กลับไปหน้าค้นหา

นายทองเวียน วันตา

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 124 หมู 3 ตำบล : โคกก่อง อำเภอ : เมืองบึงกาฬ จังหวัด: บึงกาฬ
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

ปัจจุบัน ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆประเทศ ในประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด และที่มาของเสียอันตรายจากชุมชนมากกว่าครึ่งที่กำจัด ในสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย การถูกกำจัดพร้อมกับขยะมูลฝอยชุมชนหรือปล่อยทิ้งสู่ท่อน้ำเสีย หรือระบายสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง การกระทำเช่นนี้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของสาธารณะ และอาจส่งผลให้มีการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินอีกด้วย



              ดังนั้น ครัวเรือนสัมมาชีพบ้านนาคำ ม.3 ต.โคกก่อง อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ จึงเห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะมูลฝอยหรือของเสียอันตรายจากต้นทางที่ครัวเรือน จึงได้จัดทำโครงการลดขยะต้นทางจากขยะเปียก เศษอาหารจากทุกครัวเรือนมาแปลงสภาพเป็นน้ำหมักชีวภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ดังนี้



1. ใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงสัตว์



    1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของสัตว์  

              การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางให้สัตว์กินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ย่อยอาหารได้ดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าสัตว์กินอาหารประเภทพืชสดหรือหญ้าสด จะช่วยประหยัดอาหารสัตว์

ได้ถึง 30 % เพราะกระบวนการย่อยและดูดซึมสารอาหารจะดีขึ้น



    2. ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่สัตว์  

              การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา

1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จากการเปลี่ยนสูตรอาหารในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต และจากการขนย้ายสัตว์

 

    3. ช่วยเพิ่มผลผลิต  

              การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา

1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีลูกดกขึ้น ไข่ดกขึ้น ปริมาณน้ำนมมากขึ้น



    4. ช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ หรือในฟาร์ม

              การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา

1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้มูลสัตว์มีกลิ่นเหม็นน้อยลง และถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 100 - 300 ส่วน ฉีดล้างคอกสัตว์เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกหรือในฟาร์ม ส่วนน้ำล้างคอกสัตว์

ถ้านำไปบำบัดอย่างถูกวิธี จะนำไปรดต้นไม้หรือแปลงหญ้าอาหารสัตว์ได้โดยไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม



    5. ช่วยป้องกันน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเน่าเสีย

        การใช้น้ำหมักชีวภาพในอัตรา 1 ลิตร ต่อปริมาณน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร ใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

เป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน (แล้วแต่สภาพน้ำและความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง) จะช่วยลดความเน่าเสียของน้ำ ทำให้ไม่ต้องถ่ายน้ำบ่อยๆ หรืออาจไม่ต้องถ่ายน้ำในบ่อเลย



 2. ใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช



        การใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพในด้านการเพาะปลูกพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นที่การใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้พืชโดยตรง  แต่จะเป็นการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ให้ไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับกระบวนการปลูกพืชมากกว่า เพราะในน้ำหมักชีวภาพจะมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม หรือ กรดอะมิโนและสารอื่นๆ ในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้หมัก  แต่จะนิยมใช้ในกิจกรรมต่อไปนี้มากกว่า

 

    1. ช่วยลดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการกำจัดชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้งจากการเพาะปลูก  

            โดยนำชิ้นส่วนของพืชที่เหลือจากแปลงเพาะปลูก มาแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร โดยไม่ต้องขนไปทิ้ง ไม่ต้องเผา



    2. ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น

            โดยนำน้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำให้เจือจาง ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วนรดลงบนดินที่มีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่เป็นประจำ จะช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ จะไปย่อยอินทรียวัตถุให้สลายตัวเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น และดินจะโปร่งขึ้น การอุ้มน้ำและการระบายอากาศจะดีขึ้น

   

    3. ช่วยป้องกัน/กำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช

             การนำพืชที่มีสารออกฤทธิ์ในการขับไล่หรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม บอระเพ็ด ขิง ข่า สาบเสือ ฯลฯ แล้วผสมกับน้ำให้เจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันและหรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชบางชนิดได้

   

    4. ช่วยผลิตฮอร์โมนพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช

             การนำส่วนของพืชที่มีสารกระตุ้นในการผลิตฮอร์โมนพืช เช่น ส่วนยอดของพืช ส่วนดอก หรือผล รวมถึงน้ำมะพร้าว  ฯลฯ มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ แล้วผสมกับน้ำให้เจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะเร่งการเจริญเติบโตส่วนต่างๆของพืชได้



3. ใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม



    1. ช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น 

             นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วนรดลงบนพื้นหรือฉีดพ่นไปตามกอหญ้ารอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ จะช่วยไล่แมลง และขจัดกลิ่นเหม็นรอบๆบ้านได้



   2. ใช้บำรุงสนามหญ้า

             นำน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้สนามหญ้า

หลังจากตัดหญ้า อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สนามหญ้าสมบูรณ์ขึ้น



    3. ใช้ดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำ

             นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ

จะช่วยดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำได้



    4.  ใช้ทำความสะอาดตลาดสด

             น้ำที่ล้างพื้น ถ้านำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน จะช่วยให้การทำความสะอาดพื้นง่ายขึ้น หรือใช้ราดพื้นเป็นขั้นสุดท้ายหลังจากที่ล้างแล้ว จะช่วยขจัดกลิ่นเหม็นและไล่แมลงต่างๆได้



    5. ใช้ดับกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ

             นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำ กลิ่นเหม็นจะลดลง และจะช่วยลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ



   6. ใช้บำบัดน้ำเสีย

             น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัด

น้ำเสียได้



4. ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน



    1. ใช้ในการอาบน้ำ ล้างหน้า 

              นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 30 ส่วน อาบน้ำหรือล้างหน้า เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นตัว ลดสิว ลดฝ้ารักษาโรคผิวหนัง



    2. ใช้ในการสระผม 

              นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน สระผม เป็นประจำ ผมจะสะอาด นุ่ม และช่วยลดรังแค แก้คันศีรษะ (ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพจากใบส้มป่อย หรือใบหมี่ จะทำให้ผมนุ่มสลวยเป็นเงางาม)



    3. ใช้ในการซักผ้า

              นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน แช่ผ้าทิ้งไว้ 10 นาที แล้วซัก จะช่วยให้ผ้าสะอาด เนื้อผ้านุ่ม คงทน ดับกลิ่นอับ และช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย



    4. ใช้แปรงฟัน

              การใช้แปรงสีฟันจุ่มน้ำหมักชีวภาพเพียงเล็กน้อย แปรงฟันจนสะอาด แล้วบ้วนน้ำล้างปากให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบหินปูนและลดกลิ่นปากได้ ถ้าใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการเสียวฟัน ป้องกันฟันผุ

(แต่ไม่ควรใช้ในเด็กเพราะฟลูออไรด์ที่เคลือบฟันอาจถูกสลายจากความเป็นกรดของน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น และไม่ต้องตกใจว่าการใช้น้ำหมักชีวภาพแปรงฟันจะไม่เป็นอันตรายหรือ เพราะนมเปรี้ยวที่เราดื่มกันนั้นก็เป็นน้ำหมักชีวภาพชนิดหนึ่งเหมือนกัน)



    5. ใช้บ้วนปาก

              การใช้น้ำหมักชีวภาพผสมในการทำน้ำยาบ้วนปาก(ศึกษาได้จากสูตรการทำน้ำยาบ้วนปาก)ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็โทษที่อยู่ในช่องปากได้



    6. ใช้ล้างจาน 

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 20 ส่วน ล้างจาน หรือใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด หรือมะนาว หรือสับปะรด หรือมะเฟือง 1 ส่วน ผสมน้ำยาล้างจาน 5 ส่วน จะช่วยขจัดคราบไขมันได้ดีขึ้น



    7. ใช้ล้างสารพิษตกค้างในผักและผลไม้

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน แช่ไว้นาน 45 นาที หรือ ใช้น้ำหมักชีวภาพเข้มข้น  แช่ไว้นาน 20 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดสารพิษ ทำให้ผักผลไม้กรอบขึ้น และเก็บได้นานขึ้น



    8. ใช้ล้างห้องน้ำ  

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ราดทิ้งไว้ 10 นาที แล้วขัดถูล้างห้องน้ำ จะช่วยขจัดคราบสกปรก กำจัดกลิ่นเหม็น ฆ่าเชื้อโรค



    9. ใช้ถูพื้น 

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ซักผ้าถูพื้น จะช่วยขจัดคราบสกปรก  กำจัดกลิ่นเหม็น

และฆ่าเชื้อโรคที่พื้น



     10. ใช้เช็ดกระจก 

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ชุบน้ำเช็ดคราบสกปรก  แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด  จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี  กระจกใสสะอาด ฝุ่นเกาะน้อยลง



     11. ใช้ล้างรถ 

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ล้างคราบสกปรก  แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด  จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี  สะอาดเงางาม  ฝุ่นเกาะน้อยลง



     12. ใช้ไล่แมลงวัน มด ยุง แมลงสาบ

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วนผสมน้ำ 10 ส่วน ฉีดพ่นในบ้าน ในห้องต่างๆทุกซอกทุกมุม และรอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ อากาศในห้องจะดีขึ้น และจะค่อยๆช่วยลดปริมาณแมลงต่างๆได้



     13.  ใช้กำจัดกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม

              นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน ล้างทำความสะอาดพื้นและสุขภัณฑ์ต่างๆ จะทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น กลิ่นเหม็นจะลดลงและช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำในห้องครัว ห้องน้ำห้องส้วม



     14. ใช้บำบัดน้ำเสียในครัวเรือนก่อนปล่อยทิ้ง

              ใส่น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัด

น้ำเสียได้



     15. ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี



     16. ใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้ประเภทเซรามิก เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องประดับต่างๆ  

              ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน เช็ดล้างทำความสะอาดจะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี


ความสำเร็จ :

มีครัวเรือนสัมมาชีพต้นแบบที่ทำอย่างต่อเนื่อง เห็นผลที่ชัดเจน



เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี



1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป 



2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทนเป็นต้น 



3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น



การใช้ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ



1. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพมีค่า ความเข้มข้นของสารละลายสูง ( ค่า EC เกิน 4 Ds/m ) และเป็น กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3.6-4.5 ก่อนนำไปใช้กับพืชต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เป็นกลาง โดยเติมหินฟอสเฟต ปูนไดโลไมล์ ปูนขาว กระดูกป่น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 100 ลิตร แล้วผสมปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร



2. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้



3. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริม



4. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ มีฮอร์โมนในกลุ่ม อ๊อกซิน ได้แก่ อินโดลอะซิติกแอซิล (LAA) มีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน (GA3) ช่วยทำลายการฟักตัวของเมล็ด กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น ส่งเสริมการออกดอก และทำให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น และฮอร์โมน กลุ่มไซโตโคนิน ได้แก่ เซติน (Zeatin) และไคเนติน (Kinetin) มีผลกระตุ้นการเกิดตา ช่วยเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืช และช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น



 


ความชำนาญ : น้ำหมักชีวภาพ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ปัจจุบัน ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆประเทศ ในประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และ ของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด และที่มาของเสียอันตรายจากชุมชนมากกว่าครึ่งที่กำจัด ในสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย การถูกกำจัดพร้อมกับขยะมูลฝอยชุมชนหรือปล่อยทิ้งสู่ท่อน้ำเสีย หรือระบายสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง การกระทำเช่นนี้ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของสาธารณะ และอาจส่งผลให้มีการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินอีกด้วย



                  ดังนั้น ครัวเรือนสัมมาชีพบ้านนาคำ ม.3 ต.โคกก่อง อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ จึงเห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะมูลฝอยหรือของเสียอันตรายจากต้นทางที่ครัวเรือน จึงได้จัดทำโครงการลดขยะต้นทางจากขยะเปียก เศษอาหารจากทุกครัวเรือนมาแปลงสภาพเป็นน้ำหมักชีวภาพที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย ดังนี้



    1. ใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงสัตว์



        1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของสัตว์  

                  การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางให้สัตว์กินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ย่อยอาหารได้ดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าสัตว์กินอาหารประเภทพืชสดหรือหญ้าสด จะช่วยประหยัดอาหารสัตว์

    ได้ถึง 30 % เพราะกระบวนการย่อยและดูดซึมสารอาหารจะดีขึ้น



        2. ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่สัตว์  

                  การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา

    1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จากการเปลี่ยนสูตรอาหารในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต และจากการขนย้ายสัตว์

     

        3. ช่วยเพิ่มผลผลิต  

                  การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา

    1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีลูกดกขึ้น ไข่ดกขึ้น ปริมาณน้ำนมมากขึ้น



        4. ช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ หรือในฟาร์ม

                  การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา

    1 ส่วนต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้มูลสัตว์มีกลิ่นเหม็นน้อยลง และถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 100 - 300 ส่วน ฉีดล้างคอกสัตว์เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกหรือในฟาร์ม ส่วนน้ำล้างคอกสัตว์

    ถ้านำไปบำบัดอย่างถูกวิธี จะนำไปรดต้นไม้หรือแปลงหญ้าอาหารสัตว์ได้โดยไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม



        5. ช่วยป้องกันน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเน่าเสีย

            การใช้น้ำหมักชีวภาพในอัตรา 1 ลิตร ต่อปริมาณน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร ใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

    เป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน (แล้วแต่สภาพน้ำและความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง) จะช่วยลดความเน่าเสียของน้ำ ทำให้ไม่ต้องถ่ายน้ำบ่อยๆ หรืออาจไม่ต้องถ่ายน้ำในบ่อเลย



     2. ใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช



            การใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพในด้านการเพาะปลูกพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นที่การใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้พืชโดยตรง  แต่จะเป็นการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ให้ไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับกระบวนการปลูกพืชมากกว่า เพราะในน้ำหมักชีวภาพจะมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม หรือ กรดอะมิโนและสารอื่นๆ ในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้หมัก  แต่จะนิยมใช้ในกิจกรรมต่อไปนี้มากกว่า

     

        1. ช่วยลดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการกำจัดชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้งจากการเพาะปลูก  

                โดยนำชิ้นส่วนของพืชที่เหลือจากแปลงเพาะปลูก มาแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร โดยไม่ต้องขนไปทิ้ง ไม่ต้องเผา



        2. ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น

                โดยนำน้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำให้เจือจาง ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วนรดลงบนดินที่มีอินทรีย์วัตถุผสมอยู่เป็นประจำ จะช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ จะไปย่อยอินทรียวัตถุให้สลายตัวเป็นธาตุอาหารพืชได้เร็วขึ้น และดินจะโปร่งขึ้น การอุ้มน้ำและการระบายอากาศจะดีขึ้น

       

        3. ช่วยป้องกัน/กำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช

                 การนำพืชที่มีสารออกฤทธิ์ในการขับไล่หรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม บอระเพ็ด ขิง ข่า สาบเสือ ฯลฯ แล้วผสมกับน้ำให้เจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันและหรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชบางชนิดได้

       

        4. ช่วยผลิตฮอร์โมนพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช

                 การนำส่วนของพืชที่มีสารกระตุ้นในการผลิตฮอร์โมนพืช เช่น ส่วนยอดของพืช ส่วนดอก หรือผล รวมถึงน้ำมะพร้าว  ฯลฯ มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ แล้วผสมกับน้ำให้เจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะเร่งการเจริญเติบโตส่วนต่างๆของพืชได้



    3. ใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม



        1. ช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น 

                 นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วนรดลงบนพื้นหรือฉีดพ่นไปตามกอหญ้ารอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ จะช่วยไล่แมลง และขจัดกลิ่นเหม็นรอบๆบ้านได้



       2. ใช้บำรุงสนามหญ้า

                 นำน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้สนามหญ้า

    หลังจากตัดหญ้า อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สนามหญ้าสมบูรณ์ขึ้น



        3. ใช้ดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำ

                 นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ

    จะช่วยดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำได้



        4.  ใช้ทำความสะอาดตลาดสด

                 น้ำที่ล้างพื้น ถ้านำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน จะช่วยให้การทำความสะอาดพื้นง่ายขึ้น หรือใช้ราดพื้นเป็นขั้นสุดท้ายหลังจากที่ล้างแล้ว จะช่วยขจัดกลิ่นเหม็นและไล่แมลงต่างๆได้



        5. ใช้ดับกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ

                 นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำ กลิ่นเหม็นจะลดลง และจะช่วยลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ



       6. ใช้บำบัดน้ำเสีย

                 น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัด

    น้ำเสียได้



    4. ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน



        1. ใช้ในการอาบน้ำ ล้างหน้า 

                  นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 30 ส่วน อาบน้ำหรือล้างหน้า เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นตัว ลดสิว ลดฝ้ารักษาโรคผิวหนัง



        2. ใช้ในการสระผม 

                  นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน สระผม เป็นประจำ ผมจะสะอาด นุ่ม และช่วยลดรังแค แก้คันศีรษะ (ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพจากใบส้มป่อย หรือใบหมี่ จะทำให้ผมนุ่มสลวยเป็นเงางาม)



        3. ใช้ในการซักผ้า

                  นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน แช่ผ้าทิ้งไว้ 10 นาที แล้วซัก จะช่วยให้ผ้าสะอาด เนื้อผ้านุ่ม คงทน ดับกลิ่นอับ และช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย



        4. ใช้แปรงฟัน

                  การใช้แปรงสีฟันจุ่มน้ำหมักชีวภาพเพียงเล็กน้อย แปรงฟันจนสะอาด แล้วบ้วนน้ำล้างปากให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบหินปูนและลดกลิ่นปากได้ ถ้าใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการเสียวฟัน ป้องกันฟันผุ

    (แต่ไม่ควรใช้ในเด็กเพราะฟลูออไรด์ที่เคลือบฟันอาจถูกสลายจากความเป็นกรดของน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น และไม่ต้องตกใจว่าการใช้น้ำหมักชีวภาพแปรงฟันจะไม่เป็นอันตรายหรือ เพราะนมเปรี้ยวที่เราดื่มกันนั้นก็เป็นน้ำหมักชีวภาพชนิดหนึ่งเหมือนกัน)



        5. ใช้บ้วนปาก

                  การใช้น้ำหมักชีวภาพผสมในการทำน้ำยาบ้วนปาก(ศึกษาได้จากสูตรการทำน้ำยาบ้วนปาก)ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็โทษที่อยู่ในช่องปากได้



        6. ใช้ล้างจาน 

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 20 ส่วน ล้างจาน หรือใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด หรือมะนาว หรือสับปะรด หรือมะเฟือง 1 ส่วน ผสมน้ำยาล้างจาน 5 ส่วน จะช่วยขจัดคราบไขมันได้ดีขึ้น



        7. ใช้ล้างสารพิษตกค้างในผักและผลไม้

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน แช่ไว้นาน 45 นาที หรือ ใช้น้ำหมักชีวภาพเข้มข้น  แช่ไว้นาน 20 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดสารพิษ ทำให้ผักผลไม้กรอบขึ้น และเก็บได้นานขึ้น



        8. ใช้ล้างห้องน้ำ  

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ราดทิ้งไว้ 10 นาที แล้วขัดถูล้างห้องน้ำ จะช่วยขจัดคราบสกปรก กำจัดกลิ่นเหม็น ฆ่าเชื้อโรค



        9. ใช้ถูพื้น 

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ซักผ้าถูพื้น จะช่วยขจัดคราบสกปรก  กำจัดกลิ่นเหม็น

    และฆ่าเชื้อโรคที่พื้น



         10. ใช้เช็ดกระจก 

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ชุบน้ำเช็ดคราบสกปรก  แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด  จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี  กระจกใสสะอาด ฝุ่นเกาะน้อยลง



         11. ใช้ล้างรถ 

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ล้างคราบสกปรก  แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด  จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี  สะอาดเงางาม  ฝุ่นเกาะน้อยลง



         12. ใช้ไล่แมลงวัน มด ยุง แมลงสาบ

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วนผสมน้ำ 10 ส่วน ฉีดพ่นในบ้าน ในห้องต่างๆทุกซอกทุกมุม และรอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ อากาศในห้องจะดีขึ้น และจะค่อยๆช่วยลดปริมาณแมลงต่างๆได้



         13.  ใช้กำจัดกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม

                  นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน ล้างทำความสะอาดพื้นและสุขภัณฑ์ต่างๆ จะทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น กลิ่นเหม็นจะลดลงและช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำในห้องครัว ห้องน้ำห้องส้วม



         14. ใช้บำบัดน้ำเสียในครัวเรือนก่อนปล่อยทิ้ง

                  ใส่น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัด

    น้ำเสียได้



         15. ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี



         16. ใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้ประเภทเซรามิก เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องประดับต่างๆ  

                  ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน เช็ดล้างทำความสะอาดจะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี

  • วัสดุและอุปกรณ์





                     1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า 





                           2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง





                                   3. ถังสำหรับหมัก





                                          4. มีด

     



    วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ



    1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ



    2. บรรจุลงในภาชนะ



    3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน



    4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน



    5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม



    6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน



    7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป



    8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

  • มีครัวเรือนสัมมาชีพต้นแบบที่ทำอย่างต่อเนื่อง เห็นผลที่ชัดเจน



    เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี



    1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป 



    2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทนเป็นต้น 



    3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น



    การใช้ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ



    1. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพมีค่า ความเข้มข้นของสารละลายสูง ( ค่า EC เกิน 4 Ds/m ) และเป็น กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3.6-4.5 ก่อนนำไปใช้กับพืชต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เป็นกลาง โดยเติมหินฟอสเฟต ปูนไดโลไมล์ ปูนขาว กระดูกป่น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 100 ลิตร แล้วผสมปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร



    2. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้



    3. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริม



    4. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ มีฮอร์โมนในกลุ่ม อ๊อกซิน ได้แก่ อินโดลอะซิติกแอซิล (LAA) มีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน (GA3) ช่วยทำลายการฟักตัวของเมล็ด กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น ส่งเสริมการออกดอก และทำให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น และฮอร์โมน กลุ่มไซโตโคนิน ได้แก่ เซติน (Zeatin) และไคเนติน (Kinetin) มีผลกระตุ้นการเกิดตา ช่วยเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืช และช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น



     

  • -

  • -

  • 7 ปี

ไฟล์แนบอื่นๆ