กลับไปหน้าค้นหา

นายสัตถาพร นานอน

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 97/4 หมู 8 ตำบล : นาท่ามใต้ อำเภอ : เมืองตรัง จังหวัด: ตรัง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

สืบเนื่องจากดั้งเดิมบรรพบุรุษได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวจึงยึดเป็นอาชีพหลัก  และได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารามาจนถึงปัจจุบัน


ความสำเร็จ :

  1. ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ

  2. รายได้จากการขายจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น

  3. ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกยางพารา


ความชำนาญ : สวนยางพารา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • สืบเนื่องจากดั้งเดิมบรรพบุรุษได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัวจึงยึดเป็นอาชีพหลัก  และได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารามาจนถึงปัจจุบัน

  • 1.ลักษณะดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม



          สภาพพื้นที่ควรเป็นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง หรือมีความลาดเอียงต่ำกว่า 35 องศา ลักษณะดินที่เหมาะสมต่อการปลูกยางพารา ควรเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร



    2.การเตรียมดิน



          ทำการไถพลิกและไถพรวนอย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมทั้งเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับหน้าดินให้เหมาะสมกับการปลูกยางพารา



                                                                                   



    3.วิธีการปลูกยางพารา



          ต้องวางแนวปลูก โดยมีระยะปลูก 2.5 x 8.0 เมตร หรือ 3.0 x 7.0 เมตร หรือ 3.0 x 6.0 เมตร ในแหล่งปลูกยางใหม่ โดยมีขนาดของหลุม 50 x 50 x 50 เซนติเมตร และทำการปลูกต้นกล้ายางพารา โดยคัดเลือกต้นกล้ายางพาราที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคและแมลงศัตรูพืช ขนาด 1-2 ฉัตร และคลุกปุ๋ยหมักอัตรา 15-25 กิโลกรัมต่อหลุม พร้อมกับใส่เชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชที่ผลิตจากสารเร่ง พด.3 อัตรา 3 กิโลกรัมต่อตัน ใส่รองก้นหลุมและทำการปลูกต้นกล้ายางพารา หลังจากปลูกยางพาราได้ 15 วัน และปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน เพื่อป้องกันกำจัดวัชพืช ป้องกันการชะล้างพังทลาย และเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน



     


    1. ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ

    2. รายได้จากการขายจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น

    3. ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกยางพารา

  • โรคราแป้ง ราสีชมพู โรคใบร่วง และผักเน่า และแมลงต่าง ๆ เช่น ปลวก หนอนทราย รวมทั้งวัชพืชชนิดต่าง ๆ ทำได้โดยใช้สารสกัดธรรมชาติหรือสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช การกรีดยางสามารถทำการกรีดยางได้เมื่อต้นยางอายุ 6 ปี ขนาดเส้นรอบวงของลำต้น บริเวณที่ทำการกรีดยางไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยกรีดครึ่งลำต้น ความสูง 150 เซนติเมตร จากพื้นดิน โดยกรีดทำมุม 30 องศา กับแนวระนาบ และเอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง ติดรางรองรับน้ำยางห่างด้านหน้าประมาณ 30 เซนติเมตร และติดลวดรับถ้วยน้ำยางให้ห่างจากรางรองรับน้ำยางลงมาประมาณ 10 เซนติเมตร กรีดยางให้ลึกใกล้เนื้อไม้มากที่สุด แต่ไม่ควรถึงเนื้อไม้ เมื่อกรีดยางเสร็จ ควรฉีดพ่นหรือทาบริเวณที่กรีดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจาง 1:1,000 เพื่อให้ยางมีน้ำยางมากที่สุด ยืดอายุการกรีดยางและต้นยางเสียหายน้อยที่สุด

  • -

  • ประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารามาเป็นเวลา 30  ปี