กลับไปหน้าค้นหา

นางละเอียด ใจสมัคร

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 208 หมู 3 ตำบล : บ้านยาง อำเภอ : วัดโบสถ์ จังหวัด: พิษณุโลก
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

บายศรีเป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้องมีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ บ้านน้ำหักจึงสืบสานภูมิปัญญาการทำบายศรีมาอนุรักษ์ไว้ในชุมชน  ซึ่งเป็นการเอาวัสดุธรรมชาติในชุมชนมาประดิษฐ์เป็นบายศรีที่สวยงามเพื่อใช้ในการทำพิธีกรรมต่างๆ


ความสำเร็จ :

  1. ใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น

  2. เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อๆกันมาในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น

  3. เป็นการแปรรูปข้าวเหนียวให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า



กลเม็ดเคล็ดลับ




  1. การเลือกใบตองตานีที่มีใบสวย

  2. การเช็ดใบตองต้องเช็ดตามแนวของเส้นใบตองเพื่อไม่ให้ใบตองแตก

  3. การม้วนใบตองที่ได้ขนาดสวยงาม


ความชำนาญ : การทำบายศรี


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • บายศรีเป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้องมีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ บ้านน้ำหักจึงสืบสานภูมิปัญญาการทำบายศรีมาอนุรักษ์ไว้ในชุมชน  ซึ่งเป็นการเอาวัสดุธรรมชาติในชุมชนมาประดิษฐ์เป็นบายศรีที่สวยงามเพื่อใช้ในการทำพิธีกรรมต่างๆ

  • กระบวนการ




    1. ข้าใบตอง (ควรใช้ใบตองตานี) 

    2. แม็กซ์เย็บกระดาษ 

    3. ลวดเย็บกระดาษ      

    4. กรรไกร

    5. ดอกไม้ ,ดอกพุด , ดอกดาวเรือง    

    6. ลวดหรือตะปูเข็ม

    7. โฟม                     



    ขั้นตอนการทำ




    1. นำใบตองมาเช็ดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆออก  โดยใช้ผ้าเช็ดตามรอยของเส้นใบตองไปในทางเดียวกัน  แล้วฉีกใบตองออก ขนาดกว้างประมาณ 2 นิ้ว

    2. ทำลูกบายศรีเริ่มใส่ดอกพุดพันพับใบตองม้วนไปทางขวาให้ปลายแหลมโคนใหญ่ พับให้ถึงครึ่งใบเสร็จแล้วที่เหลืออีกครึ่งใบให้พับมาตรงกลางของที่เราม้วนทางด้านขวาไว้แล้วพับกลีบข้างเย็บด้วยแม็กซ์ในขั้นตอนนี้จะทำลูกบายศรีไว้เยอะๆ

    3. เข้าลูกบายศรี  โดยจะเข้าลุกไว้ให้ครบเริ่มจากนำลุกบายศรีมาเข้าลูกใช้ใบตองมาพับเข้าหากันทั้งซ้ายและขวา  เย็บด้วยแม็กซ์  ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 9  ชั้น

    4. นำบายศรีที่เข้าลูกครบทั้ง 9  ชั้นแล้วมาประกอบกับโฟมโดยยึดด้วยลวดหรือตะปูเข็ม  แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ให้สวยงาม



     


    1. ใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น

    2. เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อๆกันมาในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น

    3. เป็นการแปรรูปข้าวเหนียวให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า



    กลเม็ดเคล็ดลับ




    1. การเลือกใบตองตานีที่มีใบสวย

    2. การเช็ดใบตองต้องเช็ดตามแนวของเส้นใบตองเพื่อไม่ให้ใบตองแตก

    3. การม้วนใบตองที่ได้ขนาดสวยงาม

  • -
  • -
  • -