กลับไปหน้าค้นหา

นายเสถียร กันตังกุล

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 55 หมู 5 ตำบล : กันตังใต้ อำเภอ : กันตัง จังหวัด: ตรัง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ความเป็นมา เมื่อตอนเด็กได้ติดตามคณะหนังตลุงไปเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ตีกลับ ตีกลอง และชอบเลี่ยนแบบนายหนังตลุง หัวหน้าคณะเห็นว่ามีพรสวรรค์ จึงได้ฝึกให้หัดขับ จนเกิดความชำนาญและได้แยกวงมาตั้งเป็นคณะของตนเอง และได้ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและเยาวชนที่สนใจที่จะอนุรักษ์ศิลปินพื้นบ้าน


ความสำเร็จ :

ต้องมีความมานะ ขยัน อดทน และประหยัด


ความชำนาญ : หนังตะลุง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ความเป็นมา เมื่อตอนเด็กได้ติดตามคณะหนังตลุงไปเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ตีกลับ ตีกลอง และชอบเลี่ยนแบบนายหนังตลุง หัวหน้าคณะเห็นว่ามีพรสวรรค์ จึงได้ฝึกให้หัดขับ จนเกิดความชำนาญและได้แยกวงมาตั้งเป็นคณะของตนเอง และได้ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและเยาวชนที่สนใจที่จะอนุรักษ์ศิลปินพื้นบ้าน

  • องค์ประกอบในการแสดง เครื่องดนตรีของหนังตะลุง 



    หนังตะลุงคณะหนึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบการเล่นประมาณ 6 อย่าง คือ



     



     



     



    1.กลอง 1 ลูก (เป็นกลองขนาดเล็ก มีหนังหุ้มสองข้าง หน้ากลองเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างประมาณ 8-10 นิ้ว หัว-ท้ายเล็กกว่าตรงกลางเล็กน้อย กลองมีความยาวประมาณ10-20 นิ้ว ใช้ไม้ตี 2 อัน)



     



     



     



     



    2.ทับ 2 ลูก (1 คู่) ในสมัยก่อนดนตรีหลักมีทับ 1 คู่สำหรับคุมจังหวะและเดินทำนอง (ทับ ทำด้วยไม้กลึงและเจาะข้างใน ลักษณะคล้ายกลองยาวแต่ส่วนท้ายสั้นกว่าและขนาดย่อมกว่า หุ้มด้วยหนังบางๆ เช่น หนังค่าง) ทับทั้ง 2 ลูกนี้มีขนาดต่างกันเล็กน้อยเพื่อให้ได้เสียงต่างกัน และสมัยก่อนมีขนาดโตกว่าปัจจุบัน



     



     



     





    3.ฉิ่ง 1 คู่

     



     



     



     



    4.โหม่ง 1 คู่ เสียงสูงลูกหนึ่ง ใช้สำหรับประกอบเสียงขับกลอน (โหม่งทั้งคู่ แขวนตรึงขนานกันอยู่ในรางไม้ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวโหม่งทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดง ถ้าหล่อกลมแบบฆ้องขนาดฆ้องวงเรียกว่า "โหม่งหล่อ" ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วดุนให้ส่วนที่จะตีสูงกลมขึ้นกลางแผ่นเรียก ว่า โหม่งฟาก)



    5.ปี่ 1 เลา



     



     



     



     



     



     



     



    6.กรับ หรือ แกระ 1 คู่ (ใช้เคาะรางกับโหม่ง) สำหรับประกอบจังหวะ



     



    บาง คณะอาจจะมีซออีก 1 สาย เป็นซอด้วงมากกว่าซออู้ เพราะเสียงเข้ากับเสี่ยงปี่ได้สนิทกว่า การบรรเลงดนตรี นอกจากโหมโรง (ชาวใต้เรียกว่าลงโรง) แล้วก็บรรเลงสลับไปตลอดการแสดง มักบรรเลงตอนขับกลอน ตอนเจรจาจะหยุดบรรเลง (อาจจะตีเครื่องให้จังหวะประกอบบ้าง)

    เพลงที่ใช้บรรเลง คือ เพลงโหมโรงใช้เพลงทับ ตอนดำเนินเรื่องใช้เพลงทับบ้าง เพลงปี่บ้าง (เพลงทับคือเพลงที่ถือเอาจังหวะทับเป็นเอก เพลงปี่คือเพลงที่ใช้ปี่เดินทำนองเพลงซึ่งโดยมากใช้เพลงไทยเดิม แต่ปัจจุบันใช้เพลงไทยสากลและเพลงสากลก็มี ปัจจุบันหนังตะลุงนิยมนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาประสม เช่น บางคณะใช้กลองดนตรีสากล ไวโอลิน กีตาร์ ออร์แกน แทนเครื่องดนตรีเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายยิ่ง



    มีการพัฒนาฝีมือ และศึกษาข้อมูลให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นบทกลอนในการแสดง และได้มีการถ่ายทอดสู่ภูมิปัญญาให้กับเยาวชนรุ่นหลัง



    ตัวละครของหนังตะลุงที่โดดเด่น

  • ต้องมีความมานะ ขยัน อดทน และประหยัด

  • -

  • -

  • -

ไฟล์แนบอื่นๆ