กลับไปหน้าค้นหา

นายเอนก สดคมขำ

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 18 หมู 3 ตำบล : หนองมะค่าโมง อำเภอ : ด่านช้าง จังหวัด: สุพรรณบุรี
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

ข้าพเจ้าสนใจการทำปุ๋ยชีวภาพ เพราะเป็นการลดต้นทุนการผลิต และที่สำคัญไม่เป็นอันตรายทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงติดต่อยอดนำเอาสมุนไพรต่างๆมาผสมตามปัญหาของโรคพืชการการบำรุงดิน และเมื่อได้ผลดีจึงบอกต่อและถ่ายทอดให้เกษตรกรที่สนใจในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง


ความสำเร็จ :

การบำรุงดินที่ถูกต้องควรมีการใช้ร่วมกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีเพราะจะเป็นการลด



และเสริมประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี  เพราะปุ๋ยอินทรีย์จะมีแร่ธาตุที่ครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะไม่มีหรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแต่ต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้น


ความชำนาญ : ทำปุ๋ยชีวภาพ – ปุ๋ยน้ำ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ข้าพเจ้าสนใจการทำปุ๋ยชีวภาพ เพราะเป็นการลดต้นทุนการผลิต และที่สำคัญไม่เป็นอันตรายทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงติดต่อยอดนำเอาสมุนไพรต่างๆมาผสมตามปัญหาของโรคพืชการการบำรุงดิน และเมื่อได้ผลดีจึงบอกต่อและถ่ายทอดให้เกษตรกรที่สนใจในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง

  • ปุ๋ยชีวภาพแห้ง



    ส่วนผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)



    วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 - 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้



    ปุ๋ยชีวภาพแบบน้ำ(ฮอร์โมนพืช)



    ส่วนผสม : ประกอบด้วย กล้วยน้ำว้าสุก /ฟักทองแก่จัด /มะละกอสุก อย่างละ 1 ก.ก. น้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และน้ำสะอาด 5 ลิตร



    วิธีทำ : สับกล้วย ฟักทอง และมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด (ส่วนแรก) จากนั้นนำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน (ส่วนที่สอง) จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงปุ๋ยโดยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาระยะเวลา 7 - 8 วัน



    การใช้ประโยชน์ : นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก (ในถังพลาสติก) ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี

  • การบำรุงดินที่ถูกต้องควรมีการใช้ร่วมกันระหว่างปุ๋ยอินทรีย์กับปุ๋ยเคมีเพราะจะเป็นการลด



    และเสริมประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยเคมี  เพราะปุ๋ยอินทรีย์จะมีแร่ธาตุที่ครบถ้วนทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองซึ่งปกติแล้วปุ๋ยเคมีจะไม่มีหรือมีเพียงบางธาตุเท่านั้น ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่น้อยกว่าธาตุอาหารหลัก เพียงแต่ต้องการในปริมาณน้อยเท่านั้น

  • -
  • -
  • -