กลับไปหน้าค้นหา

นายสุเทพ ฉิมวัย

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 135 หมู 7 ตำบล : ดอนปรู อำเภอ : ศรีประจันต์ จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ข้าพเจ้า ยึดอาชีพปลูกไม้ประดับ มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี ไม้ประดับที่ปลูกจะเป็นตระกูลปาล์ม เช่น  ปาล์มฟ็อกเทล ปาล์มพัด หมากนวล เปตติโคตปาล์ม แว็กซ์ปาล์ม อินทผลัม เป็นต้น  จากประสบการณ์จริงที่ปลูกเอง รวมทั้งข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนกันกับผู้ปลูกเลี้ยงต้นไม้ตระกูลปาล์ม จึงทำให้สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจได้


ความสำเร็จ : -
ความชำนาญ : การปลูกไม้ประดับ สวนหย่อม


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าพเจ้า ยึดอาชีพปลูกไม้ประดับ มาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี ไม้ประดับที่ปลูกจะเป็นตระกูลปาล์ม เช่น  ปาล์มฟ็อกเทล ปาล์มพัด หมากนวล เปตติโคตปาล์ม แว็กซ์ปาล์ม อินทผลัม เป็นต้น  จากประสบการณ์จริงที่ปลูกเอง รวมทั้งข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง รวมทั้งการแลกเปลี่ยนกันกับผู้ปลูกเลี้ยงต้นไม้ตระกูลปาล์ม จึงทำให้สามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่สนใจได้

  • 1) การคัดเลือกต้นพันธุ์



                                 อายุของต้นกล้าที่ใช้ปลูก ควรมีอายุ 10-18 เดือน และต้องผ่านการคัดต้นกล้า



    ที่ผิดปกติทิ้ง เช่น ต้นเตี้ย และแคระแกร็น ทางใบทำมุมที่แคบกว่าปกติ ทางใบสั้น ต้นผอมชะลูด ซึ่งการดูแลรักษาต้นกล้าปาล์มในแปลงเพาะ มีความสำคัญมาก ถ้ามีการนำต้นกล้าปาล์มที่ไม่แข็งแรงและไม่สมบูรณ์ไปปลูกจะให้ผลผลิตช้า และผลผลิตที่ได้จะต่ำในระยะยาว ดังนั้น การพิจารณาแหล่งพันธุ์และแหล่งเพาะกล้าจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการทำสวนปาล์มน้ำมันให้ประสบความสำเร็จ ไม่ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุต่ำกว่า 10 เดือน ไปปลูก เพราะการใช้ต้นกล้าอายุน้อยจะทำให้มีอัตราการผิดปกติของต้นปาล์มในแปลงสูง และให้ผลผลิตต่ำ ควรเลือกใช้ต้นกล้าปาล์มที่มีอายุ 18 เดือน ไปปลูก ทั้งนี้ เพราะจะทำให้ต้นปาล์มตกผลเร็ว และให้ผลผลิตถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าใช้ต้นกล้าปกติเป็นจุดที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นปัจจัยอันหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้



    2) การเตรียมดิน/เตรียมหลุมปลูก



                                 ปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แปลงปลูก การปลูกพืชคลุมดิน



    ควรปลูกในช่วงเตรียมพื้นที่ ปลูกหลังจากการวางแนวหลุมปลูก เพื่อให้พืชคลุมเจริญเติบโต คลุมพื้นที่แปลงปลูก ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และควบคุมวัชพืชก่อนที่จะย้ายปลูกต้นปาล์ม ปลูกพืชตระกูลถั่ว



    คลุมดินก่อนปลูกปาล์มน้ำมัน ในสัดส่วน ถั่วเพอราเรีย : ถั่วคาโลโปโกเนียม : ถั่วซีรูเลียม 3 : 3 :1 โดยน้ำหนัก โดยใช้เมล็ดอัตรา 1.5-2 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านเมล็ดเป็นแถวระหว่างแถวปลูกต้นปาล์ม ประมาณ 3-5 แถว ต่อระหว่างแถวปลูกปาล์ม หรือหยอดเป็นหลุมก็ได้ หลังจากเริ่มปลูกปาล์มถึงอายุ 3 ปี และสามารถปลูก



    พืชล้มลุกหรือพืชไร่ ในระหว่างแถวปาล์มน้ำมัน เพื่อเสริมรายได้ เช่น พืชผัก ข้าวโพด ถั่วต่างๆ สับปะรด



    เป็นต้น หลังจากวางแนวการปลูก และปลูกพืชคลุมดินเรียบร้อยแล้ว ควรเตรียมหลุมปลูก ซึ่งการเตรียมหลุม



    มีการปฏิบัติ ดังนี้ ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อย มีลักษณะเป็นรูปตัวยู หรือทรงกระบอก,



    การขุดหลุมควรแยกดินบน-ล่าง ออกจากกัน และใส่ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต (0-3-0) รองก้นหลุม 250-500 กรัม ต่อหลุม



    3) การปลูก



                                 ระยะเวลาปลูก ควรกำหนดช่วงเวลาในการปลูกปาล์มในช่วงฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องฤดูแล้ง หรือหลังจากปลูกต้นกล้าแล้วจะต้องมีฝนตกอีกอย่างน้อย 3 เดือน จึงจะเข้าฤดูแล้ง ถ้าเป็นไปได้หลังจากปลูกไม่ควรเกิน 10 วัน จะต้องมีฝนตก ทั้งนี้ เพื่อให้ต้นกล้าได้ตั้งตัว และมีการเจริญเติบโตในแปลงปลูกอย่างรวดเร็ว การปลูกจะต้องนำถุงพลาสติคออกจากต้นกล้าปาล์มอย่างระมัดระวัง อย่าให้ก้อนดินแตกโดยเด็ดขาด จะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต ประคองต้นกล้าอย่างระมัดระวังแล้ววางลงในหลุมปลูก ใส่ดินชั้นบนลงก้นหลุมแล้วจึงใส่ดินชั้นล่างตามลงไป และจัดต้นกล้าให้ตั้งตรงแล้วจึงอัดดินให้แน่น เมื่อปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะต้องอยู่ในระดับเดียวกันกับระดับดินเดิมของแปลงปลูก

                               หลังการปลูกควรมีการตรวจต้นปาล์มในแปลงปลูกทุกวัน เมื่อพบต้นที่โยกหรือเอน จะต้องปรับให้ต้นตั้งตรง ถ้าพบสัตว์และแมลงทำลายจะต้องป้องกันกำจัด และถ้าพบสภาพน้ำท่วมขังจะต้องระบายน้ำทันที ศัตรูที่สำคัญที่สุดในช่วงหลังการปลูก 1 ปี คือ สัตว์กัดกินต้นปาล์ม เช่น หนู จะต้องป้องกันกำจัด โดยใช้ลวดตาข่ายห่อปิดโคนต้นและใช้กับดัก นอกจากนี้ แมลงที่เป็นศัตรูในช่วงหลังปลูกคือ ด้วงกุหลาบ กัดกินใบในเวลากลางคืน ป้องกันกำจัด โดยใช้ฟูราดาน รองก้นหลุมประมาณ 1 ช้อนชา หรือใช้สารเซฟวิน 85% 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเย็นช่วงใกล้ค่ำ มีการกำจัดวัชพืชรอบโคนต้น หรือหากมีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ในช่วงต้นปาล์มอายุ 1-3 ปีแรก ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทดูดซึม



     










       


    4) การให้น้ำ

                                 - แนะนำให้รดน้ำ1-2ครั้งต่อวันตามความต้องการในช่วงแรกของการปลูก                                   



                                 - หลังจากที่รากต้นไม้เดินได้ดีแล้ว การรดน้ำก็ลดความจำเป็น อาจจะรดน้ำเพียงอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพดิน สภาพแวดล้อม และความสะดวก



                                 - ตระกูลปาล์ม มีความทนแล้งได้ดีมาก แต่การได้รับน้ำสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ต้นไม้สมบูรณ์แข็งแรงสวยงามได้เต็มศักยภาพ





    5) การให้ปุ๋ย



                                 - โดยปกติ ตระกูลปาล์มสามารถเติบโตได้ดีในดินทั่วๆไปโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม



                     - การใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ จะช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ใส่เพียงปีละ 1-2ครั้งก็เพียงพอสำหรับสารอาหารให้พืชเติบโตแข็งแรงได้ดี



                                - การใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 15-15-15 ครั้งละน้อยๆ ปีละ 1-2 ครั้ง ก็เพียงพอ แต่ไม่ได้มีความจำเป็นมากนัก

  • -
  • ข้อควรระวัง



                                 1) การปลูกพืชคลุมดิน ต้องไม่ให้เถาของพืชคลุมพันต้นปาล์มน้ำมัน และควรมีการป้องกันกำจัดหนูที่จะมากัดโคนต้นปาล์มน้ำมันอย่างสม่ำเสมอ 



                                 2) โรคที่สำคัญ ได้แก่

                                          1. โรคใบไหม้ พบมากในระยะต้นกล้า สาเหตุเกิดจากเชื้อรา การป้องกัน



    ทำได้โดยการกำจัดโดยให้เผาทำลายใบ และต้นที่เป็นโรค

                                          2. โรคก้านทางใบบิด พบในต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุระหว่าง 1 ถึง 3 ปีหลังจากนำลงปลูกในแปลงแล้ว ส่วนสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม การป้องกันทำได้โดยการกำจัดตัดทางใบที่เป็นโรคออกให้ต่ำกว่าเนื้อเยื่อส่วนที่เน่า



                                          3. โรคยอดเน่า พบในปาล์มน้ำมันอายุที่มีอายุระหว่าง 1 ถึง 3 ปี และจะระบาดมากในฤดูฝน ส่วนสาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและเชื้อรา การป้องกันทำได้โดยการกำจัด ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก แล้วราดสารเคมีในบริเวณกรวยยอดของต้นที่เป็นโรค

                                          4. โรคลำต้นเน่า พบมีการระบาดในปาล์มอายุระหว่าง 10 ถึง 15 ปี สาเหตุเกิดจากเชื้อรา การป้องกันทำได้โดยการกำจัด หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่เคยปลูกมะพร้าวมาก่อน และต้องมีการกำจัดต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงด้วย     

  • -
  • -