กลับไปหน้าค้นหา

นายสุพิน ชัยชนะ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 108/21 หมู 8 ตำบล : ตาเนาะแมเราะ อำเภอ : เบตง จังหวัด: ยะลา
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

          ข้าพเจ้า นายสุพิน   ชัยชนะ เดิมเป็นคนจังหวัดเชียงราย คุณพ่อ คุณแม่ เป็นชาวไร่ ชาวนา อยู่กินกับน้ำ พืช มาโดยตลอด ผมได้เติบโต และได้ศึกษาไม่สูงนัก พออ่านออกเขียนได้ มีความสุขดีก็เพราะ ภาคเกษตร พอมีความรู้ ความเข้าใจพอสมควร เมื่อมาอยู่เบตงในปี พ.ศ. 2531 มาอยู่บ้านปากบาง หมู่ที่ 8 เมื่อปี 2540 และแยกมาอยู่บ้านมาลาปี 2538 ถือว่าเป็นหมู่บ้านใหม่ มีการพัฒนา แต่งตั้งหน้าที่ของแต่ละคน ผมมีหน้าที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านเพราะได้ไปอบรมผู้นำสี่เสาหลัก จังหวัดยะลาเมื่อปี 2552 โครงการ 80 พรรษา พระภูมินทร์ 80 หมอดิน นำสู่ชีวิตพอเพียง เฉลิมพระเกียรติ และได้เป็นสมาชิกของโครงการ ศาสนาเซไคคิวเซเคียว (โยเร) ได้เรียนรู้ เรื่อง เกษตร วิธีทำปุ๋ยโบกฉิ EM ขยาย สโตจู้ กับ อีเอ็มไม่เป็นอันตรายต่อพืช สัตว์ บุคคล การใช้ปุ๋ยหมักทำให้ดินร่วนซุยไม่เป็นก้อน ลดการใช้จ่ายกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ประเทศไทยเราเหมาะกับกการทำเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะมีอุณหภูมิ พอดี มีความร้อนชื้น ปลูกพืช พันฐ์ยาหาร ออกดอกติดผลเป็นอย่างดี การทำเกษตรแบบพอเพียง ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ให้ปลูกหลายอย่าง ในพื้นที ต้องดูว่า ในที่ร่มที่กลางแจ้ง พืชชนิดใดชอบอยู่ที่กลางแจ้ง ใช้แสงแดดมาก  อย่างเช่นตระไคร้ ไม่ชอบอยู่ใน ในที่ร่ม  ชอบที่แจ้ง หัวจะโต กอใหญ่ว่าในที่ร่ม อย่าให้หญ้ารก อากาศถ่ายเทโตไว การทำเกษตร ต้องเป็นคนใจรักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม เหินห่างจากอบายมุข ทำให้สุขภาพดี มีเวลาทำงานมาก


ความสำเร็จ :

สรุปผลสำเร็จจากการทำเกษตรมาเป็นเวลาในยุค ข้าวยาก หมากแพง ยางลงราคา เศรษฐกิจตกต่ำ ภาคเกษตรแบบพอเพียง ของในหลวง ช่วยให้ มีกิน ไม่อดจริง ๆ เหลือกินก็ขาย แบ่งปันเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง



          ในเดือนกรกฎาคม 2559 มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาดูสวน มาถ่ายรูป ถ่ายทุกอย่าง เช่น มะละกอ พริก ตะไคร้ ถั่วฟักยาว แตงกวา ข้าวโพด มะเขือ ฟักทอง ดาวเรือง เพื่อสำรวจว่าในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ยางพาราลดราคา ทำไมอยู่ได้ มีผลกระทบกับการท่องเที่ยวหรือไม่



อยู่ได้ครับ ถ้าเราเป็นคนใจรัก ขยัน อดทน เพียรใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง จริงๆ แล้ว เราก็จะประสบผลสำเร็จ


ความชำนาญ : ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เกษตรเเบบพอเพียง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •           ข้าพเจ้า นายสุพิน   ชัยชนะ เดิมเป็นคนจังหวัดเชียงราย คุณพ่อ คุณแม่ เป็นชาวไร่ ชาวนา อยู่กินกับน้ำ พืช มาโดยตลอด ผมได้เติบโต และได้ศึกษาไม่สูงนัก พออ่านออกเขียนได้ มีความสุขดีก็เพราะ ภาคเกษตร พอมีความรู้ ความเข้าใจพอสมควร เมื่อมาอยู่เบตงในปี พ.ศ. 2531 มาอยู่บ้านปากบาง หมู่ที่ 8 เมื่อปี 2540 และแยกมาอยู่บ้านมาลาปี 2538 ถือว่าเป็นหมู่บ้านใหม่ มีการพัฒนา แต่งตั้งหน้าที่ของแต่ละคน ผมมีหน้าที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านเพราะได้ไปอบรมผู้นำสี่เสาหลัก จังหวัดยะลาเมื่อปี 2552 โครงการ 80 พรรษา พระภูมินทร์ 80 หมอดิน นำสู่ชีวิตพอเพียง เฉลิมพระเกียรติ และได้เป็นสมาชิกของโครงการ ศาสนาเซไคคิวเซเคียว (โยเร) ได้เรียนรู้ เรื่อง เกษตร วิธีทำปุ๋ยโบกฉิ EM ขยาย สโตจู้ กับ อีเอ็มไม่เป็นอันตรายต่อพืช สัตว์ บุคคล การใช้ปุ๋ยหมักทำให้ดินร่วนซุยไม่เป็นก้อน ลดการใช้จ่ายกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี ประเทศไทยเราเหมาะกับกการทำเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะมีอุณหภูมิ พอดี มีความร้อนชื้น ปลูกพืช พันฐ์ยาหาร ออกดอกติดผลเป็นอย่างดี การทำเกษตรแบบพอเพียง ไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ให้ปลูกหลายอย่าง ในพื้นที ต้องดูว่า ในที่ร่มที่กลางแจ้ง พืชชนิดใดชอบอยู่ที่กลางแจ้ง ใช้แสงแดดมาก  อย่างเช่นตระไคร้ ไม่ชอบอยู่ใน ในที่ร่ม  ชอบที่แจ้ง หัวจะโต กอใหญ่ว่าในที่ร่ม อย่าให้หญ้ารก อากาศถ่ายเทโตไว การทำเกษตร ต้องเป็นคนใจรักธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม เหินห่างจากอบายมุข ทำให้สุขภาพดี มีเวลาทำงานมาก

  • วิธีการกองปุ๋ยหมัก  ซุปเปอร์ พด.

    นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักแบ่งเป็น 4 ส่วน (ในกรณีที่กอง 4 ชั้น) โดยเมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จ ควรมีขนาดของกองกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้



    1. นำวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ส่วนแรกมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม

    2. นำมูลสัตว์โรยบนชั้นของวัสดุให้ทั่ว สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นนี้ จะใช้มูลสัตว์ชั้นละประมาณ 50 กก. รดน้ำให้ชุ่ม

    3. นำปุ๋ยยูเรียโรยลงบนชั้นของมูลสัตว์ สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นจะ.โรยยูเรียชั้นละประมาณ 0.5 กก. รดน้ำอีกเล็กน้อย

    4. นำสารเร่ง พด.-1 จำนวน 150 กรัม (1 ถุง) มาละลายน้ำ 20 สิตร แล้วคนให้สารเร่งละลายให้ทั่วกัน ประมาณ 15 นาที แล้วแบ่งไว้ 5 ลิตร นำไปรดให้ทั่วชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต่อไป

    5. นำวัสดุกองทับลงบนชั้นแรกของกองปุ๋ยหมัก แล้วปฏิบัติแบบเดียว กับการกองปุ๋ยหมักชั้นแรก ดำเนินการจนกระทั่งครบ 4 ชั้น โดยชั้นบนสุด ควรโรยทับด้วยมูลสัตว์ หรือดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ทั่วผิวหน้าของกองปุ๋ยหมัก

    สำหรับการใช้ฟางข้าวทำปุ๋ยหมัก จะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน และสามารถนำปุ๋ยที่ได้ไปต่อเชื้อสำหรับกองปุ๋ยหมักกองใหม่ได้เป็นอย่างดี หรือนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดินตามความต้องการต่อไป



    วิธีการทำ EM




    1. เตรียมเชื้อจุลินทรีย์ (ซื้อจาก ร้านขายผลิตภัณฑ์เกษตร) ขวดเล็ก ราคาประมาณ 30-40 บาท  

    2. เตรียมกากน้ำตาล ขวดเล็กราคาประมาณ 25 บาท ซื้อจาก ร้านขายผลิตภัณฑ์เกษตร (ใช้น้ำตาลน้ำำอ้อย หรือน้ำตาลทรายแดง น้ำมะพร้าว แทนก็ได้ )

    3. เตรียม ขวดน้ำดื่มขนาด เล็ก ( 0.6 ลิตร)   น้ำฝน น้ำบ่อ ที่สะอาด  ถ้าใช้น้ำประปา ให้ทิ้งไว้ หนึ่งคืน ให้คลอรีนระเหยไปหมดก่อน

    4. เติมน้ำเข้าขวด ให้เลยครึ่งขวดมาหน่อน ดังรูป

    5. เติมกากน้ำตาล ปริมาณ 2 ฝา ของขวด ดังรูป

    6. เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ปริมาณ 1 ฝา ของขวด ดังรูป (เจาะขวดจุลินทรีย์ สองรู ดังรูป ทำให้เทได้ง่า่ย)

    7. ปิดฝา เขย่าให้ส่วนผสม เข้ากัน แล้วเก็บไว้ในที่ร่ม

    8. เปิดฝาระบายอากาศออก เป็นระยะ (ในการหมักจะเกิด แกส ถ้าไม่ระบายขวดจะแตก)

    9. ประมาณ 4-5 วัน ใช้งานได้ สังเกตุว่า เมื่อเปิดขวดจะมีแกส ออกมาเหมือนการเปิดขวดน้ำอัดลม 



    วิธีการทำปุ๋ย โบฉิ



    ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ

    ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

    ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ



    ขั้นที่ 1 เตรียมจุลินทรีย์ EM , กากน้ำตาล , น้ำสะอาด , ผสมไว้ในถังน้ำ

    ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์ + รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

    ขั้นที่ 3 นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วบีบพอหมาดๆ



    นำมาคลุกกับส่วนผสม ขั้นที่ 2 ให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40 – 50 %( กำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ)

    การ หมัก เอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน , ถุงปุ๋ย ที่อากาศถ่ายเทได้ โดยบรรจุลงไป ? ของกระสอบไม่ต้องกดให้แน่น นำไปวางลงในที่มีฟางรอง เพื่อการระบายอากาศในส่วนส่วนล่างพลิกกลับกระสอบ ในวันที่ 2,3,4 ทุกๆ วัน ในวันที่ 2 – 3 อุณหภูมิ จะสูงถึง 50 0c – 60 0c วันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิเย็นลงจนปกติตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ปุ๋ยแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ได้



    การทำสารไล่เเมลงจากสมุนไพร

    ส่วนผสม

                    ดาวเรืองทั้งต้น ใบ  ดอก 0.5 ก.ก.  (ครึ่งกิโลกรัม)  นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด  ผสมน้ำ  3 ลิตร  หมักไว้  1 คืน  นำมากรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ใช้

    วิธีใช้

                    นำน้ำหมักดาวเรือง 5 ช้อนแกงผสมน้ำ  5 ลิตร  และน้ำสบู่ หรือยาสระผม  1 ช้อนแกง  ผสมด้วย  เพื่อช่วยให้เป็นสารจับใบ ฉีดพ่นพืชผัก  ผลไม้

    ประโยชน

                    ใช้ป้องกันเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยหอย  เพลี้ยไฟ  แมลงหวี่ขาว  แมลงวันผลไม้  หนอนใยผัก  หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก  หนอนกะหล่ำปลี  

    ด้วงปีกแข็ง   ไส้เดือน   ฝอย

  • สรุปผลสำเร็จจากการทำเกษตรมาเป็นเวลาในยุค ข้าวยาก หมากแพง ยางลงราคา เศรษฐกิจตกต่ำ ภาคเกษตรแบบพอเพียง ของในหลวง ช่วยให้ มีกิน ไม่อดจริง ๆ เหลือกินก็ขาย แบ่งปันเพื่อนบ้าน ญาติพี่น้อง



              ในเดือนกรกฎาคม 2559 มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาดูสวน มาถ่ายรูป ถ่ายทุกอย่าง เช่น มะละกอ พริก ตะไคร้ ถั่วฟักยาว แตงกวา ข้าวโพด มะเขือ ฟักทอง ดาวเรือง เพื่อสำรวจว่าในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ยางพาราลดราคา ทำไมอยู่ได้ มีผลกระทบกับการท่องเที่ยวหรือไม่



    อยู่ได้ครับ ถ้าเราเป็นคนใจรัก ขยัน อดทน เพียรใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง จริงๆ แล้ว เราก็จะประสบผลสำเร็จ

  • -
  • - อบรมหมอดิน การทำปุ๋ยหมัก จากหน่วยงาน กรมพัฒนาที่ดิน

  • - การทำปุ๋ยหมัก ซุปเปอร์ พด.1



              - การทำ EM ขยาย



              - การทำปุ๋ยโบกฉิ



              - การทำสารไล่แมลงโดยสมุนไพร