กลับไปหน้าค้นหา

นายคมสัน ยุ้งย่าง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 69 หมู 6 ตำบล : ทอนหงส์ อำเภอ : พรหมคีรี จังหวัด: นครศรีธรรมราช
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปวส.
ประวัติ :

นายคมสัน ยุ้งย่าง เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ที่ประกอบอาชีพด้านการปลูกพริกไทยเป็นอาชีพหลัก เป็นบุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องกล้วยไข่ แจะพร้อมจะถ่ายทอดให้กับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้


ความสำเร็จ :

  1. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว




  • พริกไทยอายุ 18 เดือน จะเริ่มมีดอกบ้าง ให้ปลิดช่อดอกทิ้งให้หมด เพื่อให้พริกไทยเจริญเติบโตทางต้นเต็มที่ เมื่อพริกไทยอายุ 3 ปี จึงปล่อยให้มีช่อดอกและเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

  • การเก็บเกี่ยวพริกไทยอ่อน เก็บหลังติดผล 3-4 เดือน พริกไทยดำ เก็บหลังติดผล 6-8 เดือน พริกไทยขาวต้องเก็บเกี่ยวพริกไทยที่แก่จัดและผลเริ่มสุกเป็นสีแดงที่โคนช่อประมาณ 3-4 ผล


ความชำนาญ : ทำสวน


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นายคมสัน ยุ้งย่าง เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ที่ประกอบอาชีพด้านการปลูกพริกไทยเป็นอาชีพหลัก เป็นบุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องกล้วยไข่ แจะพร้อมจะถ่ายทอดให้กับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้


    1. การเตรียมการก่อนปลูก

      1. การเตรียมดิน แปลงปลูกต้องเป็นพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก

      2. การเตรียมค้าง ใช้ค้างไม้แก่น หรือค้างปูนซิเมนต์ ขนาดความสูงปกติ 4 เมตร

      3. การเตรียมพันธุ์ มี 2 สายพันธุ์ คือพันธุ์ซาราวัค เหมาะสำหรับพริกไทยแก่ พันธุ์ซีลอน เหมาะสำหรับพริกไทยอ่อน

      4. การเตรียมกิ่งพันธุ์ ใช้ลำต้น (ถา) ของส่วนยอดที่มีอายุระหว่าง 1-2 ปี ตัดเป็นท่อน ยาว 40-50 เซนติเมตร มีข้อ 5-7 ข้อ ริดใบทิ้งและตัดกิ่งแขนงตรง  3 – 4 ข้อล่างออก นำไปปักชำในกระบะชำ หรือชำใส่ถุงพลาสติก ให้ข้ออยู่ใต้ระดับดิน 3-4 ข้อ จนรากออกแข็งแรงดีจึงย้ายไปปลูก




    1. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว




    • พริกไทยอายุ 18 เดือน จะเริ่มมีดอกบ้าง ให้ปลิดช่อดอกทิ้งให้หมด เพื่อให้พริกไทยเจริญเติบโตทางต้นเต็มที่ เมื่อพริกไทยอายุ 3 ปี จึงปล่อยให้มีช่อดอกและเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

    • การเก็บเกี่ยวพริกไทยอ่อน เก็บหลังติดผล 3-4 เดือน พริกไทยดำ เก็บหลังติดผล 6-8 เดือน พริกไทยขาวต้องเก็บเกี่ยวพริกไทยที่แก่จัดและผลเริ่มสุกเป็นสีแดงที่โคนช่อประมาณ 3-4 ผล


    1. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช




    • โรครากเน่าและโคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ป้องกันโดยการจัดการดินในแปลงปลูกให้ระบายน้ำได้ดี ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ตัดแต่งกิ่งหรือแขนงตามบริเวณโคนต้นออกให้โปร่ง เพื่อลดความชื้น

  • -
  • 10 ปี