กลับไปหน้าค้นหา

นายชูศักดิ์ ทองภูเบศร์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ เลขที่ 122/4 หมู 3 ตำบล : ชุมโค อำเภอ : ปะทิว จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

การนวดจับเส้นเป็นการถ่ายทอดจากผู้มีความรู้ให้ตนเองมาอีกที โดยตนเองจะถนัดในเรื่องการจับเส้น ซึ่งการนวดจับเส้นจะมีหลายรูปแบบการนวดจับเส้นเป็นการนวดพื้นบ้านที่เน้นหนักเกี่ยวกับการนวดเส้นการนวดจับเส้นมีวิธีการในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. การบีบเส้นเป็นการนวดโดยใช้นิ้วทั้ง 4 จับตามแนวเส้น และบีบไล่ไปตามแนวเส้นเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตและลมลดอาการปวดเมื่อยจากเส้นเอ็นตึงหดรัดเส้นลวด

2. การเขี่ยเส้น(การคิดเส้น) เป็นการจับเส้นโดยใช้นิ้วโป้ง กดบนเส้นด้านหนึ่งแล้วใช้นิ้วกดรับอีกด้านหนึ่งแล้วเขี่ยตวัดนิ้วโป้งขึ้นไปคนละด้านตามแนวเส้น

3. การโกยเส้นเป็นการจับเส้นโดยใช้ปลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว กดบนเส้นแล้วควักโกยขึ้นส่วนมากใช้ในการโกยมดลูกหรือโกยเส้นในกรณีไส้เลื่อนในผู้ชาย

4. การประคองเส้น เป็นวิธีการจับเส้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาผู้ที่มีการปากเบี้ยวโดยหมอจะใช้มือข้างหนึ่งกดดันเส้นปากด้านที่มีอาการแล้วใช้อีกมือหนึ่งประคองด้านตรงข้าม

5. การดันเส้นเป็นวิธีการจับเส้นโดยใช้สันมือด้านหนึ่งผลกหรือดันไปตามแนวเส้นและใช้มืออีกด้านหนึ่งจับประคองอวัยวะนั้น ทำให้เส้นคลาย

6. การจกเส้นเป็นการแหย่นิ้วหัวแม่มือเข้าไปใต้กระดูกหรือกล้ามเนื้อ แล้วคิดหรือเขี่ยเส้นออกมาเส้นติดอยู่ข้างใน นวดเท่าไหร่ก็ไม่ออก

7. การถกเส้น เป็นการดึงเส้นเพื่อแก้เส้นสลับเข็ดที่ติดอยู่ข้างใน ที่นวดแล้วไม่ออก

8. การรีดเส้นเป็นวิธีการจับเส้น โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ หรือส้นเท้ารีดไปตามเส้นทั่วทั้งร่างกายเพื่อให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออัมพฤกษ์ อัมพาต ชามือ-เท้า



 


ความสำเร็จ :

-ตนเองได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ จึงอยากรักษาและถ่ายทอดให้ลูกหลานได้นำความรู้ที่ถ่ายทอด


ความชำนาญ : นวดแผนโบราณ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • การนวดจับเส้นเป็นการถ่ายทอดจากผู้มีความรู้ให้ตนเองมาอีกที โดยตนเองจะถนัดในเรื่องการจับเส้น ซึ่งการนวดจับเส้นจะมีหลายรูปแบบการนวดจับเส้นเป็นการนวดพื้นบ้านที่เน้นหนักเกี่ยวกับการนวดเส้นการนวดจับเส้นมีวิธีการในลักษณะต่างๆ ดังนี้

    1. การบีบเส้นเป็นการนวดโดยใช้นิ้วทั้ง 4 จับตามแนวเส้น และบีบไล่ไปตามแนวเส้นเพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตและลมลดอาการปวดเมื่อยจากเส้นเอ็นตึงหดรัดเส้นลวด

    2. การเขี่ยเส้น(การคิดเส้น) เป็นการจับเส้นโดยใช้นิ้วโป้ง กดบนเส้นด้านหนึ่งแล้วใช้นิ้วกดรับอีกด้านหนึ่งแล้วเขี่ยตวัดนิ้วโป้งขึ้นไปคนละด้านตามแนวเส้น

    3. การโกยเส้นเป็นการจับเส้นโดยใช้ปลายนิ้วมือทั้ง 10 นิ้ว กดบนเส้นแล้วควักโกยขึ้นส่วนมากใช้ในการโกยมดลูกหรือโกยเส้นในกรณีไส้เลื่อนในผู้ชาย

    4. การประคองเส้น เป็นวิธีการจับเส้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาผู้ที่มีการปากเบี้ยวโดยหมอจะใช้มือข้างหนึ่งกดดันเส้นปากด้านที่มีอาการแล้วใช้อีกมือหนึ่งประคองด้านตรงข้าม

    5. การดันเส้นเป็นวิธีการจับเส้นโดยใช้สันมือด้านหนึ่งผลกหรือดันไปตามแนวเส้นและใช้มืออีกด้านหนึ่งจับประคองอวัยวะนั้น ทำให้เส้นคลาย

    6. การจกเส้นเป็นการแหย่นิ้วหัวแม่มือเข้าไปใต้กระดูกหรือกล้ามเนื้อ แล้วคิดหรือเขี่ยเส้นออกมาเส้นติดอยู่ข้างใน นวดเท่าไหร่ก็ไม่ออก

    7. การถกเส้น เป็นการดึงเส้นเพื่อแก้เส้นสลับเข็ดที่ติดอยู่ข้างใน ที่นวดแล้วไม่ออก

    8. การรีดเส้นเป็นวิธีการจับเส้น โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ หรือส้นเท้ารีดไปตามเส้นทั่วทั้งร่างกายเพื่อให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ส่วนใหญ่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออัมพฤกษ์ อัมพาต ชามือ-เท้า



     

  • การนวดเเก้เป็นลมสาเหตุ   อาจเนื่องมาจากร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยจัด อากาศร้อน



    อบอ้าว อยู่กลางเเดดนานเกินไปหรืออยู่ในที่เเออัด อดอาหาร อดนอน ตื่นเต้น ตกใจ



    อาการ   อาการจะเกิดขึ้นรวดเร็ว รู้สึกมึน โคลงเคลง ตาพร่า หูอื้อ วิงเวียน มือ-เท้าเย็นเหงื่อออก หน้าซีด ชีพจรเบา เเละมีความดันต่ำ*จุดนวดกดจุดร่องนิ้วโป้งมือซ้าย-ขวา 3-4 ครั้ง.กดจุดร่องใต้จมูกเหนือริมฝีปาก 3-4 ครั้งกดจุดใต้ลิ้นปี่ 3-4 ครั้งนวดบ่า เส้น 1 เเละเส้น 2 3-4 ครั้งนวดคอ เส้น 1 เเละเส้น 2 3-4 ครั้ง



    *ข้อเเนะนำ    ---ให้ผู้ป่วยพักในที่ถ่ายเทดีใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดหน้าเเละลำคอ



    ---หมายเหตุ  ถ้านวดเเล้วไม่ดีขึ้นให้ส่งโรงพยาบาล



    *การนวดเเก้ตกหมอน---สาเหตุ   เกิดจากการนอนหมอนที่สูงหรือเเข็งเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอต้องยืดเป็นเวลานานๆหรือเกิดจากการยกของหนักๆเป็นเวลานานซึ่งทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเเละเส้นเอ็นของเเขน หัวไหล่ ต้นคอ หากผู้ที่กำลังยก หรือ หิ้วของหนักอยู่นั้น หันหน้าหรือบิดคอไปข้างใดข้างหนึ่งอย่างกระทันหัน จะทำให้คอเคล็ดหรือเกิดอาการตกหมอนได้หรืออาจเกิดจากการทำงานในอิริยาบทที่ไม่เหมาะสมเช่น การก้มคอนานๆบางทีเกิดจากความเครียดวิตกกังวลซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดการเกร็งตัว



    ---อาการ มีอาการปวดคอข้างใด ข้างหนึ่ง หรือปวดต้นคอถึงหัวไหล่ บางคนอาจปวดถึงสะบัก จะเอี้ยวคอหรือหันหน้าไม่ถนัด คอจะเเข็ง บางคนก้มหรือเงยไม่ได้ เวลาหันหน้าจะต้องหันไปทั้งตัว มักจะเกิดอาการปวดเมื่อยเวลาจะหันหน้าหรือเอียงตัว



    *จุดนวดกดเส้นบ่า1 เเละบ่า 2 เส้นคอ 1 เเละคอ 2กดนวดรอบขอบสะบักโดยดันเข้าหากระดูกสันหลัง.กดจุดโค้งคอข้างที่เป็น.กดจุดปลายสะบักเเบบดันขึ้นบน



    *ข้อเเนะนำ   ---ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่ปวดข้อควรระวัง  ถ้ามีอาการปวดร้าวลงเเขน ทำให้แขนชาไม่เเรง มักเกิดจากรากประสาทบริเวณคอถูกกดทับกรณีนี้ ห้ามทำการนวด ควรส่งโรงพยาบาล

  • -ตนเองได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ จึงอยากรักษาและถ่ายทอดให้ลูกหลานได้นำความรู้ที่ถ่ายทอด

  • -ไม่ควรบีบคลายเส้นขณะผู้ป่วยมีอาการเป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน

  • -
  • -