กลับไปหน้าค้นหา

นางวันวิสา คชินทร

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 70/9 หมู 9 ตำบล : ทอนหงส์ อำเภอ : พรหมคีรี จังหวัด: นครศรีธรรมราช
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

นางวันวิสา คชินทร เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ที่ประกอบอาชีพด้านการปลูกพริกไทยเป็นอาชีพหลัก เป็นบุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องกล้วยไข่ แจะพร้อมจะถ่ายทอดให้กับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้


ความสำเร็จ :

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต และแหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม



 




  •  




  1. การเพิ่มผลผลิต



เตรียมต้นหลังการเก็บเกี่ยวให้สมบูรณ์ เพื่อให้พริกไทยต้นสมบูรณ์ ออกดอกได้ดีขึ้น และให้ผลผลิตสูง โดยการตัดแต่งกิ่งและควบคุมทรงพุ่มและการใส่ปุ๋ย เทคนิคการตัดแต่ง ดังนี้




  1. ตัดยอดที่เจริญเติบโตพ้นค้างทิ้ง

  2. ตัดไหลและกิ่งข้าง (ปราง) บริเวณผิวดินโคนต้นเหนือพื้นดินประมาณ 8-10 เซนติเมตร

  3. ตัดกิ่งที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ กิ่งที่เป็นโรคออกให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของโรคแมลง




  1. การเพิ่มคุณภาพผลผลิต



โดยการจัดการทำแห้งพริกไทยที่มีคุณภาพ เพื่อลดความปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อรา ล้างทำความสะอาดพริกไทย ลวกด้วยน้ำร้อนเพื่อให้ผิวของพริกไทยดำและเป็นมัน ตากให้ถูกแดดอย่างสม่ำเสมอจนแห้งสนิท เข้มงวดในเรื่องความสะอาดและสุขอนามัย วางผลผลิตพริกไทย บนพื้นที่ยกสูง มีวัสดุรองรับที่สะอาดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งเจือปนอื่นๆ หรือวิธีการอบให้แห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลดร้อน ที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเชื้อราในพริกไทยได้ และไม่ใช้สารฟอกขาว หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่อาจตกค้างในผลผลิต




  1. การลดต้นทุนการผลิต



โดยใช้ค้างที่มีชีวิตแทนการให้เสาปูนซิเมนต์ที่มีราคาแพง เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ปลูกพริกไทยในการลดต้นทุนการผลิต พืชที่ใช้ทำค้างเป็นไม้ยืนต้น โตเร็ว ไม่แตกกิ่งก้านสาขามาก และไม่ผลัดใบ เช่นยอป่า กระถินเทพา นุ่น เป็นต้น เตรียมปลูกต้นไม้ที่ทำค้างก่อนการปลูกพริกไทยให้เป็นระเบียบ อายุประมาณ 1-2 ปี ตัดยอดให้เหลือความสูงของลำต้นหลักตรงกลางตั้งแต่ระดับผิวดินประมาณ 2.5 – 3 เมตร ริดแขนงออก คอยแต่งกิ่งใบให้โปร่ง รักษาทรงพุ่มไว้ให้ได้ขนาดที่พอเหมาะ


ความชำนาญ : ทำสวน


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นางวันวิสา คชินทร เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ที่ประกอบอาชีพด้านการปลูกพริกไทยเป็นอาชีพหลัก เป็นบุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องกล้วยไข่ แจะพร้อมจะถ่ายทอดให้กับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้

  • การปลูกและดูแลรักษาพริกไทย




    1. การเตรียมดินก่อนปลูก

      1. การเตรียมดิน แปลงปลูกจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ปรับพื้นที่ไม่ให้มีสภาพน้ำขัง ไม่ชื้นแฉะ หรือเป็นแอ่งน้ำ ไถพรวนดินลึก 40-60 เซนติเมตร ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ โดยการใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 2-3 ตันต่อไร่  เพื่อให้ดินสามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดี หากดินเป็นกรด ควรปรับด้วยปูนขาว หรือปูนโคโลไมค์ เพื่อให้ความเป็นกรดน้อยลง ตากดิน 15 วัน ยกแปลงเป็นลอนลูกฟูก

      2. การเตรียมค้าง ใช้ค้างไม้แก่นหรือค้างปูนซิเมนต์ ขนาด 4 เมตร ฝังลึก 50-60 เซนติเมตร กลบดินให้แน่น

      3. การเตรียมพันธุ์






    1. พันธุ์ที่ใช้



    พันธุ์ซาราวัค เหมาะสมสำหรับพริกไทยแก่



    พันธุ์ซีลอน เหมาะสมสำหรับพริกไทยอ่อน




    1. ใช้ลำต้น (เถา) ส่วนของยอดหรือส่วนอื่นที่ไม่แก่จัดของพริกไทย ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 1-2 ปี โดยควรตัดจากต้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ ให้ผลผลิตสูง ไม่เป็นโรคและไม่มีแมลงทำลายค่อย ๆ แกะตีนตุ๊กแกให้หลุดออกจากค้าง อย่าให้ต้นหัก หรือซ้ำ จากนั้นนำมาตัดเป็นท่อน ๆ ยาว 40-50 เซนติเมตร มีข้อ 5-7 ข้อ รีดใบทิ้งและตัดกิ่งแขนงตรง 3-4 ข้อล่างออก นำยอดไปปักชำให้กระบะชำหรือชำใส่ถุงพลาสติก ให้ข้ออยู่ใต้ระดับดิน 3-4 ข้อ จนรากออกแข็งแรงดีจึงย้ายไปปลูก




    1. การปลูก

      1. วิธีปลูก ค้างละ 1 หลุม ห่างจากโคนค้าง 15 เซนติเมตร ขุดหลุมขนาด 40 x 60 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร ผสมดินกับปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1;1 แล้วใส่ในหลุมประมาณครึ่งหลุม นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ไปปลูกหลุมละ 2 กิ่ง ให้ปลายยอดเอนเข้าหาค้าง หันด้านที่มีราก (ตีนตุ๊กแก) ออกด้านนอกค้างกลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่ม

      2. ระยะปลูก





    พันธุ์ซาราวัค ใช้ระยะ 2x2 เมตร



    พันธุ์ซีลอน ใช้ระยะปลูก 2.25 x 2.25  หรือ 2.25 x 2.5 เมตร




    1. จำนวนต้นต่อไร 400 ค้าง ๆ ละ 2 ต้น รวม 800 ต้น/ไร่




    1. การดูแลรักษา

      1. การใส่ปุ๋ย






    1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ปุ๋ยดังกล่าวจะช่วยปรับสภาพความเป็นกรด ด่าง ของดินให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพริกไทย และช่วยทำให้ดินโปร่งมีความสามารถดูดซับและเพิ่มแร่ธาตุ จำเป็นต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยเคมี

    2. ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 , 8-24-24 และ 12-12-17+Mg ให้พิจารณาเลือกใส่สูตรใดสูตรหนึ่งตามความเหมาสมดังนี้



    ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 400-500 กรัมต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง



    ปีที่ 2  ใส่ปุ๋ยเคมี 1 ก.ก. ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง



    ปีที่ 3 และปีถัดไป ใส่ปุ๋ยเคมี 1.5 ก.ก. ต่อค้าง แบ่งใส่ 3 ครั้ง



    ครั้งที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หลักจากเก็บเกี่ยวพริกไทย



    ครั้งที่ 2 ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ประมาณเดือน พ.ค. – มิ.ย. เพื่อเร่งการออกดอกและติดผล



    ครั้งที่ 3 ปุ๋ยเคมี สูตร 12-12-17+Mg ประมาณเดือน ก.ย. – ต.ค. เพื่อบำรุงผล




    1.                                                     




    1. ข้อมูลอื่น ๆ




    1. การใช้ประโยชน์



    พริกไทยเป็นเครื่องเทศสำคัญที่มีความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาสมุนไพรแผนโบราณ และใช้ในครัวเรือน มีความต้องการในการค้าระหว่างประเทศ




    1. สาระสำคัญและสรรพคุณ



    ผลพริกไทยมีน้ำมันหอมระเหยและแอลคาลอยด์ไพเพอร์รีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้กำหนดมาตรฐานทางเคมีของพริกไทยขาว และพริกไทยดำที่ใช้เป็นกำหนดให้พริกไทยมีสารสำคัญออกฤทธิ์ คือไพเพอร์รีน ไม่ต่ำกว่า 5 % โดยน้ำหนักทั้งพริกไทยดำและพริกไทยขาว มีปริมาณความชื้นไม่เกิน 14 % ทั้งพริกไทยดำและพริกไทยขาว และมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยไม่ต่ำกว่า 1 % ในพริกไทยดำ และไม่ต่ำกว่า 0.8 % ในพริกไทยขาว



     

  • แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต และแหล่งสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม



     




    •  




    1. การเพิ่มผลผลิต



    เตรียมต้นหลังการเก็บเกี่ยวให้สมบูรณ์ เพื่อให้พริกไทยต้นสมบูรณ์ ออกดอกได้ดีขึ้น และให้ผลผลิตสูง โดยการตัดแต่งกิ่งและควบคุมทรงพุ่มและการใส่ปุ๋ย เทคนิคการตัดแต่ง ดังนี้




    1. ตัดยอดที่เจริญเติบโตพ้นค้างทิ้ง

    2. ตัดไหลและกิ่งข้าง (ปราง) บริเวณผิวดินโคนต้นเหนือพื้นดินประมาณ 8-10 เซนติเมตร

    3. ตัดกิ่งที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ กิ่งที่เป็นโรคออกให้หมด เพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของโรคแมลง




    1. การเพิ่มคุณภาพผลผลิต



    โดยการจัดการทำแห้งพริกไทยที่มีคุณภาพ เพื่อลดความปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ และเชื้อรา ล้างทำความสะอาดพริกไทย ลวกด้วยน้ำร้อนเพื่อให้ผิวของพริกไทยดำและเป็นมัน ตากให้ถูกแดดอย่างสม่ำเสมอจนแห้งสนิท เข้มงวดในเรื่องความสะอาดและสุขอนามัย วางผลผลิตพริกไทย บนพื้นที่ยกสูง มีวัสดุรองรับที่สะอาดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งเจือปนอื่นๆ หรือวิธีการอบให้แห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลดร้อน ที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส จะสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเชื้อราในพริกไทยได้ และไม่ใช้สารฟอกขาว หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่อาจตกค้างในผลผลิต




    1. การลดต้นทุนการผลิต



    โดยใช้ค้างที่มีชีวิตแทนการให้เสาปูนซิเมนต์ที่มีราคาแพง เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ปลูกพริกไทยในการลดต้นทุนการผลิต พืชที่ใช้ทำค้างเป็นไม้ยืนต้น โตเร็ว ไม่แตกกิ่งก้านสาขามาก และไม่ผลัดใบ เช่นยอป่า กระถินเทพา นุ่น เป็นต้น เตรียมปลูกต้นไม้ที่ทำค้างก่อนการปลูกพริกไทยให้เป็นระเบียบ อายุประมาณ 1-2 ปี ตัดยอดให้เหลือความสูงของลำต้นหลักตรงกลางตั้งแต่ระดับผิวดินประมาณ 2.5 – 3 เมตร ริดแขนงออก คอยแต่งกิ่งใบให้โปร่ง รักษาทรงพุ่มไว้ให้ได้ขนาดที่พอเหมาะ




























  • ข้อมูลสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต ของพริกไทย




    •  




    •  




    •  




    1. สภาพภูมิอากาศ

      1. อุณหภูมิ





     



     




    1. ความชื้นสัมพัทธ์

    2. ปริมาณน้ำฝน



     




    1. ความเข้มของแสง

    2. ลม



     




    • สามารถปลูกได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 10-40 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่เจริญเติบโตได้ดี อยู่ระหว่าง 25-40 องศาเซลเซียส

    • ความชื้นสัมพัทธ์ 65-95 เปอร์เซ็นต์

    • เฉลี่ย 1,200 – 2,500 มิลลิเมตรต่อปี และมีการกระจายตัวตลอดปี

    • ความเข้มของแสงต่ำ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

    • ไม่ควรมีลมกรรโชกแรง โดยเฉพาะไม่ช่วงผสมเกสร พื้นที่ปลูกควรเป็นที่โปร่ง มีการระบายอากาศดี



     




    • พริกไทยเป็นพืชเขตกึ่งร้อนชื้น ไม่เหมาะสมกับอุณหภูมิต่ำ



     




    • ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่ากำหนด เจริญเติบโตไม่ดีและมีปัญหาการออกดอกและติดผล




    1. สภาพพื้นที่

      1. ความสูงจากระดับน้ำทะเล





     




    1. ความลาดเอียง



     




    • ปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเล จนถึง 1,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

    • ควรมีความลาดเอียงของพื้นที่เล็กน้อย ไม่เกิน 2 % เพื่อให้ระบายน้ำดี



     




    • ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง เพราะระบบรากตื้น หน้าดินอาจถูกเซาะหายไปและก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดูดน้ำและธาตุอาหาร




    1. สภาพดิน

      1. ประเภทดิน

      2. อินทรียวัตถุ

      3. การระบายน้ำ

      4. ความลึกของหน้าดิน





     



     




    • ดินที่เหมาะสมเป็นดินร่วนซุยมีสีแดงคล้ำ

    • มีอินทรียวัตถุสูง

    • มีการระบายน้ำดี

    • ความลึกของหน้าดิน 1 เมตร ไม่มีชั้นหินแข็ง ดินดาน



     




    • หลีกเลี่ยงดินทรายจัด หรือดินเหนียว



     




    • พริกไทยอ่อนแอต่อสภาพดินระบายน้ำไม่ดี ทำให้เกิดโรคที่สำคัญคือโรครากเน่าได้ง่าย


  • -
  • 10 ปี