กลับไปหน้าค้นหา

นายอินทรีย์เดช คงเนตร

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 4 หมู 7 ตำบล : ท้อแท้ อำเภอ : วัดโบสถ์ จังหวัด: พิษณุโลก
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 3
ประวัติ :

เนื่องจากมีพื้นที่ทำกินจำกัด เมื่อเสร็จจากการทำนา ใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดฤดูแล้ง เพื่อลดต้นทุนการปลูกพืชจึงได้ทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง  และได้นำน้ำหมักมาทำสบู่  แชมพู น้ำยาล้างจานใช้เองในครัวเรือน  ที่ใช้สม่ำเสมอ คือ น้ำหมักและน้ำส้มควันไม้


ความสำเร็จ :

ใฝ่หาความรู้ นำมาปฏิบัติ  ปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด


ความชำนาญ : การทำปุ๋ย/ทำไร่ข้าวโพด


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เนื่องจากมีพื้นที่ทำกินจำกัด เมื่อเสร็จจากการทำนา ใช้พื้นที่ปลูกข้าวโพดฤดูแล้ง เพื่อลดต้นทุนการปลูกพืชจึงได้ทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง  และได้นำน้ำหมักมาทำสบู่  แชมพู น้ำยาล้างจานใช้เองในครัวเรือน  ที่ใช้สม่ำเสมอ คือ น้ำหมักและน้ำส้มควันไม้

  • ส่วนผสมในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน  ประกอบด้วย




    1. เศษพืชแห้ง                  1,000      กิโลกรัม

    2. มูลสัตว์                          200       กิโลกรัม

    3. ปุ๋ยไนโตรเจน                       2       กิโลกรัม  (หรือน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากปลา 9 ลิตร)

    4. สารเร่งจุลินทรีย์ (พด.1)          1       ซอง



    วิธีการผลิตปุ๋ยหมัก





    1. กองปุ๋ยหมัก 1 ตัน มีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร




    2. ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันนาน 10-15 นาที




    3. กองชั้นแรกให้นำวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่งมากองเป็นชั้นมีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 30-40 เซนติเมตร ย่ำให้พอแน่นและรดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ




    4. นำมูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืช




    5. โรยปุ๋ยไนโตรเจนทับบน ชั้นของมูลสัตว์หรือรดด้วยน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากปลา




    6. ราดสารละลายสารเร่ง ให้ทั่วโดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ




    7. นำเศษพืชมากองทับเพื่อ ทำชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนกับการกองชั้นแรก ทำเช่นนี้อีก 2-3 ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ย  ปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่ เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้นด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่




    8. เมื่อปุ๋ยหมักใช้ได้ สังเกตจากความร้อนในกองปุ๋ย ภายในและภายนอกกองปุ๋ยใกล้เคียงกัน ปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาลแก่ ลักษณะของวัสดุเศษพืชอ่อนนุ่ม ยุ่ย ขาดออกจากกันง่าย





     



    การแก้ไข้ปัญหา คือ ไปอบรมหาข้อมูลแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข  นำมาใช้ในการประกอบอาชีพ

  • ใฝ่หาความรู้ นำมาปฏิบัติ  ปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด

  • อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมัก 




    1. ข้าว : ใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถกลบก่อนปลูกพืช

    2. พืชไร่ : ใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ โรยเป็นแถวตามแนวปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน

    3. พืชผัก :ใช้อัตรา 4 ตันต่อไร่ หว่านทั่วแปลงปลูกไถกลบขณะเตรียมดิน

    4. ไม้ผล ไม้ยืนต้น   - เตรียมหลุมปลูก :ใช้อัตรา 20 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้าปุ๋ยหมักกับดินใส่รองก้นหลุม                                                                                                                                              -  ต้นพืชที่เจริญแล้ว : ใช้อัตรา 20-50 กิโลกรัมต่อต้น โดยขุดร่องลึก 10 เซนติเมตร ตามแนวทรงพุ่มของต้นใส่ปุ๋ยหมักในร่องและกลบด้วยดินหรือหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม

    5. ไม้ดอก : ไม้ตัดดอก ใช้อัตรา 2 ตันต่อไร่ ไม้ดอกยืนต้นใช้ 5-10 กิโลกรัมต่อหลุม

  • ใบประกาศนียบัตรหลายอย่าง



    1. โครงการ/หลักสูตร  หมอดินอาสา  หน่วยงาน กรมพัฒนาที่ดิน




    2. โครงการ/หลักสูตร  ประมงอาสา   หน่วยงาน กรมประมง