กลับไปหน้าค้นหา

นางคะเน ฉันทะกานนท์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 101 หมู 12 ตำบล : นาท่ามเหนือ อำเภอ : เมืองตรัง จังหวัด: ตรัง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

เนื่องจากได้เข้ารับการฝึกอบรมการพัฒนาอาชีพจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตรัง และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง ได้อบรมกระบวนการเรียนรู้การทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า  ซึ่งได้เข้ารับการฝึกอบรมจากหลายหน่วยงาน  และนำมาปฏิบัติด้วยตนเองต่อ แรกๆ          ก็ไม่ประสบความสำเร็จทำแล้วก้อนเชื้อเห็ดไม่งอกบ้าง ขึ้นราบ้าง ก็ไม่ย่อท้อยังคงทดลองทำ ลองหาเทคนิควิธีการ  ลองผิด ลองถูก อยู่หลายครั้ง จนปัจจุบันสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการเปิดสอนให้แก่บุคคลอื่น 


ความสำเร็จ :

ปัจจุบัน นำความรู้ เทคนิควิธีการ การทำก้อนเชื้อเห็ด การเขี้ยเชื้อเห็ด  ซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายนอกได้ 


ความชำนาญ : เห็ดนางฟ้า


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เนื่องจากได้เข้ารับการฝึกอบรมการพัฒนาอาชีพจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองตรัง และศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง ได้อบรมกระบวนการเรียนรู้การทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า  ซึ่งได้เข้ารับการฝึกอบรมจากหลายหน่วยงาน  และนำมาปฏิบัติด้วยตนเองต่อ แรกๆ          ก็ไม่ประสบความสำเร็จทำแล้วก้อนเชื้อเห็ดไม่งอกบ้าง ขึ้นราบ้าง ก็ไม่ย่อท้อยังคงทดลองทำ ลองหาเทคนิควิธีการ  ลองผิด ลองถูก อยู่หลายครั้ง จนปัจจุบันสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการเปิดสอนให้แก่บุคคลอื่น 

  • 1.  ขี้เลื่อยที่ใช้ควรเป็นขี้เลื่อยกลางเก่ากลางใหม่จะดีที่สุด หากเป็นขี้เลื่อยใหม่ควรกองทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เนื่องจากขี้เลื่อยใหม่จะสลายธาตุอาหารบางอย่างทำให้เกิดก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเชื้อเห็ดและทำให้ความร้อนในก้อนเชื้อสูงเกินไป  แต่ถ้าเป็นขี้เลื่อยเก่าอาจมีการปะปนของเชื้อโรคหรือเชื้อราชนิดอื่นได้ง่าย อีกทั้งมักไม่ค่อยมีธาตุอาหารสะสมอยู่มากนัก



    2.  หลังจากเตรียมสูตรอาหารได้แล้วให้นำส่วนผสมทั้งหมดไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกที่ใช้เพาะเห็ด ซึ่งควรบรรจุให้หมดภายในวันเดียว ถุงก้อนเชื้อควรมีขนาด 8 ขีด ถึง 1 กก. เมื่ออัดก้อนเชื้อแน่นดีแล้ว ใส่คอขวดพลาสติก อุดด้วยสำลีและปิดด้วยกระดาษ แล้วรัดยางให้แน่น



    3.  นำก้อนเชื้อที่ได้ไปนึ่งฆ่าเชื้อทันที ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. นับจากน้ำเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น



    4.  นำหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงไว้ในเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้ประมาณ 10-20 เมล็ดต่อก้อน เขี่ยลงในก้อนเชื้อที่เย็นดีแล้ว แล้วรีบปิดปากถุงด้วยสำลีและกระดาษทันที สถานที่ที่ใช้ถ่ายหัวเชื้อเห็ดลงก้อนเชื้อควรสะอาด ลมสงบ วัสดุที่ใช้เขี่ยหัวเชื้อควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง



    5.  นำก้อนเชื้อที่ถ่ายหัวเชื้อเห็ดลงเรียบร้อยแล้วไปบ่มไว้ในโรงบ่มก้อนเชื้อต่อไป

  • ปัจจุบัน นำความรู้ เทคนิควิธีการ การทำก้อนเชื้อเห็ด การเขี้ยเชื้อเห็ด  ซึ่งสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลภายนอกได้ 

  • การผลิตก้อนเชื้อเห็ดมีเทคนิควิธีการ ที่เป็นการเฉพาะของแต่ละบุคคลซึ่งในการเขี้ยเชื้อเห็ดจะต้องทำในอุณหภูมิที่เหมาะสม

  • -

  • เริ่มต้นตั้งแต่เริ่มเรียนรู้จนถึงปัจจุบันสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการผลิตก้อนเชื้อเห็ดได้ ก็สั่งสมประสบการณ์มาตลอดระยะเวลา  15  ปี