กลับไปหน้าค้นหา

นายสายชล ทองดอนหับ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 84/1 หมู 2 ตำบล : กรูด อำเภอ : พุนพิน จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

เนื่องด้วยมีอาชีพทำการเกษตร ทั้งทำสวนปาล์ม  ปลูกผัก  และมีต้นทุนในการผลิตสูง จึงมีความสนใจในการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้  และได้มีโอกาสเรียนรู้การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) จากวิทยากรโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี  จึงได้ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง และรวมกลุ่มกันทำจำหน่ายในหมู่บ้าน


ความสำเร็จ :

เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี



 


ความชำนาญ : ทำปุ๋ยหมัก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เนื่องด้วยมีอาชีพทำการเกษตร ทั้งทำสวนปาล์ม  ปลูกผัก  และมีต้นทุนในการผลิตสูง จึงมีความสนใจในการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้  และได้มีโอกาสเรียนรู้การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) จากวิทยากรโรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี  จึงได้ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง และรวมกลุ่มกันทำจำหน่ายในหมู่บ้าน

  • การทำปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ)



    1. มูลสัตว์ (ทุกชนิด) 1 ส่วน ( กระสอบ)

    2. แกลบดิบ 1 ส่วน ( กระสอบ)

    3. รำละเอียด 1 ส่วน ( กระสอบ)

    4. จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)

    5. กากน้ำตาล 20 ซีซี (2 ช้อนโต๊ะ)

    6. น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง



    วิธีทำ

    ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ

    ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

    ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ



    นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)

    การ หมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้



    การเก็บรักษา

    เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิทควรเก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด สามารถเก็บรักษา

    ได้นานประมาณ 1 ปี



    วิธีใช้

    1. ใช้ปุ๋ยแห้งในแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิดในอัตราส่วนปุ๋ยแห้ง 1 กำมือ/พื้นที่ 1 ตรม. แล้วทำการเพาะปลูกได้

    2. พืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง , แตงกวา , ถั่วฝักยาว , กระหล่ำปลี ใช้ปุ๋ยแห้งรองก้นหลุมก่อนปลูกใช้ประมาณ 1 กำมือ

    3. ไม้ยืนต้น , ไม้ผล ควรรองก้นหลุ่มด้วย เศษหญ้า – ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยแห้งประมาณ 1 – 2 บุ้งกี๋ ส่วนไม้ยืนต้น , ไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้ง ให้รอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง , ฟางแห้ง

    4. ไม้ดอก , ไม้ประดับ , ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยแห้งสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รอบๆ โคนต้น

    ข้อควรจำ

    เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี

  • เมื่อใช้ปุ๋ยแห้ง (โบกาฉิ) ต้องใช้ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นด้วยเสมอ เพื่อให้จุลินทรีย์ ที่พักตัวทำงานได้ดี



     

  • -
  • -
  • -