กลับไปหน้าค้นหา

นายสมจิตร คำมูล

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 57 หมู 4 ตำบล : หนองปลาหมอ อำเภอ : บ้านโป่ง จังหวัด: ราชบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

เห็นว่าปูนากำลังได้รับความนิยม และสามารถสร้างรายได้ จึงได้ไปอบรมสัมมาชีพการเลี้ยงปูนาแล้งเห็นว่าเป็นไปได้ว่าจะเลี้ยงได้ จึงนำมาประกอบอาชีพ


ความสำเร็จ :

หาความรู้และเทคนิคต่างๆจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเลี้ยงปูนา เลื่อยๆ จึงได้เทคนิคและวิธีการต่างๆใหม่อยู๋่เรื่อยๆ


ความชำนาญ : เลี้ยงปูนา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เห็นว่าปูนากำลังได้รับความนิยม และสามารถสร้างรายได้ จึงได้ไปอบรมสัมมาชีพการเลี้ยงปูนาแล้งเห็นว่าเป็นไปได้ว่าจะเลี้ยงได้ จึงนำมาประกอบอาชีพ

  • การสร้างบ่อซีเมนซ์เพื่อเลี้ยงปูนา

    ในการทำบ่อซีเมนซ์สำหรับเลี้ยงปูนาแล้วแต่ความสะดวกของเกษตร โดยส่วนใหญ่แล้วนิยมทำขนาด 2×3 เมตร จะทำเป็นแบบเทพื้นปูน หรือจะเลี้ยงแบบพื้นดินก็ได้ แต่แนะนำให้ทำแบบพื้นปูนแล้วใส่ดินหน้าประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เพื่อให้ปูได้ขุดรู โดยการใส่ดินเข้าไปในบ่อนั้น เทดินแบบลาดเอียง อีกข้างนึงมีน้ำ เลียนแบบบ่อธรรมชาตินั่นเอง หรือจะเทดินทั้งหมด แล้วใส่น้ำในกะละมังก็ได้ แล้วแต่สะดวก



    ปลูกพืชพรรณไม้น้ำเพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยและเป็นแหล่งอาหารของปูนา อาทิ ผักบุ้ง ผักตบชวา ทำการต่อสปริงเกอร์ หรือ ถ้าไม่มีก็สามารถใช้สายยางธรรมดาเตรียมไว้คอยฉีดน้ำให้บ่อชุ่มชื่นอยู่เสมอ หาเศษไม้ขอนไม้ หรือทางมะพร้าวมาวางในบ่อ เพื่อให้ปูได้อยู่อาศัยหลบซ่อน จากนั้นเราก็ปล่อยปูนาลงเลี้ยง(หาได้จากธรรมชาติหรือซื้อมาก็ได้) 1 กิโลกรัม/1 บ่อ (อัตราส่วนปูตัวผู้และตัวเมียอย่างละเท่าๆกัน)



    อาหารสำหรับเลี้ยงปูนา



    การให้อาหารโดยใช้อาหารปลาดุกเม็ดเล็กเสริมด้วยข้าวสวยหุงสุกคลุกเคล้าให้เข้ากัน หว่านประมาณ 1 กำมือในช่วงเย็นเนื่องจากปูนาจะออกหากินตอนกลางคืน และหมั่นดูแลบริเวณที่อยู่ของปูให้สะอาดโดยต้องเก็บเศษอาหารที่ปูกินไม่หมดทิ้ง และเก็บปูที่ก้ามหลุดออกเนื่องจากจะส่งผลให้โดนปูตัวอื่นมารุมทำร้ายและตายได้ และหากทิ้งอาหารหรือปูที่ตายไว้นานๆจะเกิดกลิ่นเหม็นเน่าและมีเชื้อราเกิดขึ้นทำให้ปูเกิดโรคได้ง่าย



    การเพาะพันธุ์

    ปูนาสามารถนำมาเพาะในโรงเพาะฟักเพื่อผลิตลูกปูวัยอ่อนได้เช่นเดียวกับปูม้า หรือปูทะเล บ่อที่ใช้จะเป็นบ่อซีเมนต์ ถังพลาสติก หรือ ตู้กระจก ก็ได้ ขนาดของบ่อก็ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดการของแต่ละท่าน

    พ่อแม่พันธุ์

    พ่อแม่พันธุ์ ในระยะแรกก็คงต้องรวบรวมจากธรรมชาติ จะเริ่มเพาะจากพ่อแม่พันธุ์ก็ได้ หรือจะใช้แม่ปูที่มีไข่ที่จับปิ้งและมีลูกปูวัยอ่อนที่ติดกระดองอยู่แล้วมา อนุบาล ก็จะประหยัดเวลาและต้นทุนในการผลิตได้มาก

    การอนุบาลลูกปู

    ในช่วง15วันแรก ควรให้ ไรแดง หนอนแดง เทา หรือไข่ตุ๋น กินเป็นอาหาร หลังจากนั้นควรให้ปลาหรือกุ้งสับอาหารเม็ดที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุกก็ใช้ได้ เมื่อมีอายุประมาณ30วันก็สามารถนำไปปล่อยเลี้ยงในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์เพื่อ ให้มีขนาดโตเต็มวัยได้ความหนาแน่นที่ปล่อยเลี้ยง ลูกปูในระยะนี้ควรปล่อยเลี้ยงในปริมาณ 10,000 ตัว/เนื้อที่1 ตารางเมตร

    การเจริญเติบโต

    ปูนามีการเจริญเติบโตโดยการลอกคราบเช่นเดียวกับปูชนิดอื่น ๆ หลังจากฟักเป็นตัวแล้วปูนาจะลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้งก็จะโตเป็นปูเต็มวัย ได้ขนาดตามที่ตลาดการ ต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน

    การลอกคราบ

    ปูที่จะลอกคราบสังเกตได้จากรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองจะกว้างมากกว่าปกติ เมื่อใกล้จะลอกคราบปูจะนิ่งและเหยียดขาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นรอยต่อทางส่วนท้ายของกระดองก็จะเปิดออก ส่วนท้ายพร้อมกับขาเดินคู่สุดท้ายจะออกมาก่อน ขาคู่ถัดมาจะค่อย ๆ โผล่ออกมาตามลำดับ ส่วนก้ามคู่แรกจะโผล่ออกมาเป็นอันดับสุดท้าย ระยะเวลาที่ใช้เวลาลอกคราบทั้งหมดประมาณ1ชั่วโมง

  • หาความรู้และเทคนิคต่างๆจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพการเลี้ยงปูนา เลื่อยๆ จึงได้เทคนิคและวิธีการต่างๆใหม่อยู๋่เรื่อยๆ

  • -
  • -
  • ได้รับการอบรมสัมมาชีพจากการเลี้ยงปูนามา