กลับไปหน้าค้นหา

นายเกษมชัย แสงสว่าง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 80 หมู 11 ตำบล : หนองโพธิ์ อำเภอ : หนองหญ้าไซ จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปวส.
ประวัติ :

“สอนให้ทำ นำให้คิด สาธิตให้ดู  เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  สลัดทิ้งความเคยชินเก่า ๆ



ทำตัวเราให้เป็นแบบอย่าง”





  1. จาก“ปัญหา” พัฒนาด้วย “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”สู่ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ขยายผลสู่ปวงชนชาวไทย



              จากอดีตที่เคยมีแต่ความมั่งคั่ง  ทำนาปลูกข้าว ปลูกพืชผัก ส่งลูกเรียน ไม่เคยหนีหนี้สิน  มีข้าวกิน  มีเงินเหลือเก็บ  มีสุขภาพจิต  สุขภาพแข็งแรง  แต่ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวแต่ต้องซื้อข้าวกิน  หนี้สินท่วมตัว  ทำนาปรังเหลือแต่ซัง กับหนี้  ทำนาปี เหลือแต่หนี้กับซัง  ความเสื่อมโทรมที่เกิดจากการสะสมสารเคมี สารพิษในร่างกายของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศ เกิดวิกฤติการ ตามมามากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องย้อนกลับมาทบทวนวิธีการ และแนวคิดเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหา คือเหตุที่เราจะได้หลุดพ้นจากคำว่า โง่ จน เจ็บ



    จึงเป็นจุดเปลี่ยนชาวหนองกระโดนมน หันมาใส่ใจและทบทวน ปัญหาสุขภาพกับการใช้สารเคมี ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น จึงได้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจเลือด เพื่อเพิ่มการตรวจได้อย่างทั่วถึงผลเลือดที่ออกมาได้กลายเป็นแรงผลักดัน และกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรชีวภาพมากขึ้น การเจ็บป่วยสามารถบอกได้ชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากการสะสมของสารเคมีในร่างกายที่กระจายอยู่ตามดิน น้ำ และอากาศ. ชาวบ้าน”เผชิญ”กับ”ทุกข์ภาวะ” ทั้งมิติของสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกัน เพราะความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเข้ามาของกระแสบริโภคนิยมที่ทำให้เกิดการแข่งขัน ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องใช้สารเคมีในการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด




ความสำเร็จ :

การเอาใจใส่ดูแล  ความมานะอดทน


ความชำนาญ : เศรษฐกิจพอเพียง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • “สอนให้ทำ นำให้คิด สาธิตให้ดู  เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง  สลัดทิ้งความเคยชินเก่า ๆ



    ทำตัวเราให้เป็นแบบอย่าง”





    1. จาก“ปัญหา” พัฒนาด้วย “ภูมิปัญญาท้องถิ่น”สู่ภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ขยายผลสู่ปวงชนชาวไทย



                จากอดีตที่เคยมีแต่ความมั่งคั่ง  ทำนาปลูกข้าว ปลูกพืชผัก ส่งลูกเรียน ไม่เคยหนีหนี้สิน  มีข้าวกิน  มีเงินเหลือเก็บ  มีสุขภาพจิต  สุขภาพแข็งแรง  แต่ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวแต่ต้องซื้อข้าวกิน  หนี้สินท่วมตัว  ทำนาปรังเหลือแต่ซัง กับหนี้  ทำนาปี เหลือแต่หนี้กับซัง  ความเสื่อมโทรมที่เกิดจากการสะสมสารเคมี สารพิษในร่างกายของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศ เกิดวิกฤติการ ตามมามากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องย้อนกลับมาทบทวนวิธีการ และแนวคิดเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหา คือเหตุที่เราจะได้หลุดพ้นจากคำว่า โง่ จน เจ็บ



      จึงเป็นจุดเปลี่ยนชาวหนองกระโดนมน หันมาใส่ใจและทบทวน ปัญหาสุขภาพกับการใช้สารเคมี ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น จึงได้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจเลือด เพื่อเพิ่มการตรวจได้อย่างทั่วถึงผลเลือดที่ออกมาได้กลายเป็นแรงผลักดัน และกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรชีวภาพมากขึ้น การเจ็บป่วยสามารถบอกได้ชัดเจนว่ามีสาเหตุมาจากการสะสมของสารเคมีในร่างกายที่กระจายอยู่ตามดิน น้ำ และอากาศ. ชาวบ้าน”เผชิญ”กับ”ทุกข์ภาวะ” ทั้งมิติของสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกัน เพราะความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเข้ามาของกระแสบริโภคนิยมที่ทำให้เกิดการแข่งขัน ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องใช้สารเคมีในการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ได้มากที่สุด



  • คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ฯ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน




    1. เรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    2. เรียนรู้การแปรรูปกล้วยสมุนไพร

    3. เรียนรู้การทำน้ำยาล้างจาน  ลดรายจ่ายในครัวเรือน



    4.  เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ – ฮอร์โมน การเลี้ยงจุลินทรีย์



    - ทำปุ๋ยหมัก



    - ฮอร์โมน จากผลไม้ สัตว์ ยอดพืช ไข่



    - สารไล่แมลง จากสมุนไพร 7 รส ได้แก่ ขม ฝาด เบื่อเมา เผ็ดร้อน หอมระเหย จืด และเปรี้ยว



    - ชีวภัณฑ์



    - บิวเวอร์เรีย  ราขาว



    - ไตรโคเดอร์มา ราเขียว



    - เชื้อบีที  กำจัดหนอน



    - ระเบิดน้ำใส (อีเอ็มบอล)  บำบัดน้ำเสีย



    5.  เรียนรู้การทำปลาส้มจืด  “อาหารไร้ไขมัน ปลอดภัย ไร้สารพิษ อร่อยที่สุดในโลก”



    6.  เรียนรู้การเผาถ่าน ได้น้ำส้มควันไม้ เป็นสารไล่แมลง  และฮอร์โมนเพิ่มความหวานให้อ้อย




    1. เรียนรู้การเลี้ยงหมูหลุม

    2. เรียนรู้การคัดแยกขยะ




    1. ฝึกอบรมอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



    - การจัดการขยะ แจกถังขยะให้กับครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 30 ครัวเรือน เพื่อคัดแยกขยะ



    - ดูแลคุณภาพน้ำ



    - ธนาคารต้นไม้  แจกพันธุ์กล้าไม้



    - การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง



      ไม้ปลูกสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ได้แก่ สัก ประดู่ ยางนา ฯลฯ



      ไม้ใช้สอย นำมาจักสาน  เผาถ่าน  ได้แก่ ไม้ไผ่  ฯลฯ



      ไม้กินได้  ได้แก่ มะม่วง  มะพร้าว ฯลฯ



    ไม้ 4 ระดับ



      ไม้เรือนยอดชั้นบนสูงเกิน  30 เมตร ใช้ปลูกสร้างบ้านเรือน  ได้แก่ สัก ยางนา ฯลฯ



      ไม้เรือนยอดชั้นกลาง เป็นไม้เพื่อกิน เพื่อขาย ได้แก่ มะม่วง ฯลฯ



      ไม้เตี้ย เรี่ยดิน ได้แก่ ไม้เลื้อย ผักสวนครัว สมุนไพร



                         ใต้ดิน  ได้แก่ กลอย มัน กระชาย ฯลฯ



              -  ธนาคารต้นไม้ 




    1. เรียนรู้การแปรรูปหมูส้ม

    2. เรียนรู้การทำนาข้าวอินทรีย์  ปลูกข้าวไว้บริโภค เหลือจำหน่าย ได้แก่ ไรเบอรี่ หอมมะลิ 10



    หอมมะลิแดง   หอมนิล  ขาวตาเคลือบ  ข้าวลืมผัว




    1.  เรียนรู้การผลิตข้าวกล้องปลอดสาร  ผลิตเอง กินเอง จำหน่ายเอง เน้นการพึ่งตนเอง

    2.  เรียนรู้ 1 ไร่ แก้จน



    10. เรียนรู้การอนุรักษ์ดนตรีกลองยาว



    11. เรียนรู้การฟื้นฟูดิน โดยวิธีการทางเกษตรอินทรีย์  ทำฮอร์โมน และน้ำหมักชีวภาพ ลดต้นทุนการผลิต 



    12.  เรียนรู้การใช้พลังงานทดแทน ได้แก่ จัดทำจักรยาน 3 เด้ง เพื่อรดต้นไม้  ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าเซล สูบน้ำ

  • การเอาใจใส่ดูแล  ความมานะอดทน

  • -
  • 1.ประกาศเชิดชูเกียรติผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่น



    2.โล่ผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อแผ่นดิน



    3.รับพระราชทานเข็มบริจาคโลหิต จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


    1. ครอบครัวพัฒนาตัวอย่าง

    2. ผู้นำผลงานดีเด่นสร้างสรรค์งานพัฒนาชุมชนตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่นของจังหวัดสุพรรณบุรี

    3. อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านดีเด่นของจังหวัดสุพรรณบุรี

    4. ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองกระโดนมน

    5. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนสมบูรณ์แบบบ้านหนองกระโดนมน

    6. หมู่บ้านสารสนเทศจังหวัดสุพรรณบุรี

    7. แผนชุมชนพึ่งตนเองชนะเลิศการประกวดภาคกลาง

    8. ชุมชนวัฒนธรรมไทยสู้ภัยเศรษฐกิจ ของจังหวัดสุพรรณบุรี

    9. คณะกรรมการหมู่บ้าน เกรด A เข้มแข็ง

    10. หมู่บ้านคนดีศรีสุพรรณ ตำบลหนองโพธิ์

    11. โครงการโรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

    12. โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว"ปลูกป่าครัวเรือน"

    13. โครงการจัดการขยะชุมชนโดยเริ่มต้นที่ครัวเรือน

    14. การจัดตั้งเครือข่ายพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัดสุพรรณบุรี

    15. การจัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน



    ในระดับอำเภอ และจังหวัด




    1. การบริหารจัดการน้ำชลประทานในระดับกลุ่มบริหารและในระดับโครงการส่งน้ำ ดีเด่น



    ระดับประเทศ




    1. การบริหารจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ ดีเด่นระดับประเทศ

    2. การจัดการชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสุขมวลรวม

    3. ติดตามสนับสนุนกลุ่มองค์กรที่ผ่านการอบรมจากศูนย์เรียนรู้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้

    4. การขับเคลื่อนงานของศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    5. การขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำท่าจีนจังหวัด

    6. การขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์



    ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สุพรรณบุรี




    1. การร่วมสืบสานประเพณีพื้นบ้านการทำบุญกลางบ้าน

    2. การจัดทำเฟสบุ๊คเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานของศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ไฟล์แนบอื่นๆ