กลับไปหน้าค้นหา

นางวนพร กลิ่นสาคร

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 11 หมู 6 ตำบล : ชาติตระการ อำเภอ : ชาติตระการ จังหวัด: พิษณุโลก
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : อื่นๆ
ประวัติ :

เกิดจากความคิดที่อยากจะตัดเสื้อผ้าไว้สวมใส่เอง และได้เปิดร้านตัดเสื้อผ้ามากว่า 10 ปี และมีการแปรรูปจากเศษผ้า เป็นของใช้สอยภายในบ้าน เช่น ผ้ากันเปื้อน  ฯลฯ


ความสำเร็จ :

ความพยายาม ความใส่ใจ ความละเอียดอ่อน และความรอบคอบ


ความชำนาญ : น้ำพริกแกง/ตัดเย็บผ้า


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เกิดจากความคิดที่อยากจะตัดเสื้อผ้าไว้สวมใส่เอง และได้เปิดร้านตัดเสื้อผ้ามากว่า 10 ปี และมีการแปรรูปจากเศษผ้า เป็นของใช้สอยภายในบ้าน เช่น ผ้ากันเปื้อน  ฯลฯ


    1. ขั้นตอนการวัดตัว เป็นการวัดขนาดเพื่อตรวจสอบความกว้าง ความยาว ความหนา ของสัดส่วน ซึ่งการวัดตัวนี้สำคัญมาก เพราะว่าจะส่งผลถึงลักษณะของผลสำเร็จ เช่น ผลงานได้สัดส่วน สวมใส่ได้สวยงามเหมาะสม หรือผลงานตึงรั้งสวมใส่ไม่ได้

    2. ขั้นตอนการสร้างแบบและแยกแบบ ทำได้โดยการนำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้หรือการออกแบบมาสร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น (Pattern) ลงกระดาษสร้างแบบ ตามกระบวนการของการสร้างแบบเสื้อผ้าแต่ละชนิด เช่น สร้างแบบตัดเสื้อ สร้างแบบตัดกระโปรง สร้างแบบตัดกางเกง เป็นต้น ต่อเมื่อสร้างเสร็จแล้วควรทำเครื่องหมายป้องกันความผิดพลาด และควรตรวจสอบขนาดให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยทำเครื่องหมายต่างๆ ลงบนแบบตัดและเขียนรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจน

    3. ขั้นตอนการคำนวณผ้า เลือกผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นเราควรคำนวณผ้าให้ถูกต้องเพื่อความประหยัดและเลือกผ้าให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของผ้า ซึ่งผลิตจากเส้นใยแต่ละชนิด เช่น ผ้าฝ้าย จะเป็นผ้าที่ได้จากเส้นใยของเมล็ดฝ้าย ซับน้ำได้ดี ทนต่อความร้อนสูง แต่ยับง่าย, ผ้าไนลอน เป็นผ้าใยสังเคราะห์ ไม่ทนต่อความร้อนและแสงแดด จับจีบได้ คงรูป เป็นต้น

    4. ขั้นจัดเตรียมผ้า เป็นการจัดเตรียมวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเย็บทุกชนิด เช่น เข็ม ด้าย กรรไกร ผ้า จักรเย็บผ้าบริเวณปฏิบัติงาน และแสงสว่าง เป็นต้น สำหรับผ้าที่ต้องการตัดเย็บ ถ้าไม่แน่ใจว่าจะหดหรือไม่ ควรนำผ้าไปแช่น้ำ ถ้าเป็นผ้าขาวให้แช่ด้วยน้ำเปล่า ถ้าเป็นผ้าสีให้แช่ในน้ำเกลือ โดยแช่ประมาณ 3 ชั่วโมง และนำไปผึ่งให้แห้ง พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการตัดเย็บให้ครบถ้วน

    5. ขั้นตอนการวางแบบตัดและตัดผ้า ในขั้นตอนนี้ควรระมัดระวัง โดยอ่านรายละเอียดบนแบบตัด การทำเครื่องหมายต่างๆ ที่เขียนไว้ และกดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้น เพื่อเป็นเครื่องหมายหรือเป็นเส้นแนวในการเย็บ

    6. ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของงาน ซึ่งในการตรวจสอบคุณภาพของงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาด ควรตรวจสอบทั้งขณะทำการเย็บ เช่น เนาลองตัว ตรวจสอบการประกอบการเย็บทุกขั้นตอน ตรวจสอบความเรียบร้อยของตะเข็บ เป็นต้น

    7. ขั้นตอนการแก้ไขจุดบกพร่อง ในการตัดเย็บผ้าทุกชนิด เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  • ความพยายาม ความใส่ใจ ความละเอียดอ่อน และความรอบคอบ

  • -
  • เป็นวิทยากรพัฒนาฝีมือและแรงงาน เป็นวิทยากรสอนในชุมชน

  • -