กลับไปหน้าค้นหา

นางศรีไพร ออมสิน

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 99 หมู 2 ตำบล : กรูด อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

กลุ่มของสตรีในหมู่บ้านได้สนใจที่จะหาอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีในช่วงหน้าฝน ทำให้ขาดรายได้ จึงได้คิดที่จะฝึกหัดการจักสานเส้นพลาสติก เนื่องจากสตรีในหมู่บ้านบางคนสามารถทำได้บ้าง จึงได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่จากโรงงานเอเซี่ยน สุราษฎร์ซีฟู๊ด เพื่อให้ติดต่อผู้ฝึกสอนที่จังหวัดพัทลุงให้มาสอนสตรีในหมู่บ้าน  โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน จากกองทุนหมู่บ้านทับชัน  จำนวน 10,000 บาท  จึงเกิดการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพสตรีบ้านทับชัน ภายใต้การประสานการจัดตั้งกลุ่มจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพุนพิน  ต่อมา กศน.อำเภอพุนพิน ได้เข้ามาสนับสนุนในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของกลุ่ม  ทั้งรูปแบบและการขอมาตรฐาน มผช. 



          เมื่อกลุ่มดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง จึงได้คิดที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ  โดยใช้เงินรายได้จากกลุ่มอาชีพสตรีฯ จำนวน 10,000 บาท ส่งตัวแทนไปเรียนรู้การทำเชือกมัดฟางที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1 คน  เป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์  แล้วกลับมาสอนสมาชิก พร้อมทั้งติดต่อวิทยากรจากกำแพงเพชร มาช่วยฝึกสอนสมาชิกที่กลุ่มด้วย อีกเป็นเวลา 1 อาทิตย์   


ความสำเร็จ :

– ขยัน ใฝ่รู้ศึกษาหาความรู้ นำมาพัฒนางานให้มีฝีมือมีมาตรฐาน



- ต้องพัฒนารูปแบบให้ทันสมัย และถูกใจลูกค้า   


ความชำนาญ : จักสานเชื่อก มัดฟาง/เส้นพลาสติก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • กลุ่มของสตรีในหมู่บ้านได้สนใจที่จะหาอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีในช่วงหน้าฝน ทำให้ขาดรายได้ จึงได้คิดที่จะฝึกหัดการจักสานเส้นพลาสติก เนื่องจากสตรีในหมู่บ้านบางคนสามารถทำได้บ้าง จึงได้ประสานไปยังเจ้าหน้าที่จากโรงงานเอเซี่ยน สุราษฎร์ซีฟู๊ด เพื่อให้ติดต่อผู้ฝึกสอนที่จังหวัดพัทลุงให้มาสอนสตรีในหมู่บ้าน  โดยได้รับงบประมาณสนับสนุน จากกองทุนหมู่บ้านทับชัน  จำนวน 10,000 บาท  จึงเกิดการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพสตรีบ้านทับชัน ภายใต้การประสานการจัดตั้งกลุ่มจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพุนพิน  ต่อมา กศน.อำเภอพุนพิน ได้เข้ามาสนับสนุนในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของกลุ่ม  ทั้งรูปแบบและการขอมาตรฐาน มผช. 



              เมื่อกลุ่มดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง จึงได้คิดที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ของกลุ่มฯ  โดยใช้เงินรายได้จากกลุ่มอาชีพสตรีฯ จำนวน 10,000 บาท ส่งตัวแทนไปเรียนรู้การทำเชือกมัดฟางที่จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1 คน  เป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์  แล้วกลับมาสอนสมาชิก พร้อมทั้งติดต่อวิทยากรจากกำแพงเพชร มาช่วยฝึกสอนสมาชิกที่กลุ่มด้วย อีกเป็นเวลา 1 อาทิตย์   

  • 1. วัตถุดิบและแหล่งที่มาของวัตถุดิบ















    ชื่อวัตถุดิบ



    แหล่งที่มา



    เชือกมัดฟาง



    1.โครงตะกร้า



    2.เชือกมัดฟาง



    3.ยูรีเทน (น้ำยาเคลือบ)



     



    1.ซื้อมาจากจังหวัดลพบุรี



    2.ซื้อมาจาก จังหวัดลพบุรี



    3.ซื้อจากร้านสหกิจ (ตลาดท่าข้าม อ.พุนพิน)




    2. วิธีการซื้อวัตถุดิบ



                       2.1 สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต



                       2.2 สั่งซื้อทางโทรศัพท์



                       2.3 ร้านที่สั่งซื้อส่งของให้กลุ่มทางไปรษณีย์  และ บริษัทขนส่ง



                       2.4 กรรมการกลุ่ม จัดซื้อตามร้านค้า ภายในตัวอำเภอพุนพิน อำเภอเมือง



    3. วิธีการคัดเลือกวัตถุดิบ



              3.1 เลือกตามแบบ สี และขนาด ที่กลุ่มต้องการใช้



              3.2 เลือกวัสดุที่มีคุณภาพ  ราคาเหมาะสมกับสินค้าที่เลือกซื้อ



    4. การควบคุมปริมาณวัตถุดิบ



              4.1 จัดทำบัญชีควบคุมวัตถุดิบ และ เช็คสต๊อก วัตถุดิบ อย่างสม่ำเสมอ



    วัสดุอุปกรณ์การผลิตเชือกมัดฟาง





     



     



     



     



     



    ภาพกระบวนการวิธีการผลิต



    1.นำโครงเหล็ก มาเป็นแกนเพื่อขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ และนำเชือกมาขึ้นขอบโครงเหล็ก 



     



     



     



     



     



     



     



     



     



    2. ถักเชือกมัดฟาง ขึ้นลวดลายต่าง ๆ ตามที่ต้องการ







     



     



     



     



     



     



     



    3.เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วตรวจดูความเรียบร้อย แล้วลงยูรีเทนเพื่อความเงางามสวยงาม และแข็งแรง ตากแดดให้แห้ง





     



     



     



     



     



     



    อุปกรณ์ในการทำกระเป๋าจากเส้นพลาสติก



    -เส้นพลาสติก     -กรรไกร     -สายวัด



    เริ่มต้นจากการวัดเส้นพลาสติก                   



              ส่วนของกระเป๋า -เส้นตั้งยาว     85   cm.     15 เส้น



                           -เส้นนอนยาว   90   cm.       9 เส้น



                           -เส้นสานยาว 100  cm.      15 เส้น                 



                           -เส้นเก็บขอบปากยาว  150 cm.  1 เส้น



            หูกระเป๋า   -เส้นกลางยาว 100 cm. 1 เส้น



                           -เส้นไขว้ยาว 120 cm.  2 เส้น



    ขั้นตอนการทำ



    1.วางเส้นตั้ง 15 เส้น ตามแนวตั้ง





     



     



     



     



     



     



     



     



    แล้วนำเส้นนอน 9 เส้น มาสานขัดกับเส้นตั้ง โดยยกเส้นที่1 แล้วสานสับหว่างกันเน้นให้เส้นแนวนอนชิดกัน  





    3จากนั้นนำเส้นสานทั้ง 15 เส้น มาสานขึ้นไปด้านบนให้ครบ โดยเราจะเว้นเส้นตั้งเอาไว้ไม่ต้องสานไปจนหมด ดังรูป





     



     



     



     



     



     



     



     



     



    ถ้าเรากลัวเส้นที่สานไว้แล้วจะหลุด ให้พับเส้นที่อยู่ข้างล่างแล้วสอด จะช่วยล็อคเส้นไม่ให้หลุดได้





     



     



     



     



     



     



     



    จากนั้นนับเส้นสานจากข้างบนลงข้างล่าง เส้นที่ 10 แล้วสานสลับกันเหมือนในรูป



     



     



     



     



     



     



     



     



     



    สานเส้นให้ครบทุกเส้นด้านข้างของกระเป๋า พอถึงอีกมุม ก็นับเส้นสาน เส้นที่ 16 เหมือนเดิม



     



     



     



     



     



     



     



     



     



    สานเส้นจนรอบทั้งใบ แล้วสอดเส้นตามลายแนวนอน ให้ครบทุกเส้น



    จากนั้นใช้เส้นเก็บขอบปาก มาทาบลงบนปากกระเป๋า แล้วพับเส้นด้านในลงมาทับเส้นเก็บปากอีกที พับเก็บให้รอบทั้งใบ



    พอทำจนครบรอบ พับเส้นที่อยู่ด้านนอกลงมาทับเส้นเก็บขอบปากอีกครั้ง เป็นอันเสร็จการเก็บขอบปากกระเป๋า



    สอดเส้นที่เหลือให้ยาวประมาณ ครึ่งกระเป๋า แล้วตัดเส้นให้สวยงาม ห้ามเห็นปลายเส้นโผล่ออกมานอกตัวงาน



    จากนั้นมาถึงขึ้นตอนการทำหู ใช้ทั้งหมด 3 เส้น โดยพับเส้นไขว้ด้านบนไปใต้เส้นหลักแล้วพับเส้นไขว้ด้านล่าง ประกบให้เท่ากัน พับไปเรื่อยๆความยาว 35 cm. ดังรูป



     ขั้นตอนสุดท้ายใสหูกระเป๋า สอดเส้นของหูกระเป๋าทั้งสามเส้นลงไปในช่องของปากกระเป๋า โดยจะให้แคบหรือกว้างก็ตามใจเราได้เลย



     



     



     



     



     



     



    เส้นตรงกลางสอดลงมาถึงก้นประเป๋าแล้วตลบเส้นทำเป็นดอกเพื่อความแข็งแรงของหูกระเป๋า

  • – ขยัน ใฝ่รู้ศึกษาหาความรู้ นำมาพัฒนางานให้มีฝีมือมีมาตรฐาน



    - ต้องพัฒนารูปแบบให้ทันสมัย และถูกใจลูกค้า   

  • -
  • -
  • -