กลับไปหน้าค้นหา

นายโสภณ วันทอง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 110 - ตำบล : หนองหญ้าไซ อำเภอ : หนองหญ้าไซ จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

        ปกติมีอาชีพทำนา ทำไร่ เมื่อช่วงว่างงานก็มีการทำบายศรี ทำขนมไทยต่าง ๆ เช่น  ขนมชั้น  ขนมเปียกปูน  ขนมสาลี่ เพื่อขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้  ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลี่ยม และเรียงเป็นชั้นๆด้วยสีที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีมากกว่า 9 ชั้น และปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบการทำให้มีความโดดเด่นมากขึ้น อาทิ ทำเป็นก้อนกลม ก้อนรูปหัวใจ และใช้สีผสมอาหารแทนสีจากธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ขนมชั้นมีสีสันน่ารับประทานมากขึ้น


ความสำเร็จ :

        1. แป้งมันสำปะหลัง ช่วยทำให้เนื้อขนมมีความเนียน และดูใสเป็นมันวาว ส่วนเนื้อสัมผัสจะช่วยให้นุ่ม และเหนียว หนืด

        2. แป้งถั่วเขียว ช่วยทำให้เนื้อขนมมีความเหนียว และนุ่มคงตัว ไม่เหนียวมากหรือเหลวเกินไป

        3. แป้งท้าวยายม่อม ช่วยทำให้เนื้อขนมมีความเนียน แต่ค่อนข้างใสน้อยกว่าแป้งมันสำปะหลัง เนื้อสัมผัสมีความเหนียว และแข็งขึ้น

        4. แป้งข้าวเจ้า ช่วยทำให้เนื้อขนมแข็งขึ้น จับตัวกันได้ดี


ความชำนาญ : ขนมไทย


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •         ปกติมีอาชีพทำนา ทำไร่ เมื่อช่วงว่างงานก็มีการทำบายศรี ทำขนมไทยต่าง ๆ เช่น  ขนมชั้น  ขนมเปียกปูน  ขนมสาลี่ เพื่อขายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้  ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลี่ยม และเรียงเป็นชั้นๆด้วยสีที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีมากกว่า 9 ชั้น และปัจจุบัน มีการพัฒนารูปแบบการทำให้มีความโดดเด่นมากขึ้น อาทิ ทำเป็นก้อนกลม ก้อนรูปหัวใจ และใช้สีผสมอาหารแทนสีจากธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ขนมชั้นมีสีสันน่ารับประทานมากขึ้น

  • ส่วนผสมของขนมชั้น

        1. หัวกะทิ 4 ถ้วย

        2. น้ำตาลทราย 3 ถ้วย

        3. น้ำลอยดอกมะลิ 1 ถ้วย

        4. แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ

        5. แป้งท้าวยายม่อม 1 ถ้วย

        6. แป้งข้าวเจ้า 2 ช้อนโต๊ะ

        7. แป้งมันสำปะหลัง 2 ถ้วย

        8. น้ำคั้นใบเตย หรือน้ำสีผสมอาหาร 2 ถ้วย



       วิธีทำขนมชั้น

    1. เตรียมน้ำเชื่อม โดยละลายน้ำตาลทราย 3 ถ้วย กับน้ำ 1 ถ้วย

    2. เทแป้งถั่วเขียว แป้งท้าวยายม่อม แป้งข้าวเจ้า และแป้งมันสำปะหลัง ลงคลุกผสมในชามให้เข้ากัน

    3. เทน้ำกะทิทีละน้อย พร้อมกวนผสมให้เข้ากัน 3-5 นาที

    4. เทน้ำเชื่อมลงผสมทีละน้อย และกวนแป้ง 3-5 นาที ให้เข้ากันหรือพอให้น้ำแป้งเริ่มติดหลังมือแล้ว ซึ่งจะได้น้ำแป้งที่หนืดข้น

    5. แบ่งแป้งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกนำไปนวดผสมกับน้ำคั้นสีจากพืชหรือสีผสมอาหาร ส่วนอีกครึ่ง นำน้ำลอยดอกมะลิเทลงผสม และกวนให้เข้ากัน

    6. ทาน้ำมันพืชบางๆที่ถาด ก่อนนำแป้งอีกส่วนที่ยังไม่ได้ผสมสีมาใส่ถาด และนำไปนึ่ง 3-5 นาที ทั้งนี้ อาจใช้น้ำแป้งส่วนที่ผสมสีแล้วเทเป็นชั้นแรกก็ได้ตามความต้องการ

    7. นำถาดขนมชั้นที่นึ่งสุกชั้นแรกออกมา และเทน้ำแป้งที่ผสมสีลงบางๆ กลายเป็นชั้นที่ 2 แล้วนำไปนึ่งให้สุก

    8. ทำตามขั้นตอนที่ 6 และ 7 ซ้ำๆ ตามจำนวนชั้นที่ต้องการ แต่การนึ่งครั้งสุดท้าย ให้ใช้เวลานึ่งนานกว่าทุกครั้งที่ 10-15 นาที หากต้องการชั้นสุดท้ายที่มีสีเข้มให้คั้นน้ำจากพืชอย่างเข้มข้นลงผสมกับน้ำแป้งชุดสุดท้ายที่เหลือในชาม

    9. เมื่อครบทุกชั้น และนึ่งชั้นสุดท้ายจนสุกแล้ว จึงยกลงตั้งทิ้งให้เย็น ก่อนตัดเป็นชิ้นพอคำรับประทานหรือจำหน่าย

  •         1. แป้งมันสำปะหลัง ช่วยทำให้เนื้อขนมมีความเนียน และดูใสเป็นมันวาว ส่วนเนื้อสัมผัสจะช่วยให้นุ่ม และเหนียว หนืด

            2. แป้งถั่วเขียว ช่วยทำให้เนื้อขนมมีความเหนียว และนุ่มคงตัว ไม่เหนียวมากหรือเหลวเกินไป

            3. แป้งท้าวยายม่อม ช่วยทำให้เนื้อขนมมีความเนียน แต่ค่อนข้างใสน้อยกว่าแป้งมันสำปะหลัง เนื้อสัมผัสมีความเหนียว และแข็งขึ้น

            4. แป้งข้าวเจ้า ช่วยทำให้เนื้อขนมแข็งขึ้น จับตัวกันได้ดี

  • -
  • -
  • -