กลับไปหน้าค้นหา

นายกัลยา พลเยี่ยม

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 229 หมู 3 ตำบล : พุเตย อำเภอ : วิเชียรบุรี จังหวัด: เพชรบูรณ์
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

อาชีพหลักคือทำไร่อ้อย ทำนาปลูกข้าวไว้กินเอง ส่วนอาชีพรองคือการทำสวนมะขามเทศ 


ความสำเร็จ :

ต้องขยันหมั่นเพียรตรวจแปลงไม้ผลเป็นประจำ 


ความชำนาญ : ทำนา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • อาชีพหลักคือทำไร่อ้อย ทำนาปลูกข้าวไว้กินเอง ส่วนอาชีพรองคือการทำสวนมะขามเทศ 

  • มะขามเทศ 

    เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเกือบทุกสภาพพื้นที่ ทนสภาพแล้ง และทนดินเค็ม แต่ถ้าจะปลูกแบบเป็นการค้า ต้องคำนึงถึงแหล่งนํ้า และตลาดเป็นสำคัญ เพราะฝักที่มีคุณภาพดี ต้องมีการดูแลเรื่องการให้นํ้าอย่างพอเพียง นอกจากนี้แล้วการขนส่งผลผลิตจากแหล่งปลูกไปยังตลาด ต้องทำได้สะดวก เพราะฝักมะขามเทศที่เก็บมาแล้วจะเก็บได้ไม่นาน จะเน่าเสียต้องรีบขายทันที



    การขยายพันธุ์มะขามเทศ 

    สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเปลี่ยนยอด การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง แต่ที่นิยมได้แก่การตอนกิ่ง แต่ต้นที่ได้จากการปลูกวิธีเพาะเมล็ดจะทนแล้งได้ดีมาก



    เทคนิคการตอนกิ่งมะขามเทศ

    ต้องควั่นกิ่งที่บริเวณใต้ตาประมาณ 1 นิ้ว ใช้มีดคมควั่นเปลือกนอกแล้วลอกออกให้รอยควั่นกว้างประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้ขุยมะพร้าวแช่นํ้าหมาด ๆ พอกรอยแผลโดยใช้ถุงพลาสติกหุ้ม ใช้เชือกผูกหัวและท้ายมัดให้แน่น ทิ้งไว้อย่างนั้นโดยไม่ต้องรดนํ้าประมาณ 20-25 วัน โดยใช้หลักพิจารณาว่าเป็นกิ่งเล็กหรือกิ่งใหญ่ ถ้ากิ่งเล็กก็ประมาณ 20 วัน ถ้ากิ่งใหญ่ก็เลื่อนเป็น 24-25 วัน จึงตัดไปปักชำ เมื่อตัดกิ่งตอนจากต้นลงถุงเพาะชำ จะต้องทิ้งไว้อีกประมาณ 2 อาทิตย์ จึงนำ ไปปลูกได้ การตอนกิ่งควรทำในช่วงฤดูฝนจะได้ผลดี



    การปลูกและปฎิบัติดูแลรักษา

    การเตรียมดิน 

    ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดอย่างน้อย 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ตากดินไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือ

    ปุ๋ยคอกประมาณหลุมละ 2-3 ปุ๋ยกี๋



    การปลูก 

    มะขามเทศสามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องและเป็นพื้นที่ราบแบบยกร่องและเป็นพื้นที่ราบ แบบยกร่องจะใช้ระยะปลูกประมาณ 8-10

    x 8-10 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 16-25ต้น ส่วนในพื้นที่ราบจะใช้ระยะปลูกประมาณ 10-12 x 10-12 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 10-16 ต้น



    การปฏิบัติดูแลรักษา

    การให้นํ้า ควรมีการให้นํ้าอย่างสมํ่าเสมอทั้งในมะขามเทศต้นเล็กและต้นโต สำหรับมะขามเทศต้นโตควรงดให้นํ้าในช่วงก่อนออก ดอกเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่นๆ เพื่อให้มะขามเทศพักตัวสะสมอาหารเตรียมความพร้อมที่จะออกดอก และเมื่อมะขามเทศติดดอกออกฝักแล้ว จึงเริ่มให้นํ้าตามปกติ แต่ควรระวังในช่วงที่ฝักเริ่มแก่

    เพราะถ้าให้นํ้าในช่วงนี้มากเกินไปจะทำ ให้คุณภาพฝักไม่ดี ฝักแตกเร็วขึ้นเมื่อเนื้อไม่แน่นและรสชาติไม่ดี



    การใส่ปุ๋ย แบ่งออกเป็น 3 ช่วงที่สำคัญคือ

    1. หลังจากเก็บผลผลิตและตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี

    สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16



    2. ก่อนออกดอก ใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนตํ่า ๆ เช่น 8-24-24 9- 24- 24



    3. ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในช่วงฝักเริ่ม

    แก่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพเนื้อให้มีรสชาติดีขึ้น

  • ต้องขยันหมั่นเพียรตรวจแปลงไม้ผลเป็นประจำ 

  • ช่วงออกดอกต้องระวังแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยปากดูด เพลี้ยแป้ง เพลี้ยน้ำตาล

  • -
  • -