กลับไปหน้าค้นหา

นายเสน่ห์ พลายยงค์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: saneh001@hotmail.com

ที่อยู่ 90 หมู 3 ตำบล : บางพลับ อำเภอ : สองพี่น้อง จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

หมู่ ๓ ตำบลบางพลับประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เมื่อว่างจากการทำนา จึงคิดทำอาชีพเสริมที่อาศัยการใช้น้ำน้อย เนื่องจากเกิดภัยแล้งอยู่บ่อยครั้ง จึงพากันเลี้ยง เช่นเป็ด ไก่



ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี



ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด

2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด

4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต


ความสำเร็จ :

มีความอดทน



ตั้งใจในการเรียนรู้ หาความรู้ใส่ตนเองอย่างสม่ำเสมอ


ความชำนาญ : เลี้ยงสัตว์


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • หมู่ ๓ ตำบลบางพลับประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เมื่อว่างจากการทำนา จึงคิดทำอาชีพเสริมที่อาศัยการใช้น้ำน้อย เนื่องจากเกิดภัยแล้งอยู่บ่อยครั้ง จึงพากันเลี้ยง เช่นเป็ด ไก่



    ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี



    ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

    1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด

    2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น

    3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด

    4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต

  • สิ่งที่ผู้เลี้ยงไก่ควรปฏิบัติ

    1. แม่ไก่ควรได้รับอาหารและการดูแลมากขึ้น (โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากขึ้น)

    2. ควรหาแต่แม่ไก่ที่มีพันธุ์ดีๆ ต้านทานโรคดี ผลผลิตดี (เนื้อและไข่) ก็จะดีตามมาเอง

    3. ควรเริ่มต้นจากฟาร์มเล็กๆ ไปก่อน ไม่ควรเริ่มทำเป็นฟาร์มใหญ่ทันที เพราะ

    - สามารถใช้แรงงานในครอบครัวช่วยดูแลไก่ได้อย่างเต็มที่

    - ผลผลิต (เนื้อ/ไก่) ใช้บริโภคในครัวเรือนเป็นอันดันแรก ส่วนที่เหลือจึงไว้ขาย

  • มีความอดทน



    ตั้งใจในการเรียนรู้ หาความรู้ใส่ตนเองอย่างสม่ำเสมอ

  • ปัญหาในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

    1. ปัญหาที่เกิดจากโรคระบาดไก่ที่สำคัญๆ เช่น นิวคาสเซิล อหิวาต์ไก่ โรคหวัด โรคฝีดาษ ฯลฯ ทำให้ไก่ตายปีละมากๆ หรือเรียกว่าไก่ตายยกเล้า ซึ่งสามารถสรุปหาสาเหตุที่สำคัญได้ คือ 

    - เกษตรกรให้ความสนใจต่อไก่น้อย ไม่มีการทำวัคซีนป้องกันโรค

    - ไก่พื้นเมืองประเปรียว จับได้ยากเพราะระบบการเลี้ยงแบบปล่อย

    - วัคซีนป้องกันโรค หาได้ยากในท้องถิ่นและไม่สะดวกในทางปฏิบัติระดับท้องถิ่น



    2. ปัญหาที่เกิดจากไก่พื้นเมืองให้ผลผลิตต่ำ เมื่อเทียบกับการเลี้ยงไก่เพื่อการค้าต้องใช้เวลานาน ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ที่หวังรวยเร็วเกิดความไม่ทันใจ แต่ประการสำคัญที่สุดคือ แม้ไก่พื้นเมืองจะให้ผลผลิตต่ำ แต่กำไรที่ได้นั้นนับเป็นกำไรที่แท้จริง

  • -

  • มีประสบการในการเลี้ยง 15  ปี