กลับไปหน้าค้นหา

นางมายุรี ถาวรมาศ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 46/3 หมู 4 ตำบล : ทอนหงส์ อำเภอ : พรหมคีรี จังหวัด: นครศรีธรรมราช
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

นางมายุรี ถาวรมาศ เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ที่ประกอบอาชีพด้านการปลูกกล้วยไข่เป็นอาชีพหลัก เป็นบุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องกล้วยไข่ แจะพร้อมจะถ่ายทอดให้กับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้


ความสำเร็จ :

แหล่งปลูกที่เหมาะสม




  1. พื้นที่ดอน หรือที่ราบไม่มีน้ำท่วมขัง

  2. ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร

  3. มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติหรืออยู่ในเขตชลประทาน



ลักษณะดินที่ปลูก




  1. ดินร่วน ดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย

  2. มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถระบายน้ำได้ดี

  3. มีระดับน้ำใต้ดินไม่ต่ำกว่า 75 เซนติเมตร



สภาพภูมิอากาศ




  1. อุณหภูมิที่เหมาะสม 25-35 องศาเซลเซียส

  2. มีปริมาณน้ำฝน ทั้งปีไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิลิตร/ปี

  3. ไม่มีลมพัดแรงพัดผ่านเป็นประจำ

  4. มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก



สายพันธุ์กล้วยไข่



จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ




  1. สายพันธุ์กำแพงเพชร เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาล หรือสีช็อกโกเลต ร่องก้านใบเปิดและขอบใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อนไม่นวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง



สายพันธุ์พระตะบอง ลักษณะกาบใบสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาติออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร


ความชำนาญ : ทำสวน


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • นางมายุรี ถาวรมาศ เป็นแกนนำในหมู่บ้าน ที่ประกอบอาชีพด้านการปลูกกล้วยไข่เป็นอาชีพหลัก เป็นบุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องกล้วยไข่ แจะพร้อมจะถ่ายทอดให้กับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้

  • การปลูกกล้วยไข่




    1. การเตรียมดิน




    • วิเคราะห์ดิน หรือประเมินค่าความสมบูรณ์ของดินและ PH ของดินก่อนปลูก

    • ควรไถพรวนดิน ตากดินไว้ 1 เดือน เพื่อฆ่าเชื้อราในดิน

    • เก็บวัชพืชออกจากแปลงปลูก




    1. ฤดูการปลูก




    • ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ที่ปลูก




    1. วิธีการปลูก




    • ปลูกด้วยหน่อที่สมบูรณ์

    • ขนาดหลุม 50x50x50

    • รองหลุมด้วยปุ๋ยคอก 500 กรัม/หลุม หรือปุ๋ยอินทรีย์ 100-200 กรัม/หลุม

    • ระยะห่าง 1.50 , 1.75 –2.00 x 2 เมตร /หลุม

    • การปลูกวางหน่อลึก 25-30 เซนติเมตร กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม




    1. การดูแลรักษา




    • การพรวนดิน หลังจากปลูก 1 เดือน ควรรีบพรวนดินเพื่อให้เกิดการร่วนซุย ระบายอากาศได้ดี




    1. การกำจัดวัชพืช




    • ควรมีการกำจัดวัชพืชปีละ 3 ครั้ง




    1. การใส่ปุ๋ย




    • ใส่ปุ๋ยอินทรีย์

      • ครั้งที่ 1  (ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก)

      • ครั้งที่ 2-3 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 ในปริมาณ 125-250 กรัม/ต้น

      • ครั้งที่ 4 ใส่ปุ๋ย 12-12-24 , 14-14-21 ในปริมาณ 125-250 กรัม/ต้น



    • วิธีการใส่ปุ๋ย โรยห่างจากโคนต้น 30 เซนติเมตร หรือขุดหลุมให้ลึก 10 เซนติเมตรทั้ง 4 ด้าน




    1. การให้น้ำ




    • ในฤดูฝนเมื่อฝนทิ้งช่วง ให้สังเกตดินเป็นหลัก ควรรีบให้น้ำทันที




    1. เทคนิคที่ควรทราบ




    1. การพูนโคน โดยการโกยดินเข้าสุมโคนต้น เพื่อป้องกันการล้มของต้นกล้วย

    2. การแต่งหน่อ ควรตัดให้สูงจากดิน 4-5 นิ้ว และตัดครั้งที่ 2 หลังจากตัดครั้งแรกไป 20-30 วัน โดยตัดให้เฉียง 45 องศา

    3. การตัดแต่งใบ

      • ในหน้าฝน ควรมีใบไว้ไม่ต่ำกว่า 12 ใบ/ต้น

      • ในหน้าแล้งควรมีใบอยู่ที่ 9 ใบ/ต้น เพื่อลดการสูญเสียน้ำ



    4. การค้ำเครือ

      • เมื่อต้นกล้วยออกเครือ จะมีน้ำหนักมาก ควรมีการค้ำเครือเพื่อป้องกันการล้ม วิธีการค้ำเครือดูเองตามเหมาะสม



    5. การตัดปลี

      • การปลูกกล้วยใช้เวลา 7-8 เดือน กล้วยถึงจะออกปลี เฉพาะต้นที่สมบูรณ์ การออกปลี จะออกพร้อมด้วยดอกบานใช้เวลา 14 วัน ดังนั้นเราสามารถตัดปลีได้ในวันที่ 15 ได้เลย



    6. การเก็บเกี่ยวผลผลิต

      • ปกติกล้วยไข่สายพันธุ์ทั้ง 2 สายพันธุ์ ใช้เวลาหลังจากตัดปลีแล้ว 45 วัน สามารถตัดผลผลิตได้เลย สำหรับในหน้าฝน อาจจะ 50-60 วัน



  • แหล่งปลูกที่เหมาะสม




    1. พื้นที่ดอน หรือที่ราบไม่มีน้ำท่วมขัง

    2. ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร

    3. มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติหรืออยู่ในเขตชลประทาน



    ลักษณะดินที่ปลูก




    1. ดินร่วน ดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย

    2. มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถระบายน้ำได้ดี

    3. มีระดับน้ำใต้ดินไม่ต่ำกว่า 75 เซนติเมตร



    สภาพภูมิอากาศ




    1. อุณหภูมิที่เหมาะสม 25-35 องศาเซลเซียส

    2. มีปริมาณน้ำฝน ทั้งปีไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิลิตร/ปี

    3. ไม่มีลมพัดแรงพัดผ่านเป็นประจำ

    4. มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก



    สายพันธุ์กล้วยไข่



    จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ




    1. สายพันธุ์กำแพงเพชร เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาล หรือสีช็อกโกเลต ร่องก้านใบเปิดและขอบใบขยายออก ใบมีสีเหลืองอ่อนไม่นวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก ผิวเปลือกผลบาง



    สายพันธุ์พระตะบอง ลักษณะกาบใบสีน้ำตาลปนดำ สีของใบเข้มกว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร รสชาติออกหวานอมเปรี้ยว และผลมีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์กำแพงเพชร

  • การให้น้ำแระ การให้สารอาหารที่เหมาะสมกับพันธ์กล้วย

  • -
  • มีประสบการณ์ยาวในานกว่า 10 ปี