนัก  แต่หากชำนาญแล้วและมีพื้นที่มาก  มีเวลาหรือเลี้ยงด้วงอย่างเดียวสามารถใช้กะละมังขนาดใหญ่ได้  

              4.หัวเชื้อจุลินทรีย์  ช่วยปรับสมดุลจากการเน่าของอาหารในกะละมังที่เกิดแก๊สไม่ให้ร้อนเกินไป 

              5.กากน้ำตาล  เป็นอาหารของจุลินทรีย์  

              6.อาหารหมูใหญ่  ทำไมต้องเป็นอาหารหมูใหญ่หรือหมูขุน ?  ผู้เลี้ยงบอกว่าอาหารที่เป็นส่วนผสม ได้ทดลองมาหมดแล้ว  ทั้งอาหารไก่  อาหารหมูเล็ก อาหารปลา และอาหารหมูใหญ่ ไม่มีอาหารชนิดใดเทียบเท่าอาหารหมูใหญ่ได้  ทั้งอัตราการเจริญเติบโต  การเกิดหนอนอย่างอื่นที่ไม่ใช่ด้วง  และที่สำคัญอัตราการตายของด้วงอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ

              การเลี้ยงและการดูแลรักษา



    การผสมอาหารเลี้ยงด้วงสาคู

    1. แป้งสาคูที่บดแล้ว  1  ปีบ ผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์  1  ช้อนโต๊ะ  กากน้ำตาล  1  ช้อนโต๊ะ  อาหารหมูใหญ่  0.5  กิโลกรัม   น้ำประมาณ  2  ลิตร 

    2.นำมาใส่ในกะละมัง

    3.หมักตั้งไว้  2-3  ชั่วโมง



              ทำไมต้องหมักทิ้งไว้?  ไม่หมักไม่ได้หรือ? ตอบว่าถ้าไม่หมักด้วงจะลงไปอาศัยอยู่ด้านล่างและกินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องหมักอาหารไว้ 2-3 ชั่วโมง



    การเลี้ยงด้วง

              เมื่ออาหารที่เตรียมพร้อมแล้ว  นำพ่อแม่พันธุ์  4-5 คู่ มาปล่อย  รู้ได้อย่างไรว่า 4-5 คู่ ?  ผู้เลี้ยงแนะนำว่า ให้สังเกตตัวผู้งวงข้อที่ 1 มีขนขึ้นชัดเจน ส่วนแม่พันธุ์ไม่มี  ตัวผู้หรือพ่อพันธุ์จะมีขนาดเล็กกว่าแม่พันธุ์  จุดคุ้มทุนของการเลี้ยง การเลี้ยงหากใส่พ่อแม่พันธุ์มากเกินไปไม่ได้เป็นผลดี เนื่องจากเป็นการเพิ่มต้นทุนของพ่อแม่พันธุ์ ด้วงที่ได้มากเกินไปทำให้อาหารไม่พอ ส่งผลให้ด้วงมีขนาดที่แตกต่างกันมากเกินไป หลังจากปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 10-15  วัน  ให้จับขึ้นมาจากกะละมัง  จะเห็นว่าตัวด้วงจะมีขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ

              พ่อแม่พันธุ์นำไปไหน? พ่อแม่พันธุ์ที่จับขึ้นมานี้สามารถนำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้อีก 2 ครั้ง  ดังนั้นต้องนำมาพักฟื้นอย่างน้อย  3  วัน  โดยอาหารที่นำมาเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ช่วงพักฟื้นคือกล้วยน้ำว้าสุก ตัวเต็มวัยจะกินกล้วย  1 ผล/25  ตัว/ 1 คืน พร้อมกับสาคูบด

               ตัวด้วงขนาดหัวไม้ขีดไฟจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ  ไม่ต้องดูแลอะไรมาก  ยกเว้น ความชื้นต้องรักษาให้ได้ ประมาณ 70-80  %    ทำไมอาหารที่ต้องรักษาความชื้น   70-80   % ?  หากอาหารมีความชื้นมากเกินไปจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ตาย  หรือไข่ที่ออกมาไม่ฟักเป็นตัวด้วงและตายในที่สุด หรือแม่พันธุ์อาจจะไม่ว่างไข่ หากความชื้นน้อย ด้วงจะมีขนาดเล็ก(หลังจากที่นำพ่อแม่พันธุ์ออกแล้ว) ปริมาณความชื้น 70-80 % (ทดสอบด้วยการกำอาหารเป็นก้อนและมีน้ำไหลออกระหว่างนิ้วมือเล็กน้อย) ตัวด้วงจะเจริญได้ดี  ให้น้ำหนัก  จำนวนที่มาก (200  ตัว/กก.) อัตราการตายน้อย 

              การเลี้ยงตัวด้วงอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ ?  ไม่เพิ่มอาหารใหม่หรือเสริมอาหารใหม่เข้าไปหลังจากเลี้ยงในกะละมัง  เพราะอาหารใหม่จะมีความร้อนสูงทำให้ด้วงไม่กินอาหาร  ตัวเล็กและตายในที่สุดต้องดูแลเรื่องของความชื้นให้ได้ 70-80 %  อยู่เสมอ  กำจัดแมลงศัตรูไม่ให้เข้ามารบกวน  ห้ามใช้สารฆ่าแมลงในขณะที่พ่อแม่พันธุ์วางไข่เพราะจะทำให้พ่อแม่พันธุ์ไม่วางไข่หรือไข่จะลีบ  ต้องนำพ่อแม่พันธุ์ออกจากกะละมังเพาะไม่เกิน 15  วัน 



     



     การขยายพันธุ์

              นำด้วงที่คัดแยกได้ตามต้องการแล้ว  เพื่อให้คุ้มทุนต้องเลี้ยงอย่างน้อย  100  ตัว นำสาคูบดวางสลับกับใยมะพร้าวเป็นชั้นๆ ในกะละมัง   นำตัวมาปล่อยลงไปในกะละมังที่ใส่อาหารและใยมะพร้าวไว้แล้วนำเอาเปลือกต้นสาคูมาปิดคลอบไว้แล้วใช้ฝาปิดทับอีกที ห้ามให้มีน้ำเกิน 5 % เพราะจะทำให้ด้วงไม่เข้าดักแด้  แล้วตัวด้วงจะตายในที่สุด  หนอนด้วงจะเข้าดักแด้ภายใน20-30  วัน   ให้ทำการเก็บฝักดักแด้ออกให้ใช้สาคูบดเพียงอย่างเดียว  รอ 5-10  วันตัวเต็มวัยจะเจาะฝักดักแด้ออกมา ให้ตัวเต็มวัยระหว่างตัวพ่อกับตัวแม่ได้ผสมกันประมาณ 5-7  วันสามารถนำไปใช้ในการเลี้ยงได้ ราคาพ่อแม่พันธุ์ 4  บาท/ ตัวหรือ 32-40  บาท/การเลี้ยงหนึ่งครั้ง หรือกะละมังเพาะละ 400  บาท 

    การจำหน่าย

              การจำหน่ายในปัจจุบันสมาชิกจำหน่ายอยู่  2 ลักษณะคือ

                       1.ขายปลีก  กิโลกรัมละ  200-250  บาท ขายในท้องถิ่นหรือในพื้นที่ใกล้เคียงกัน

                       2.ขายส่งราคากิโลกรัมละ  180-200  บาท(ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าจากต่างจังหวัด)

    ข้อมูลของพันธุ์ด้วง    



              ด้วงมี  3  พันธุ์ คือ

    1.ตัวสีเหลืองส้มจุดหัวดำ ให้ตัวด้วงน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพันธ์ไต้หวัน  ด้วงตัวใหญ่ (170 ตัว/ก.ก.)

    2.ตัวสีดำ  หัวขีดส้มหรือเส้นสีส้มตามยาวของหัว ให้ตัวด้วงน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพันธ์ไต้หวัน ตัวใหญ่ (170-190  ตัว/ก.ก.)

    3.ด้วงพันธุ์ไต้หวัน  เป็นพันธุ์ตัวเล็กที่สุด  ให้จำนวนที่มาก  น้ำหนักเบา (200 ตัว/กก.)

  • มีความขยัน และเอาใจใส่ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่คัดเลือกวัตถุดิบ  กระบวนการผลิตที่สะอาด  ถูกสุขอนามัย

  • -
  • -
  • -