กลับไปหน้าค้นหา

นางคำไคล คงศรีไพร

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 37/2 หมู 4 ตำบล : นาบัว อำเภอ : นครไทย จังหวัด: พิษณุโลก
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปริญญาตรี
ประวัติ :

อบรม / ศึกษาดูงาน /ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  


ความสำเร็จ :

  1. ความพยายามในการลดต้นทุน ควบคุมวัตถุดิบสูญเสีย และเพิ่มระบบบริหารจัดการ

  2. การสร้างโอกาสในการขยายตลาด หาช่องทางจัดจำหน่าย


ความชำนาญ : การทำข้าวกล้องงอก


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • อบรม / ศึกษาดูงาน /ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม  

  • ข้าวกล้องงอก คือ ข้าวที่กะเทาะเปลือกออกแต่ไม่มีการขัดสี จึงทำให้เยื้อหุ้มเมล็ดภัพภะ(จมูกข้าว)และสารอาหารอยู่ครับ แล้วนำข้าวกล้องที่ได้ไปเพาะให้งอก เรียก “ข้าวกลองงอก”



    เมล็ดข้าวที่กำลังงอกจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เกิดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แกมมาออริซานอล วิตามินอี สารฟีโนคิค ไลซีน และสาร กาบ้า ในข้าวกล้องงอกมีมากเป็น 10 เท่าของข้าวสาร



    ประโยชน์ของข้าวกล้องงอก




    1. ในข้าวกล้องงอกมีอนุมูลอิสระในกลุ่มฟิไนลิก ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้า ชะลอความแก่

    2. สารออริซานอล ช่วยลดอาการผิดปกติของวัยทอง

    3. ช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์

    4. ช่วยผ่อนคลาย ทำจิตใจให้สงบ ลดความเครียด วิตกกังวล ลดความดันโลหิต

    5. ใยอาหาร ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

    6. ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ และลดอาการท้องผูก

    7. มีสารต้านอนุมูลอิสระลาดการเหี่ยวย่นของผิว



    วัสดุอุปกรณ์




    1. ข้าวกล้องที่มีอายุไม่ข้ามปี ถ้าข้ามปีความงอกจะลดลง โดยข้าวเปลือกทุกชนิดสามารถนำมาสีเป็นข้าวกล้องเพื่อทำเป็น ข้าวกล้องงอกเพิ่มคุณค่าได้

    2. ผ้าฝ้ายขาวสำหรับห่อข้าวบ่ม

    3. ถังพลาสติก/ตระกร้าสำหรับบ่มข้าวกล้อง

    4. ถังพลาสติกสำหรับแช่ข้าว

    5. ตะแกรงร่อน เพื่อคัดเมล็ดข้าวที่หักและสิ่งเจือปน

    6. กระด้งหรือที่ตากข้าว



    วิธีทำ




    1. นำข้าวกล้องที่สีมาใหม่ไม่ควรเก็บเกิน 1 เดือน มาคัดสิ่งเจือปนและเมล็ดข้าวที่หักออกด้วยตะแกรงร่อน

    2. นำข้าวที่ได้ไปล้างให้สะอาด 1-2 ครั้ง

    3. แช่ข้าวในถังให้มีน้ำเหนือข้าว 10 เซนติเมตร โดยแช่ไว้นาน 12 ชั่วโมง

    4. นำข้าวที่แช่ใส่ในถังพลาสติกที่มีฝาปิด โดยรองด้วยผ้าขาวให้รอบถัง

    5. นำน้ำที่สะอาดราดให้ชุ่ม ขมวดผ้าปิดข้าว และบ่มไว้ประมาณ 36 ชั่วโมง (ถ้าอากาศหนาวจะบ่มนานขึ้นเป็น 48 ชั่วโมง โดยให้ราดน้ำในถังข้าวทุก 12 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้ข้าวงอกและไม่ให้เกิดการหมักจากความร้อน)

    6. นำข้าวกล้องงอกที่ได้ไปหุง เป็นข้าวกล้องงอกสด โดยล้างน้ำให้สะอาด 1-2 ครั้ง(ล้างเบา)

    7. การหุงข้าวกล้องงอกให้ใส่น้ำสูงแค่ระดับเมล็ดข้าว (พอท่วมเมล็ดข้าวพอดี) หรือจะนำไปทำน้ำข้าวกล้องงอก) โดยใช้ข้าวกล้องงอก 100 กรัม ต่อ น้ำ 1 ลิตร ต้มให้เดือดด้วยไฟอ่อนๆ เติมใบเตย เหลือหรือน้ำตาล ตามใจชอบ

    8. การเก็บรักษาข้าวกล้องงอกสดให้ได้หลายวัน ให้บรรจุถุงเก็บไว้ในตู้เย็น จะเก็บได้นาน 1 อาทิตย์ หรือถ้าจะเก็บให้นานขึ้นหรือทำเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้ต้องนำข้าวกล้องงอกสดมาล้างให้สะอาด 1-2 ครั้ง(ล้างเบา) แล้วนำไปตากแดด/ผึ่งลมให้แห้งจึงบรรจุถุงจำหน่าย


    1. ความพยายามในการลดต้นทุน ควบคุมวัตถุดิบสูญเสีย และเพิ่มระบบบริหารจัดการ

    2. การสร้างโอกาสในการขยายตลาด หาช่องทางจัดจำหน่าย

  • -
  • -
  • -