กลับไปหน้าค้นหา

นายคลาด รอดแก้ว

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 213 หมู 6 ตำบล : ปากหมาก อำเภอ : ไชยา จังหวัด: สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

ได้เข้าร่วมอบรมโครงการวิทยากรธนาคารต้นไม้ ที่จังหวัดชุมพร ได้นำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรม มาทดลองใช้ปฏิบัติในครัวเรือน จนเกิดความชำนาญ  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจได้  


ความสำเร็จ :

1. ประหยัดลดการใช้ปุ๋ยเคมี



๒. ใช้วัสดุในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์



๓. เปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ


ความชำนาญ : การทำปุ๋ยชีวภาพ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ได้เข้าร่วมอบรมโครงการวิทยากรธนาคารต้นไม้ ที่จังหวัดชุมพร ได้นำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรม มาทดลองใช้ปฏิบัติในครัวเรือน จนเกิดความชำนาญ  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจได้  

  • วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 



                        1.อินทรียวัตถุที่หาได้ในพื้นที่ หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้ 1 กิโลกรัม



     













     
     


     



     



     



                      



     



     



     



     



     



     



                       2.มูลสัตว์ต่าง ๆ กากถั่วต่าง ๆ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว 3 กิโลกรัม



     













     
     


     



     



     



     



     



     



     



     



     



     



     



     



                        3.รำละเอียด 1 กิโลกรัม



     



     



          



                      



     



     



     



     



     



     



                       4.น้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100



     













     
     


     



     



     



     



     



     



     



     



     



     



                 วิธีทำ



                       1.นำส่วนผสมทั้งหมดเทรวมกัน



                       2.คลุกให้เข้ากันนำน้ำที่ผสมน้ำชีวภาพและกากน้ำตาลรดให้ทั่ว



                       3.เพิ่มน้ำรดส่วนผสมไปเรื่อยๆ (โดยผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพกับกากน้ำตาลในน้ำ ตามส่วนที่กำหนด) พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย



                       4.เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันสูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซม.



                       5.คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด



    • ประมาณ 12 ชั่วโมง ให้ทดสอบโดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก เมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีเส้นขาวๆ ปรากฏขึ้นบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน อีก 3-4 วัน ต่อมาให้ทดสอบอีกครั้ง ถ้าปุ๋ยเย็นลงถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้



    ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อรา ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนแสดงว่ามีข้อผิดพลาด อุณหภูมิในการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนนานเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ให้พอดีประมาณ 30%



                 วิธีใช้



                       1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร



                       2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ควรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผักประมาณ 2 กำมือ รดน้ำให้ชุ่ม ๆ



                       3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 2 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม



                      



                       4. ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งต่อ 1 กำมือ ใช้ 1 กิโลกรัม ต่อ 2x3 ตารางเมตร



                 ปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เวลาสลายสารอาหารสำหรับพืชเร็วกว่าปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื้นพอเหมาะ เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้



    จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมาก ๆ และในดินควรมีอินทรีย์วัตถุพวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง และมีความชื้นเพียงพอ ต้นพืชจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ    

  • 1. ประหยัดลดการใช้ปุ๋ยเคมี



    ๒. ใช้วัสดุในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์



    ๓. เปลี่ยนจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ

  • -
  • -
  • -