กลับไปหน้าค้นหา

นายอุดร แสงศิลป์

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 17 หมู 6 ตำบล : สะพลี อำเภอ : ปะทิว จังหวัด: ชุมพร
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

เป็นผู้สอนการทำน้ำหมักชีวาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ เน่ื่องจากทำอาชีพทางการเกษตรและต้องการลดปัญหาการใช้สารเคมี เนื่องจากปุ๋ยมีราคาแพง จึงสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่อยมาจนเกิดความชำนาญ


ความสำเร็จ :

ชนิดของปุ๋ยหมัก

ปุ๋ยหมักแบ่งตามส่วนผสมเป็น 2 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักทั่วไป และปุ๋ยหมักชีวภาพ

1. ปุ๋ยหมักแบบทั่วไป และวิธีทำ

ปุ๋ยหมักแบบทั่วไป เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆมาหมักตามกระบวนการทางธรรมชาติ โดยไม่มีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเร่งการหมัก ซึ่งการหมักจะเกิดการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุจากจุลินทรีย์ ทำให้มีการปลดปล่อย ธาตุอาหารออกมาได้รวดเร็วขึ้น



วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วไป

– เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์

– ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย และเป็นอันตรายออก แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร

– รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ

– โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1

– ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้

– ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่

– สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน



2. ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีการทำ

ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM เพื่อเร่งกระบวนการหมัก ทำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุที่มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่



1. ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก

วัสดุ และส่วนผสม

– ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป

– แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน

– รำละเอียด 1 ส่วน

– เชื้อ EM 20 ซีซี

– กากน้ำตาล 100 ซีซี

– น้ำ 10 ลิตร



วิธีทำ

– ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน

– นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ

– หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก


ความชำนาญ : การทำปุ๋ยชีวภาพ


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เป็นผู้สอนการทำน้ำหมักชีวาพ การทำปุ๋ยชีวภาพ เน่ื่องจากทำอาชีพทางการเกษตรและต้องการลดปัญหาการใช้สารเคมี เนื่องจากปุ๋ยมีราคาแพง จึงสนใจศึกษาค้นคว้าเรื่อยมาจนเกิดความชำนาญ

  • ขั้นตอนการทำ




    1. หาสถานที่ โล่งโปร่งสามารถให้รถยนต์เข้าถึงได้

    2. หามูลสัตว์ ทลายปาล์ม กากมะพร้าว ปุ๋ยสูตร 21-060  กากน้ำตาล ผ้าพลาสติก  1  ผืน



     



    วิธีทำ 



              นำขุยมะพร้าว กองให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนาประมาณ 1 ศอก แล้วเอามูลสัตว์กองทับหนาประมาณ  1  ศอก แล้วนำทลายปาล์มกองทับหนาประมาณ ๑ ศอก เอาปุ๋ยสูต 21-060 ซัดทับ เอากากน้ำตาลราดทับไปบนกองปุ๋ย ที่กองไว้แล้วเอาผ้ายางปิด กองปุ๋ยให้สนิท ปล่อยไว้ประมาณ 3 เดือน ก็นำมากลับกองปุ๋ยเพื่อให้ส่วนผสมได้เข้ากันดี ถ้าเราสามารถกลับได้บ่อยๆ ก็จะเป็นผลดีมาก ไว้ประมาณ 6 เดือนก็สามารถใช้ได้แล้ว



     



    หมายเหตุ หมั่นเอาน้ำรดกองปุ๋ยสม่ำเสมอ



     



     



    ขั้นตอนการทำ




    1. หาสถานที่ โล่งโปร่งสามารถให้รถยนต์เข้าถึงได้

    2. หามูลสัตว์ ทลายปาล์ม กากมะพร้าว ปุ๋ยสูตร 21-060  กากน้ำตาล ผ้าพลาสติก  1  ผืน



     



    วิธีทำ 



              นำขุยมะพร้าว กองให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หนาประมาณ 1 ศอก แล้วเอามูลสัตว์กองทับหนาประมาณ  1  ศอก แล้วนำทลายปาล์มกองทับหนาประมาณ ๑ ศอก เอาปุ๋ยสูต 21-060 ซัดทับ เอากากน้ำตาลราดทับไปบนกองปุ๋ย ที่กองไว้แล้วเอาผ้ายางปิด กองปุ๋ยให้สนิท ปล่อยไว้ประมาณ 3 เดือน ก็นำมากลับกองปุ๋ยเพื่อให้ส่วนผสมได้เข้ากันดี ถ้าเราสามารถกลับได้บ่อยๆ ก็จะเป็นผลดีมาก ไว้ประมาณ 6 เดือนก็สามารถใช้ได้แล้ว



     



    หมายเหตุ หมั่นเอาน้ำรดกองปุ๋ยสม่ำเสมอ



    ประโยชน์ปุ๋ยหมัก

    1. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งปริมาณอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

    2. ช่วยในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ในดิน ทำให้ธาตุอาหารถูกพืชนำไปใช้ได้รวดเร็วขึ้น

    3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน

    4. ช่วยต้านการแพร่ของจุลินทรีย์ก่อโรคพืชชนิดต่างๆในดิน

    5. ทำให้ดินมีความร่วนซุย จากองค์ประกอบของดินที่มีดิน อินทรีย์วัตถุ น้ำ และอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสม

    6. ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน ให้เหมาะสมกับการปลูกพืช

    7. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงแร่ธาตุของพืชจากปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอื่นที่เกษตรกรใส่

    8. ช่วยดูดซับความชื้นไว้ในดินให้นานขึ้น ทำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา



     



     

  • ชนิดของปุ๋ยหมัก

    ปุ๋ยหมักแบ่งตามส่วนผสมเป็น 2 ชนิด คือ ปุ๋ยหมักทั่วไป และปุ๋ยหมักชีวภาพ

    1. ปุ๋ยหมักแบบทั่วไป และวิธีทำ

    ปุ๋ยหมักแบบทั่วไป เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆมาหมักตามกระบวนการทางธรรมชาติ โดยไม่มีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อเร่งการหมัก ซึ่งการหมักจะเกิดการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุจากจุลินทรีย์ ทำให้มีการปลดปล่อย ธาตุอาหารออกมาได้รวดเร็วขึ้น



    วิธีการทำปุ๋ยหมักแบบทั่วไป

    – เริ่มด้วยการนำเอาเศษพืช และมูลสัตว์ผสมกันในอัตราส่วน 100 : 10 กองเป็นชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่รดน้ำให้ชุ่มจนอิ่มน้ำ และโรยทับด้วยมูลสัตว์

    – ขั้นตอนการกองปุ๋ยหมัก แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลาย และเป็นอันตรายออก แล้วนำวัสดุหรือเศษพืชที่เก็บรวบรวมได้มากองบนดินในคอก หรือในหลุมโดยกองเป็นชั้นสลับกันไปโดย เริ่มจากชั้นล่างสุดกองเศษพืชหรือวัสดุลงไปตามขนาดกว้างยาวของกองที่กำหนดไว้สูงประมาณ 25 เซนติเมตร

    – รดน้ำให้ชุ่ม แล้วอัดให้แน่น ให้น้ำซึมเข้าไปในเศษพืชหรือวัสดุ

    – โรยทับด้วยสารเร่ง เช่น ปุ๋ย มูลสัตว์ หรือดินในอัตราส่วนโดยน้ำหนักเศษพืชต่อมูลสัตว์ เท่ากับ 5 : 1

    – ในกรณีที่ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพื่อลดอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือต้องการลดระยะเวลาการผลิตต้องใช้เศษพืช : ปุ๋ยคอก :ปุ๋ยเคมี ในอัตราส่วน 100 : 20 : 1 ตามลำดับ โดยจะผสมหรือโรยทับบนชั้นกองปุ๋ยหมักก็ได้

    – ทำการเรียงสลับจนได้กองสูงประมาณ 1 เมตร แล้วโรยด้วยดินหนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ชั้นบนสุด เพื่อป้องกันนกมาคุ้ยเขี่ย ช่วยป้องกันความร้อน และรักษาความชื้นของกองปุ๋ยให้คงที่

    – สำหรับการหมักแบบไม่ใช้ปุ๋ยเคมี อายุการหมักจะหมักนาน 5-7 เดือน แต่หากใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วยจะหมักนาน 3-5 เดือน



    2. ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีการทำ

    ปุ๋ยหมักชีวภาพ เป็นวิธีการทำปุ๋ยหมักที่มีการพัฒนาขึ้น เพื่อให้การย่อยสลายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ หรือ EM เพื่อเร่งกระบวนการหมัก ทำให้เกิดปุ๋ยจากอินทรีย์วัตถุที่มีการปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้เร็วขึ้น แบ่งเป็นชนิดต่างๆ ได้แก่



    1. ปุ๋ยหมักจากปุ๋ยคอก

    วัสดุ และส่วนผสม

    – ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ประมาณ 10 ปี๊ป

    – แกลบเผา/แกลบดำ 1 ส่วน

    – รำละเอียด 1 ส่วน

    – เชื้อ EM 20 ซีซี

    – กากน้ำตาล 100 ซีซี

    – น้ำ 10 ลิตร



    วิธีทำ

    – ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน

    – นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ

    – หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่ต้นไม้หรือแปลงผัก

  • -
  • -
  • มีประสบการณ์ในการทำปุ๋ยหมักมา 10 ปี

ไฟล์แนบอื่นๆ