กลับไปหน้าค้นหา

นายบุญเสริม บุญสุข

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 179 หมู 9 ตำบล : พุเตย อำเภอ : วิเชียรบุรี จังหวัด: เพชรบูรณ์
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : มัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติ :

เมื่อก่อนทำไร่ตามฤดูกาลหลายอย่าง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ฝ้าย ปัจจุบันหันกลับมาอยู่บ้านทำไร่อ้อย และปลูกข้าวไว้กิน


ความสำเร็จ :

มีความตั้งใจในการทำงาน หมั่นศึกษาหาความรู้


ความชำนาญ : ทำไร่อ้อย


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • เมื่อก่อนทำไร่ตามฤดูกาลหลายอย่าง เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว ฝ้าย ปัจจุบันหันกลับมาอยู่บ้านทำไร่อ้อย และปลูกข้าวไว้กิน

  • การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน จะช่วยให้ลดต้นทุนการใส่ปุ๋ยเคมีลงไปได้มาก

    องค์ประกอบของดินที่สมบูรณ์มี  อินทรีย์วัตถุ5%  แร่ธาตุ45%  น้ำ25%  อากาศ25%  ถ้าอินทรีย์วัตถุมีน้อยจะทำให้โครงสร้างของดินที่มีอินทรีย์ต่ำจะต้องมีการ เพิ่มให้กับดินโดยการใส่ปุ๋ยคอก,ปุ๋ยพืชสด,ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆเพื่อให้ดิน สามารถอุ้มน้ำและดูดซับอาหารไว้ได้มากและนาน

    การสร้างรากอ้อยให้หยั่งลึก



    การใส่ปุ๋ยรองพื้นอย่างถูกวิธี ถ้าใส่ปุ๋ยรองพื้นที่มี NและKมากจะทำลายปุ่มรากและรากอ่อนจำให้อ้อยไม่งอกหรืองอกแล้วตายเนื่องจาก ความเค็มของปุ๋ย  ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยครั้งแรกควรมี NและKน้อยหรือไม่มีเลยแต่ควรมีPสูงๆเพื่อเร่งรากให้แข็งแรงและควรฝังใต้ท่อน พันธุ์เพื่อให้รากหยั่งลึกลงในดินอ้อยจะทนแล้งมากขึ้นสูตรปุ๋ยที่ใช้ เช่น  16-16-8หรือ 28-10-10และให้ใช้ร่วมกับน้ำหมัก เอ็นไซม์ และ ขี่ไก่อัดเม็ด ขี้หมูอัดเม็ด แกลบดิบเครื่องมือที่มีหัวริบเปอร์สามารถฝังปุ๋ยใต้ท่อนพันธุ์ยกร่องลึก ประมาณ 25 ซม.การใส่ปุ๋ยแต่งหน้าควรใช้เครื่องฝังปุ๋ยกลางร่องที่มีหัวริบเปอร์ 30ซม.เมื่ออ้อยอายิ10สัปดาห์  เพื่อไม่ให้รากอ้อยขาดการใส่ปุ๋ยแต่งหน้าควรมี NและKสูง เช่น 16-11-14หรือ 24-4-24  และให้ใช้ร่วมกับน้ำหมัก เอ็นไซม์ และ ขี่ไก่อัดเม็ด ขี้หมูอัดเม็ด แกลบดิบเป็นต้น                       



                   การปลูกอ้อยข้ามแล้งจะเริ่มตั้งแต่ตุลาคม-กุมภาพันธ์และการปลูกอ้อยต้นฝนจะ เริ่มมีนาคม-มิถุนายน  อ้อยจะได้รับน้ำฝนตั้งแต่ต้นปีจนกระทั้งหมดฤดูฝน ถ้ามีฝนตกปริมาณ 1,000มม.ผลผลิตอ้อยจะได้ไม่ต่ำกว่า 12ตัน/ไร่  หรือฝน 1,200  มม.ผลผลิตจะได้ไม่ต่ำกว่า 15  ตัน/ไร่  อ้อยที่ปลูกต้นฝนเดือนมิถุนายน จะได้รับปริมาณฝนน้อยลงเพียง 3-4  เดือนผลผลิตอ้อยจะต่ำมาก  ดังนั้นจะต้องปลูกอ้อยข้ามแล้งช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์จะได้ผลผลิตสูง   หรือใช้ระบบน้ำหยดซึ่งได้ผลตอบแทนที่สูงและคุ้มค่ากับการลงทุนและไม่จำเป็น ต้องเสี่ยงรอน้ำฝน แต่ก็จะเพิ่มต้นทุนขึ้นมาเช่นเดียวกัน ดังนั้นอยากให้ศึกษาให้ดีเสียก่อนสำหรับตัวผม ผมว่าคุ้มในการทำน้ำหยด

                    หลังจากตัดอ้อยสดควรปล่อยให้ใบอ้อยแห้ง แล้วจึงทำการพรวนใบอ้อยด้วยพรวน 7 จานเครื่องสับตออ้อยพร้อมถังใส่ปุ๋ย  (อุปกรณ์ 3อย่างในชุดเครื่องมือเดียว) เพื่อสับใบอ้อยให้คลุกลงไปในดินเพิ่มอินทรีย์ให้กับดิน  บำรุงอ้อยและดิน ดินสามารถรักษาความชื้นได้นานและย่อยสลายธาตุอาหารให้แก่อ้อยรากอ้ออยก็จะ ยั่งรากลงลึกในการหาอาหารและสามารถไว้ตอได้มากกว่า 3ตอ   เมื่อพรวนแล้วใส่ปุ๋ยแล้ว  หน่ออ้อยที่เกิดจากตาใต้ดินจะมีขนาดใหญ่สมบูรณ์แข็งแรงถึงแม้ฝนทิ้งช่วงก็ ไม่กระทบผลผลิตอ้อยมากนัก

                    เกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่เคยปลูกมานานหลายปี หรืออาจจะปลุกกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว อาจจะไม่ยอมรับในการเปลี่ยนแปลง  แต่ผมอยากให้ลองคิดง่ายๆว่า ถ้าท่านทำแบบเดิม ท่านก็จะได้เท่าเดิม ไม่มีทางที่จะได้ดีกว่าเดิม หัวใจสำคัญอยู่ที่ดิน  ควรปลูกดินก่อนปลูกพืช ครับและต้องมีน้ำด้วยนะครับ 

                     นอกจากการคำนึงถึงผลิตต่อไร่แล้ว ต้องคำนึงถึง ต้นทุน การปลูกอ้อย ต่อไร่ ด้วยนะครับ

    สอบถาม แลกเปลี่ยนความรู้กันได้นะครับ

  • มีความตั้งใจในการทำงาน หมั่นศึกษาหาความรู้

  • -
  • -
  • -