กลับไปหน้าค้นหา

นายฉลวย ละมูลศิลป์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 5 หมู 2 ตำบล : สองพี่น้อง อำเภอ : ท่าแซะ จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

          บ้านห้วยใหญ่ หมู่ที่ 2 ต.สองพี่น้อง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็นพื้นที่การเกษตร มีป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ ประชากรประกอบอาชีพปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้ครัวเรือนในหมู่บ้านหลายครัวเรือนได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น ปลูกพืชผสมผสาน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เลี้ยงผึ้ง


ความสำเร็จ :

          1.ครัวเรือนและชุมชนได้รับน้ำผึ้งที่บริสุทธิ์ไม่สารเจือป่น



          2.ชุมชนมีการเรียนรู้จากป่าชุมชนและแหล่งธรรมชาติ



          3.ทำให้ชุมชนมีการเกื้อกูล มีความรัก และสามัคคีกัน



          4.ทำให้ลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตและรายได้มากขึ้น



          5.ทำให้มีแหล่งเรียนรู้ และขยายผลสู่ครัวเรือนข้างเคียง


ความชำนาญ : ถ่ายทอดการเลี้ยงผึ้ง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •           บ้านห้วยใหญ่ หมู่ที่ 2 ต.สองพี่น้อง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เป็นพื้นที่การเกษตร มีป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ ประชากรประกอบอาชีพปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นอาชีพหลัก นอกจากนี้ครัวเรือนในหมู่บ้านหลายครัวเรือนได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต เช่น ปลูกพืชผสมผสาน ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เลี้ยงผึ้ง

  •           1.จัดหาไม้กระพง,ไม้ตีนเป็ด นำมาเลื้อยทำเป็นหีมกล่องไม้รูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ขนาดกว้างประมาณ 30 ซม.กว้าง 50 ซม.



              2.ใช้เสามปูนขนาดเล็กยาว 1 เมตร มาตั้งแล้วทำแอ่งน้ำเป็นรูปวงกลมบริเวณรอบเสาเพื่อกันมดและสัตว์ทุกชนิดปีนไต่ขึ้นไป



              3.นำหีบกล่องไม้รูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้ามาตั้งบนเสา พร้อมปูกระเบื้องแผ่นเรียบทำเป็นหลังคาเพื่อกันแดดและฝนทำเป็นโรงเรือนเพื่อเลี้ยงผึ้ง



              4.ใช้น้ำตาลหรือเชื้อน้ำผึ้งนำมาใส่ในหีบกล่องไม้ เฝ้าระวังไม่ให้มดขึ้นรัง



              5.เปิดฝาหีบกล่องไม้ไว้ เพื่อให้ผึ้งเข้าไปอยู่อาศัยต้องคอยดูแลอยู่เสมอ



              6.เมื่อผึ้งเข้าอยู่เต็มรังแล้ว ก่อตัวมากพอสมควรแล้ว ผึ้งก็จะเริ่มทำรังโดยใช้เกสรดอกไม้จากข้างนอกโดยใช้เวลาทำรังประมาณ 15 วัน



              7.เมื่อได้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ผึ้งจะผลิตน้ำผึ้งออกมาจนเต็มรังพร้อมที่จะเก็บน้ำผึ้งมาใช้ประโยชน์ทันที จะได้น้ำผึ้งรังละประมาณ 3-5 ขวด

  •           1.ครัวเรือนและชุมชนได้รับน้ำผึ้งที่บริสุทธิ์ไม่สารเจือป่น



              2.ชุมชนมีการเรียนรู้จากป่าชุมชนและแหล่งธรรมชาติ



              3.ทำให้ชุมชนมีการเกื้อกูล มีความรัก และสามัคคีกัน



              4.ทำให้ลดต้นทุนการผลิต มีผลผลิตและรายได้มากขึ้น



              5.ทำให้มีแหล่งเรียนรู้ และขยายผลสู่ครัวเรือนข้างเคียง

  •           1.อย่าให้น้ำหยดเข้ามาในรังผึ้ง



              2.ถ้ามดขึ้นในรังผึ้งจะออกไปจากกล่องหีบไม้ทันที

  • -
  •              มีความรู้ ความสามารถในการเลี้ยงผึ้ง สามารถถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงผึ้งได้