กลับไปหน้าค้นหา

นายกัน ทิพย์จ้อย

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 163 หมู 6 ตำบล : หนองมะค่าโมง อำเภอ : ด่านช้าง จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

ข้าพเจ้าสนใจการทำเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ เพราะกบตามธรรมชาติหากินยากขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกันผู้คนและตลาดกบมีความต้องการสูง เพราะกบเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศและต่างประเทศ เช่น สเปน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ สำหรับผู้เลี้ยงกบหากหลีกเลี่ยงช่วงที่มีการจับกบในแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลดปัญหาด้านราคาตกต่ำ แต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยเลี้ยงตัวตามธรรมชาติของกบลดลง ดังนั้นแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคต จึงนับได้ว่ามีลู่ทางแจ่มใส ไม่มีปัญหาด้านการจำหน่าย และราคาก็ดีมีผลคุ้มค่าต่อการลงทุนลงแรง สามารถส่งเป็นสินค้าออกช่วยการขาดดุลให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย


ความสำเร็จ :

ต้องศึกษาอุปนิสัยใจคอของกบซึ่งมีความสำคัญเพื่อประกอบการเลี้ยงเช่น กบมีนิสัยดุร้ายและชอบรังแกกันการเลี้ยงกบคละกันโดยไม่คัดขนาดเท่า ๆ กัน ในบ่อเดียวกัน เป็นเหตุให้กบใหญ่รังแกและกัดกินกบเล็กเป็นอาหาร หรือไม่รู้ว่านิสัยใจคอของกบเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อสภาพที่เลี้ยงมีลักษณะโปร่ง เช่น เป็นอวนไนลอนทำให้กบสามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกมันจะกระตือรือร้นที่จะดิ้นรนหาทางออกไปสู่โลกภายนอก โดยจะกระโดดชนอวนไนลอนจนปากบาดเจ็บและเป็นแผล เป็นเหตุให้ลดการกินอาหารหรือถ้าเจ็บมาก ๆ ถึงกับกินอาหารไม่ได้เลยก็มี อย่างไรก็ตาม เอกสารคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงกบนี้ จะแนะนำวิธีการเลี้ยงทั้งแบบกึ่งพัฒนา และการเลี้ยงแบบพัฒนา ทั้งนี้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทุนทรัพย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป


ความชำนาญ : เลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าพเจ้าสนใจการทำเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ เพราะกบตามธรรมชาติหากินยากขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกันผู้คนและตลาดกบมีความต้องการสูง เพราะกบเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งซึ่งตลาดนิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศและต่างประเทศ เช่น สเปน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ สำหรับผู้เลี้ยงกบหากหลีกเลี่ยงช่วงที่มีการจับกบในแหล่งธรรมชาติก็จะช่วยลดปัญหาด้านราคาตกต่ำ แต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยเลี้ยงตัวตามธรรมชาติของกบลดลง ดังนั้นแนวโน้มการเลี้ยงกบในอนาคต จึงนับได้ว่ามีลู่ทางแจ่มใส ไม่มีปัญหาด้านการจำหน่าย และราคาก็ดีมีผลคุ้มค่าต่อการลงทุนลงแรง สามารถส่งเป็นสินค้าออกช่วยการขาดดุลให้แก่ประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

  • การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ สามารถจับกบได้ทุกโอกาสไม่ว่าจะจับหมดทั้งบ่อหรือจับจำหน่ายปลีก โดยใช้คนเพียงคนเดียวพร้อมทั้งสวิงเมื่อลงในบ่อซึ่งมีน้ำเพียง 1 ฟุต กบจะกระโดดลงไปมุดอยู่ในน้ำ จึงใช้สวิงช้อนขึ้นมา หรือใช้มือจับใส่สวิงอย่างง่ายดาย ในบ่อหนึ่ง ๆ ขนาด 12 ตารางเมตร เลี้ยงกบประมาณ 1,000 ตัวใช้คน ๆ เดียวจับเพียง 1 ชั่วโมงก็แล้วเสร็จ



              การเลี้ยงกบควรคำนึงถึงระยะเวลาเลี้ยงควบคู่ไปกับระยะเวลาที่จะจับกบจำหน่าย เนื่องจากในฤดูฝนกบจะมีราคาถูกถ้าผู้เลี้ยงจะต้องจับกบจำหน่ายในช่วงนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนน้อยแต่ถ้ากะเวลาเลี้ยงและเวลาจับจำหน่ายให้ถูกต้อง คือเมื่อรู้ว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงกบนาน 4 เดือน จึงต้องกะระยะเวลาเดือนที่ 4 ให้ตรงกับอยู่ในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูร้อน เพราะในช่วงนี้กบราคาแพง ผู้เลี้ยงสามารถขายได้ในราคาที่ดีคุ้มกับการลงทุน อีกทั้งผู้ที่ต้องการจำหน่ายปลีก ควรจะติดต่อตกลงราคาและจำนวนกับผู้ซื้อไม่ว่าจะเป็นตลาดสดหรือร้านอาหารให้เป็นที่แน่นอนก่อนจึงจะจับกบไปส่งจำหน่ายได้ต่อไป



              ในการลำเลียงกบไม่ว่าจะเป็นกบเล็กกบใหญ่ ในภาชนะลำเลียงกบควรมีน้ำเพียงเล็กน้อย และจะต้องมีวัสดุ เช่น หญ้า ฟาง ผักบุ้ง ผักตบชวา เพื่อให้กบเข้าไปซุกอาศัยอยู่ มิฉะนั้นในระหว่างเดินทางกบจะกระโดดเต้นไปมาเกิดอาการจุกเสียดแน่นและเป็นแผล



              การดูแลรักษา นอกจากจะเอาใจใส่ในเรื่องการให้อาหาร การรักษาความสะอาดภาชนะ ที่ให้อาหารดังกล่าวแล้ว ในการเลี้ยงกบจะต้องคำนึงถึงความสะอาด โดยเฉพาะในแอ่งน้ำหรือการเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์ ต้องมีการขัดล้างถ่ายเทน้ำในบางครั้งทั้งนี้ถ้าที่อยู่อาศัยของกบสะอาดและมีสุขลักษณะที่ดี ความเป็นอยู่และการเจริญเติบโตของกบก็ดี ลดอัตราการเป็นโรคพยาธิเบียดเบียน แต่กบเป็นสัตว์ที่ตื่นและตกใจง่าย ซึ่งเมื่อเกิดการตกใจดังกล่าวกบจะเกิดอาการชัก เป็นตะคริวและถึงกับช็อกตายได้ หรือเมื่อเกิดตกใจก็จะกระโดดเต้นไปมาในบ่อ และจะเกิดอาการกระทบกระแทก เป็นแผลฟกช้ำจุกแน่นจุกเสียด เมื่อเป็นมาก ๆ ก็มีโอกาสถึงตายได้เช่นกัน ดังนั้น การทำความสะอาดภายในบ่อเลี้ยงกบ

  • ต้องศึกษาอุปนิสัยใจคอของกบซึ่งมีความสำคัญเพื่อประกอบการเลี้ยงเช่น กบมีนิสัยดุร้ายและชอบรังแกกันการเลี้ยงกบคละกันโดยไม่คัดขนาดเท่า ๆ กัน ในบ่อเดียวกัน เป็นเหตุให้กบใหญ่รังแกและกัดกินกบเล็กเป็นอาหาร หรือไม่รู้ว่านิสัยใจคอของกบเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อสภาพที่เลี้ยงมีลักษณะโปร่ง เช่น เป็นอวนไนลอนทำให้กบสามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกมันจะกระตือรือร้นที่จะดิ้นรนหาทางออกไปสู่โลกภายนอก โดยจะกระโดดชนอวนไนลอนจนปากบาดเจ็บและเป็นแผล เป็นเหตุให้ลดการกินอาหารหรือถ้าเจ็บมาก ๆ ถึงกับกินอาหารไม่ได้เลยก็มี อย่างไรก็ตาม เอกสารคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงกบนี้ จะแนะนำวิธีการเลี้ยงทั้งแบบกึ่งพัฒนา และการเลี้ยงแบบพัฒนา ทั้งนี้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทุนทรัพย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป

  • ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้



    1. งดให้อาหารกบ เพราะถ้ากบกินอาหารแล้วต้องกระโดดเต้นไปมาเพราะตกใจเนื่องจากคนลงไปรบกวนที่อยู่อาศัย โอกาสจุกเสียดแน่นถึงตายมีมาก



    2. หาวัสดุที่โปร่งเป็นโพรง เช่น ทางมะพร้าวสุมทุมเพื่อให้กบเข้าไปหลบซ่อนตัวเมื่อเข้าไปทำความสะอาด โดยเฉพาะในบ่อซีเมนต์เมื่อปล่อยน้ำเก่าทิ้งจนแห้ง กบจะเข้าไปหลบตัวในสุมทุมนั้น จะไม่ออกมากระโดดเต้นจนเป็นเหตุให้เจ็บป่วย



    3. หลังจากทำความสะอาดแล้ว อาหารมื้อต่อไปควรผสมยาลงไปด้วยทุกครั้งเพื่อบรรเทาการอักเสบลงได้ อนึ่ง ลักษณะการงดให้อาหารเช่นนี้จะต้องกระทำทุกครั้งที่มีการลำเลียงเคลื่อนย้ายกบ ไม่ว่าจะเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์หรือลูกกบก็ตาม ยาที่ผสมในอาหารให้กบกินนั้นถ้ามีอาการไม่รุนแรงนักก็ใช้ออกซีเตตร้าซัยคลิน 1 ช้อนแกง ผสมลงในอาหาร 3 กก. เช่นกัน ทั้งนี้เพราะตัวยาแรงผิดกันและให้กบกินมื้อเดียวแล้วหยุดไปประมาณ 5-6 วัน (เฉพาะอาหารที่ผสมยา) เพื่อสังเกตดูอาการของกบว่าทุเลาลงแล้วหรือไม่ ถ้ายังไม่มีอาการดีขึ้นก็ให้อาหารผสมยาขนาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 1 มื้อ



    โรคกบ



              ปัญหาโรคกบที่เกิดขึ้นนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากความผิดพลาดทางด้านการเลี้ยงและการจัดการ ทำให้มีการหมักหมมของเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นในบ่อ โดยเฉพาะการเลี้ยงกบในปัจจุบันมักจะใช้บ่อซีเมนต์ และเลี้ยงกันอย่างหนาแน่น มีการให้อาหารมาก ประกอบกับการขาดความเอาใจใส่ และไม่เข้าใจเรื่องความสะอาดของบ่อรวมถึงน้ำที่เลี้ยง โอกาสที่กบจะเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีมากขึ้น เท่าที่ได้รวบรวมข้อมูลทางด้านโรคต่าง ๆ ที่ตรวจพบจากกบนั้นพอจะแบ่งออกได้ดังนี้



    1. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นโรคที่ทำความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงกบมากที่สุด ทั้งในช่วงที่เป็นลูกอ๊อด และกบเต็มวัย ซึ่งในที่นี้จะแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ



    1.1 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด พบได้ตั้งแต่ระยะที่ไข่ฟักเป็นตัวจนกระทั่งพัฒนาเป็นตัวเต็มวัย อาการที่สังเกตได้คือ ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่าง คล้ายโรคตัวด่างในปลาดุก จากนั้นจะเริ่มพบอาหารท้องบวมและตกเลือดตามครีบหรือระยางค์ต่าง ๆ



              สาเหตุของการเกิดโรคมักจะมาจากการปล่อยลูกอ๊อดในอัตราหนาแน่นเกินไปมีการให้อาหารมากทำให้คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม โดยเฉพาะค่าพีเอชของน้ำจะต่ำลงมาก นอกจากนี้ลูกอ๊อดยังกัดกันเองทำให้เกิดเป็นแผลตามลำตัว เปิดโอกาสให้เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค คือ แบคทีเรียในกลุ่ม Flexibacteris เข้าทำอันตรายได้ง่ายขึ้น อาการของโรคทวีความรุนแรงถ้าคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงเสียมากขึ้น และ เลี้ยงลูกอ๊อดหนาแน่นเกินไป ดังนั้นวิธีการป้องกันคือ อนุบาลลูกอ๊อดในความหนาแน่นที่เหมาะสมตารางเมตรละ 1,000 ตัว และทำการคัดขนาดทุก ๆ 2-3 วันต่อครั้ง จนกระทั่งเป็นลูกกบแล้วอนุบาลให้ได้ขนาด 1-1.58 ซม. ในอัตราความหนาแน่นตารางเมตรละ 250 ตัว จากนั้นจึงปล่อยลูกกบลงเลี้ยงในอัตราตารางเมตรละ 100 ตัว ซึ่งเป็นความหนาแน่นที่เหมาะสมและลดปัญหาการเกิดโรค ทั้งนี้ต้องการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ และรักษาความสะอาดของบ่ออนุบาลเมื่อพบกบเริ่มแสดงอาการตัวด่างควรใช้เกลือแกงแช่ในอัตรา 0.5% (5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) นาน 3-5 วัน หรือในรายที่มีอาการมากอาจใช้ยาออกซีเตตร้าซัยคลินแช่ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันทุกวันนาน 3-5 วัน และไม่ควรใช้ยาและเกลือแกงในเวลาเดียวกัน เพราะเกลือจะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดต่ำลง



    1.2 โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะเต็มวัย พบทั้งในกบขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ องค์ประกอบที่จะทำให้อาการที่จะทำให้อาการของโรครุนแรงมากหรือน้อย คือ สายพันธุ์ของเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas และระยะเวลาของการเป็นโรคอาการของโรคโดยทั่วไปที่พบได้แก่ การเกิดแผลที่มีลักษณะเป็นจุดแดง ๆ ตามขาและผิวตัวโดยเฉพาะด้านท้อง จนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัวและขา เป็นต้น



    เมื่อเปิดช่องท้องเพื่อดูอวัยวะภายในจะพบว่ามีของเหลวในช่องท้อง ตับมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีจุดสีเหลืองซีด ๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่บางครั้งพบตุ่มสีขาวขุ่นกระจายอยู่ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรค คือ สภาพบ่อสกปรกมาก ดังนั้นจึงควรจัดการทำความสะอาดเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อย ๆ ควบคุมปริมาณอาหารให้พอเหมาะ และอย่าปล่อยกบลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป เมื่อกบเป็นโรค ควรใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซีเตตร้าซัยคลินผสมอาหารให้กบกินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมต่อวัน กินติดต่อกันจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือให้กินไม่น้อยกว่าครั้งละ 5-7 วัน



    2. โรคที่เกิดจากโปรโตซัวในทางเดินอาหาร โดยทั่วไปจะพบในกบเล็กมากกว่ากบโต อาการทั่วไปจะพบว่ากบไม่ค่อยกินอาหาร ผอม ตัวซีด เมื่อตรวจดูในลำไส้จะพบโปรโตซัวในกลุ่ม Opalina sp. และ Balantidium sp. อยู่เป็นจำนวนมาก การติดเชื้อโปรโตซัวในทางเดินอาหารนี้ถ้าเป็นติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะทำให้กบตายได้ การรักษาควรจะใช้ยา Metronidazole ผสมอาหารให้กินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม กินติดต่อกันครั้งละ 3 วัน แล้วเว้นระยะ 3-4 วัน แล้วให้ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง หรือจนกว่ากบจะมีอาการดีขึ้น และกินอาหารตามปกติ



    3. โรคท้องบวม โดยทั่วไปจะเกิดกับลูกอ๊อดในฟาร์มที่ใช้น้ำบาดาล การเปลี่ยนน้ำอย่างรวดเร็วโดยใช้น้ำบาดาลที่ไม่ได้พักไว้ก่อน จะทำให้ความดันก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำลดต่ำลงอย่างเฉียบพลัน มีผลให้ร่างกายของลูกอ๊อดต้องปรับความดันก๊าซในตัวเองลงมาให้เท่ากับความดันของก๊าซในน้ำ ทำให้เกิดฟองก๊าซขึ้นในช่องว่างของลำตัว ท้องลูกอ๊อดจึงบวมขึ้นมา การแก้ไขจะกระทำได้ยากมากจึงควรป้องกันโดยระมัดระวังในเรื่องการถ่ายน้ำอย่าเปลี่ยนน้ำปริมาณมาก ๆ ในเวลาสั้น ๆ และควรจะมีการพักน้ำและเติมอากาศให้ดีก่อนนำมาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำบาดาล



    การป้องกันโรค



              การเลี้ยงกบที่จะลดอัตราการแพร่ของเชื้อโรคนั้น ความสำคัญอยู่ที่ลักษณะของบ่อเลี้ยงที่จะต้องสะอาด มีแสงแดดส่องลงถึงพื้นได้ ถึงแม้จะมีการพรางแสงไว้มุมใดมุมหนึ่งก็ตาม น้ำในบ่อเลี้ยงต้องสามารถถ่ายเทได้ ดังนั้นในการเลี้ยงกบบางแห่ง จึงทำท่อน้ำที่รักษาระดับน้ำไว้ได้ โดยปล่อยน้ำเข้าทางหนึ่งและน้ำล้นออกอีกทางหนึ่ง ทำให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่เสมอ หรือบ่อปูนซีเมนต์ที่มีน้ำสูงเพียง 1 ฟุต ภายใต้น้ำเลี้ยงปลาดุกในอัตราส่วนกับปลา 100 : 20 หรือกบ 1,000 ตัว ปล่อยปลาดุก 200 ตัว ปลาดุกจะช่วยทำความสะอาดโดยเก็บกินเศษอาหารและมูลกบ ทำให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ได้นานเมื่อเปรียบเทียบกับบ่อที่ไม่มีปลาดุก



              ถึงอย่างไรก็ตามไม่ควรเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป และถ้าพบกบตัวใดมีอาการผิดปกติควรจับแยกออกเลี้ยงต่างหาก

  • -
  • -