กลับไปหน้าค้นหา

นายอภิเดช ชูชะวัด

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 68/4 หมู 8 ตำบล : บางสน อำเภอ : ปะทิว จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

กลุ่มอนุรักษ์เขาดินสอ  บ้านแหลมยาง  หมู่ที่ 8  ตำบลบางสน 



อำเภอปะทิว  จังหวัดชุมพร



 



                   การเลี้ยงผึ้ง  เป็นอาชีพใหม่ของเกษตรกร โดยยึดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม      ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้เลี้ยง  ซึ่งเกษตรกรควรรู้จักขั้นตอนและวิธีการเลี้ยง เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติในการเลี้ยงผึ้ง  การเลี้ยงผึ้งให้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้



                   1. พันธุ์ผึ้ง



                   2. อาหาร



                   และสิ่งที่สำคัญยิ่ง ก็คือ ความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้งที่ถูกวิธี  ข้าพเจ้า    และคณะเรียบเรียงจากประสบการณ์ โดยประยุกต์ระหว่างการเลี้ยงผึ้งในอดีตกับสภาวะในปัจจุบันจัดทำเป็นเอกสาร เพื่อถ่ายทอดความรู้และพัฒนาอาชีพของเกษตรกร หมู่ที่ 8  ตำบลบางสน               อำเภอปะทิว  จังหวัดชุมพร



                   ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งและ    ผู้ที่สนใจเลี้ยงผึ้งพอสมควร  เพื่อใช้ในการศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติการเลี้ยงผึ้งให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป หากมีข้อเสนอแนะประการใดได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบด้วย  เพื่อนำไปปรับปรุงเอกสาร   การเลี้ยงผึ้งนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป 


ความสำเร็จ : -
ความชำนาญ : การเลี้ยงผึ้ง


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • กลุ่มอนุรักษ์เขาดินสอ  บ้านแหลมยาง  หมู่ที่ 8  ตำบลบางสน 



    อำเภอปะทิว  จังหวัดชุมพร



     



                       การเลี้ยงผึ้ง  เป็นอาชีพใหม่ของเกษตรกร โดยยึดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม      ที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้เลี้ยง  ซึ่งเกษตรกรควรรู้จักขั้นตอนและวิธีการเลี้ยง เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติในการเลี้ยงผึ้ง  การเลี้ยงผึ้งให้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้



                       1. พันธุ์ผึ้ง



                       2. อาหาร



                       และสิ่งที่สำคัญยิ่ง ก็คือ ความรู้และประสบการณ์ในการเลี้ยงผึ้งที่ถูกวิธี  ข้าพเจ้า    และคณะเรียบเรียงจากประสบการณ์ โดยประยุกต์ระหว่างการเลี้ยงผึ้งในอดีตกับสภาวะในปัจจุบันจัดทำเป็นเอกสาร เพื่อถ่ายทอดความรู้และพัฒนาอาชีพของเกษตรกร หมู่ที่ 8  ตำบลบางสน               อำเภอปะทิว  จังหวัดชุมพร



                       ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งและ    ผู้ที่สนใจเลี้ยงผึ้งพอสมควร  เพื่อใช้ในการศึกษาควบคู่กับการปฏิบัติการเลี้ยงผึ้งให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป หากมีข้อเสนอแนะประการใดได้โปรดแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบด้วย  เพื่อนำไปปรับปรุงเอกสาร   การเลี้ยงผึ้งนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป 

  •                    การล่อผึ้งควบคู่กับการเลี้ยง



                           การเลี้ยงผึ้งโพรง ปัญหาที่สำคัญ คือ ผึ้งหนีรัง ผู้เลี้ยงไม่สามารถเพิ่มปริมาณผึ้ง             ได้ตามความต้องการ และไม่สามารถคงสภาพผึ้งที่มีอยู่ให้เท่าเดิมได้ ผึ้งอพยพไปตามแหล่งอาหาร             แต่ละฤดูกาล ทางกลุ่มงานวิจัยผึ้งฯ ได้ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร โดยการล่อผึ้งควบคู่กับการเลี้ยงผึ้ง พบว่า ผึ้งที่หนีรัง แยกรัง และผึ้งป่าตามธรรมชาติจะอพยพหนีรัง แยกรัง และหารัง                จะไปเข้ารังล่อ ปริมาณ 100 กว่ารัง จากเดิมซื้อผึ้งมาเพียง 10 รัง ผึ้งที่ซื้อมาเลี้ยงไม่มีประสบการณ์มาก่อน ผึ้งที่นำมาเลี้ยงหนีรังทั้งหมด ต้องซื้อผึ้งมาใหม่อีก 5 รัง ผึ้งที่ซื้อมาครั้งหลังได้มีการเลี้ยงควบคู่กับการล่อ หลังจากนั้นทางกลุ่มงานฯ สามารถเพิ่มจำนวนผึ้งมากขึ้นทุกปี และสามารถแบ่งผึ้งจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพรไปทดลองตามท้องที่ต่างๆ ประมาณ 100 กว่ารัง ฉะนั้น การเลี้ยงผึ้งโพรง             ควรมีการล่อควบคู่กันไปด้วย



                       8. การเสริมคอนที่เป็นแผ่นรังเทียม



                           ปัจจัยที่ช่วยเพิ่มผลผลิตของผึ้งโพรง คือ การเสริมคอนที่เป็นแผ่นรังเทียม                     ผึ้งจะมีความต้องการที่จะเพิ่มคอน เมื่อประชากรหนาแน่น และมีแนวโน้มว่าต้องการคอน โดยการสร้างรังผึ้งบนหลังคอน หรือการก่อเป็นรวงเล็กๆ ตรงด้านใต้ของฝาปิด จากการตรวจเช็คแผ่นรังเทียมที่ใช้ให้ผึ้งยอมรับแล้ว ปรากฏว่า 80 % ของแผ่นรังเทียม จะเป็นน้ำผึ้งประมาณ 20 %  และจะเป็นเกสรและตัวอ่อนผึ้งผู้  สำหรับรวงผึ้งที่ผึ้งสร้างเองตามธรรมชาติ จะมีน้ำผึ้งประมาณ 30 %  และมี           ตัวอ่อน 70 %



                           วิธีการดำเนินการใส่แผ่นรังเทียม



                           1. ตัดแผ่นรังเทียมให้เท่ากับจำนวนคอน



                           2. กรีดแผ่นรังเทียมกับขดลวดลงไป 0.5 นิ้ว



                           3. ใช้ไฟฟ้าทำให้เส้นลวดร้อน



                           4. นำแผ่นรังเทียมที่ทำแล้วเข้าไปเสริมตรงกลางของรัง รังละ 1 คอน



                           5. รังผึ้งที่ใช้แผ่นรังเทียม ควรเป็นผึ้งที่สมบูรณ์มากเท่านั้น และควรให้อาหารเสริมช่วย

  • -
  • ผึ้งเป็นสัตว์สังคมที่มีพฤติกรรมที่น่าสนใจ มีระบบการทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นสัตว์ที่มีความเสียสละและความดุร้ายพอๆ กัน เพื่อป้องกันรังและรักษาชีวิตให้อยู่รอด มนุษย์เราจึงนำการดำรงชีวิตของผึ้งมาปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต การทำงานของผึ้งเกิดจาก    ระบบการควบคุมสารฟีโรโมนของผึ้งนางพญาและผึ้งงานวัยต่างๆ การทำงานของผึ้งพอสรุปได้ว่า               ผึ้งทำงานตั้งแต่ลืมตาดูโลกจนหมดอายุขัย แม้การตายของผึ้งก็ไม่เป็นภาระแก่ผึ้งตัวอื่นๆ                      โดยพฤติกรรมการตายของผึ้งจะบินไปตายนอกรัง  พฤติกรรมต่างๆ ของผึ้งที่ควรศึกษา มีดังนี้



                       1. การอยู่รอด  ผู้เลี้ยงผึ้งโพรงพบว่า ผึ้งโพรงมีการทิ้งรังและแยกรังสูง ซึ่งเป็นพฤติกรรมการอยู่รอดของผึ้งโพรง จากการศึกษาการให้อาหารเสริมแก่ผึ้งในช่วงขาดแคลนและไม่ให้อาหารเสริม พบว่า



                              - ผึ้งที่ได้รับอาหารเสริมหนีรังไป ประมาณ 25 %



                              - ผึ้งที่ไม่ได้รับอาหารเสริมหนีรังไป  ประมาณ  75 %



                       การหนีรังของผึ้งโพรง คือ พฤติกรรมการอยู่รอด เมื่อแหล่งอาหารขาดแคลน หรือถูกศัตรูรบกวน  ผึ้งมีจะอพยพไปอยู่ที่แหล่งอื่นๆ การแยกรังของผึ้งโพรง จากการศึกษาพบว่า ผึ้งสามารถแยกรังได้ 6 ครั้ง / รัง / ปี ซึ่งการแยกรังจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่ที่พบมากที่สุด คือ ช่วงเดือนสิงหาคม – กุมภาพันธ์  ผึ้งที่แยกรังหรือหนีรัง ส่วนใหญ่จะอพยพไปหาแหล่งอาหารที่สมบูรณ์กว่า



                       การอพยพของผึ้งมีความสัมพันธ์กับแหล่งอาหารผึ้งส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ใน                 สวนมะพร้าว ประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่จั่นมะพร้าวออกมากกว่าช่วงอื่นๆ      จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นผึ้งก็จะอพยพไปอยู่ป่าชายเลน ไม้ผล และไม้ป่า ตามลำดับ และจะวนกลับมาสวนมะพร้าวอีกครั้งเป็นวัฏจักร



                       ผู้เลี้ยงผึ้งควรคำนึงถึงความอยู่รอดของผึ้ง ไม่ใช่หวังที่จะเก็บน้ำผึ้งอย่างเดียว และควรป้องกันศัตรูให้กับผึ้งด้วย



              2. ความดุร้าย  ช่วงผึ้งอพยพจะไม่มีความดุร้าย แต่เมื่อผึ้งสร้างรังที่มีสภาพสมบูรณ์    มีอาหารและตัวอ่อนมาก ผึ้งจะมีพฤติกรรมที่ดุร้าย เพื่อป้องกันรัง ตัวอ่อน และน้ำผึ้งหากผู้เลี้ยง          มีการปฏิบัติที่นิ่มนวลผึ้งก็จะไม่แตกตื่นตกใจและแสดงความดุร้ายออกมา ในทางตรงกันข้ามผู้เลี้ยงมีการปฏิบัติที่ทำให้ผึ้งแตกตื่นตกใจ ผึ้งจะดุร้ายและต่อต้านการปฏิบัติ ช่วงปฏิบัติงานครั้งแรก ผึ้งจะยังไม่คุ้นเคยกับการปฏิบัติงานของผู้เลี้ยง จะแสดงความดุร้ายออกมา 

  • -
  • การเลี้ยงผึ้งโพรง ผู้เลี้ยงไม่ได้เคลื่อนย้ายไปตามแหล่งอาหารเหมือนกับผึ้งพันธุ์                ส่วนใหญ่จะเลี้ยงอยู่ในสวนมะพร้าว ทำให้ผึ้งขาดแคลนอาหารในบางช่วง โดยทางศูนย์งานวิจัยผึ้ง                  ขอแนะนำให้เลี้ยงผึ้งโพรงในสวนมะพร้าว และการย้ายผึ้งไปเลี้ยงตามแหล่งอาหาร เช่น ในสวน        เงาะ ทุเรียน ยางพารา และนุ่น นอกจากนั้นควรเลี้ยงในสวนมะพร้าวโดยการให้อาหารเสริมในช่วง            ที่ผึ้งขาดแคลนอาหารเท่าที่จำเป็น



                       1. การตรวจเช็คผึ้งและการจัดการภายในรังผึ้ง ควรพิจารณาดังนี้



                           - เวลาที่ทำการตรวจเช็ค ควรเป็นช่วงเช้าหรือในตอนเย็น มีอากาศแจ่มใส ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไม่ร้อน การตรวจเช็คในช่วงที่ผึ้งไม่ดุร้าย



                           - ความถี่ในการตรวจเช็ค ถ้าทำการตรวจเช็คบ่อยครั้งเป็นการรบกวนผึ้ง ทำให้ผึ้งตื่นตกใจ ควรตรวจเช็คทุก 10 วัน/ครั้ง



                           - การเตรียมตัวในการตรวจเช็ค



                           ความเชื่อมั่นในตัวเอง คือ ผู้เลี้ยงไม่ต้องกลัวผึ้งต่อย พิษของผึ้ง คือ ยารักษาโรค            ไขข้ออักเสบ (รูมาติซึ่ม) ถ้าผู้เลี้ยงมาการปฏิบัติงานที่เบาบางนิ่มนวล ผึ้งจะไม่ตกใจ การทำงานของผึ้งก็จะเป็นไปโดยปกติ ผู้เลี้ยงผึ้งสามารถดูพฤติกรรมการทำงานของผึ้ง เช่น สังเกตแหล่งอาหารว่าผึ้ง   เก็บมาจากที่ใด สังเกตว่าผึ้งอนุบาลห้อมล้อมดูแลนางพญาในการป้อนอาหารและทำความสะอาด นางพญาป้อนอาหารตัวอ่อนและปฏิบัติงานอื่นๆ ของผึ้งภายในรังได้ การปฏิบัติงานกับผึ้งนั้น            ถ้าถูกผึ้งต่อยต้องใจเย็น ค่อยๆใช้เล็บจิกเอาเหล็กในออกแล้วปฏิบัติงานต่อไป



                           เครื่องแต่งกายในการปฏิบัติงาน ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีความดุร้ายกว่าผึ้งพันธุ์ต่างประเทศ การแต่งกายควรเป็นชุดรัดกุม เรียกว่า ชุดกันผึ้ง ไม่มีช่องว่างให้ผึ้งเข้าต่อยได้                โดยเฉพาะบริเวณเนื้ออ่อนๆ เช่น บริเวณใบหน้า ซอกคอ บริเวณขา เป็นต้น